AREA แถลงฉบับนี้ ได้นำเสนอความเห็นส่วนตัวของ ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธาน ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส ดังรายละเอียดต่อไปนี้:
ต้องสร้างโรงไฟฟ้ากระบี่เพื่อคนกระบี่
สร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินที่กระบี่ชอบแล้ว มาเลเซีย สิงคโปร์ กัมพูชาพิสูจน์มาแล้วว่าไม่เป็นพิษภัย อย่าหลงชื่อคำลวงของ NGOs หลังโรงไฟฟ้าสร้างเสร็จ ปรากฏว่า ชุมชม โรงแรม รีสอร์ตต่าง ๆ ก็ยังตั้งอยู่ใกล้ๆ ได้ อยู่ร่วมกันอย่างเป็นมิตรและไม่ทำลายกันและกัน อย่าหลงเชื่อ NGOs
ในช่วงเช้าวันพุธที่ 29 กรกฎาคม 2558 ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธาน ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส ( www.area.co.th ) ได้ไปถกกับคุณธารา บัวคำศรี ผู้อำนวยการกรีนพีซประเทศไทย เรื่องโรงไฟฟ้ากระบี่ และจะออกอากาศในวันเสาร์ที่ 1 สิงหาคม 2558 เวลา 06:00 น. ช่อง Mono29
ข้อถกเถียง
ข้อถกเถียงที่ต่างกันอย่างมากก็คือ
1. ท่านผู้อำนวยการบอกว่าไฟฟ้าสำรองของไทยมีเกิน 40% ในขณะที่ข้อมูลของทางราชการต่างเห็นว่าในอนาคตมีโอกาสที่ไฟฟ้าจะขาดแคลน
2. ท่านผู้อำนวยการบอกว่าเราสามารถใช้ไฟจากมาเลเซีย แต่นี่แสดงให้เห็นชัดว่าไทยขาดความมั่นคงทางพลังงาน
3. ไฟฟ้าจากทางอื่นเช่นพลังแสงแดดและพลังลม ถ้าสามารถใช้ได้พอเพียง ทั่วโลกก็คงไม่ต้องมีวิธีอื่นแล้ว ไฟฟ้าจากพลังแสงแดดและพลังลม เป็นเพียงส่วนเสริมเท่านั้น จะถือเป็นสรณะไม่ได้
4. โรงไฟฟ้านี้แต่เดิมเป็นโรงไฟฟ้าถ่านหินลิกไนต์ ซึ่งสกปรกกว่า แต่ก็ยังสามารถดำเนินการมาได้โดยไม่มีเรื่องเสียหายร้ายแรง แต่โรงไฟฟ้าใหม่ที่จะสร้างใช้ถ่านหินบิทูมิรัส มีปริมาณซัลเฟอร์ต่ำกว่ามาก
5. ท่านอ้างพื้นที่ชุ่มน้ำแถวกระบี่ ซึ่งเป็นข้ออ้างที่มักใช้กันทั่วไป ในมาเลเซียก็เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำเช่นกัน ยิ่งกว่านั้นโรงไฟฟ้าที่มาเลเซียยังตั้งอยู่ติดทะเล อยู่ปากแม่น้ำ ก็ยังไม่มีปัญหาใด ๆ
6. ในด้านคนในพื้นที่ เชื่อว่าคนส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการมีโรงไฟฟ้า ชาวบ้านยังได้ประโยชน์จากการตัดถนนเข้าไปในพื้นที่ 2 ฝั่งตามแนวส่งถ่านหิน NGOs น่าจะเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนแสดงความเห็นอย่างเสรี ในขณะที่พวกต่อต้านมักเป็นคนนอก โดยเฉพาะผู้นำกลุ่มอันดามัน กลับมีบ้านอยู่พัทลุงฝั่งอ่าวไทย ห่างจากพื้นที่กระบี่ถึง 200 กิโลเมตร
ในประเทศไทย มีอยู่ที่ลำปาง 1 แห่ง และระยองอีก 4 แห่ง จากการสำรวจของ ดร.โสภณ เมื่อเดือนเมษายน 2555 พบว่าค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก (Particulate Matter หรือ PM10) ไม่สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานแต่อย่างใด ทั้งนี้เป็นทั้งในเขตเมืองลำปางและบริเวณรอบ ๆ เหมืองแม่เมาะ อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ยิ่งกว่านั้นมลพิษหลักในเขตภาคเหนือเกิดจากการเผาป่ามากกว่าอย่างอื่น กรณีนี้ก็ควรนำเสนอเพื่อให้สังคมโดยรวมเข้าใจว่า กิจการไฟฟ้านี้มีคุณต่อประเทศชาติและไม่ได้เป็นตัวการหลักในการสร้างปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมในวงกว้าง นอกจากนี้ในพื้นที่ใกล้เคียงเหมือง ยังมีเขตที่อยู่อาศัยถาวรของเจ้าหน้าที่ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ใช้อยู่อาศัยอีกด้วย ( http://goo.gl/6H4TXf )
มีข้อน่าสังเกตว่า ในกรณีประเทศมาเลเซีย ยังมีโรงไฟฟ้าถ่านหินถึง 7 แห่ง โรงขนาดใหญ่ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ที่แหลมมาลายู ทางตอนใต้ของไทย ดังนี้:
ความจริงที่ปฏิเสธไม่ได้
ในเรื่องความปลอดภัย ในมาเลเซียมีโรงไฟฟ้าถ่านหินถึง 7 โรง บริเวณที่อยู่ริมทะเลฝั่งเดียวกับกระบี่มี 4 โรงได้แก่
1. Jimah Power Station โรงงานนี้สร้างอยู่ริมทะเล ไม่ได้สร้างอยู่บนฝั่งเช่นโรงไฟฟ้ากระบี่ ที่สำคัญอยู่ใกล้แหล่งรีสอร์ตขนาดใหญ่และสวยงาม และชุมชน เคยมีผู้ร้องว่าจะไม่ปลอดภัยต่อชุมชนเมื่อปี 2552 แต่จนบัดนี้ก็ไม่เคยมีข่าวใหญ่เกี่ยวกับเรื่องนี้เลย เมื่อตรวจสอบจากความเห็นทั้งทางบวกและลบต่อรีสอร์ตใกล้โรงไฟฟ้า ก็ไม่มีใครบ่นเรื่องนี้แต่อย่างใด
2. โรงไฟฟ้า Manjung ก็สร้างออกมานอกฝั่งเล็กน้อย อยู่ใกล้รีสอร์ตและชุมชน แต่ก็ไม่มีเสียงบ่นเกี่ยวกับเรื่องนี้ นี่แสดงให้เห็นชัดว่า โรงไฟฟ้าถ่านหินไม่ได้มีผลเสียอย่างเด่นชัดต่อชุมชนดังที่พวก NGOs พยายามสร้างภาพให้กลัว
3. โรงไฟฟ้า KPAR ตั้งอยู่ห่างจากกรุงกัวลาลัมเปอร์เพียง 56 กิโลเมตรเท่านั้น ถือว่าใกล้มาก เช่นระยะทางจากอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย (กม.0) ไปถึงมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์รังสิต (กม.42 จากดินแดง) ขนาดชาวกรุงกัวลาลัมเปอร์ยังไม่กลัว โรงงานก็สร้างก่อนไทยที่จะมีเทคโยโลยีที่ใหม่กว่าเสียอีก
4. โรงไฟฟ้าถ่านหิน Tangjung Bin ของมาเลเซียนี้อยู่ติดชายแดนสิงคโปร์ ถ้ามีปัญหา สิงคโปร์ก็คงคงไม่ยอมเช่นกัน นี่ก็เป็นข้อพิสูจน์ถึงความปลอดภัยของโรงไฟฟ้าถ่านหิน ตีโต้ความเชื่อผิดๆ ของ NGOs
5. แม้แต่สิงคโปร์ก็เริ่มมีโรงไฟฟ้าถ่านหินแล้ว
6. ในนครสีหนุวิลล์ ซึ่งเป็นเมืองตากอากาศอันดับหนึ่งของกัมพูชา ก็มีโรงไฟฟ้าถ่านหินที่ลงทุนโดยนักลงทุนมาเลเซียโรงหนึ่ง และของจีนอีกด้วย
7. โรงไฟฟ้าถ่านหินลิกไนต์หงสาในเขตประเทศลาว ก็ทำสำเร็จแล้ว โดยได้โยกย้ายประชาชนถึงราว 200 คน ในครั้งนั้นมี NGOs ออกไปยุยงปลุกปั่นชาวบ้านเช่นกัน แต่ในลาว พวก NGOs คงไม่สามารถกระทำตามอำเภอใจได้
8. โรงไฟฟ้าถ่านหิน BLCPของไทยที่ระยอง ก็อยู่กลางทะเล นี่ถือเป็นบทพิสูจน์ความปลอดภัยว่าโรงไฟฟ้าถ่านหินสมัยใหม่มีความปลอดภัย
ผลการศึกษาบอกว่าไม่มีอันตราย
จะเห็นได้ว่า โรงไฟฟ้าถ่านหินไม่มีผลต่อสุขภาพของประชาชนตามที่พวกต่อต้านพยายามสร้างความหวาดกลัวเลย ทั้งนี้เป็นผลการศึกษาของอาจารย์จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมาเลเซีย มหาวิทยาลัยเคบังซาน ร่วมกับนักวิจัยอิสระซึ่งผลการศึกษานี้ได้นำเสนอในที่ประชุมวิชาการนานาชาติเมื่อเดือนมิถุนายน 2556 ที่ผ่านมา ( http://goo.gl/BHb6yb ) ดังนั้นรัฐบาลจึงไม่ควรเชื่อคำพูดข่มขู่ให้ประชาชนหวาดกลัวแต่อย่างใด
อาจมีคนทำวิจัยออกมาว่ามีผลเสียต่อสุขภาพบ้าง แต่สิ่งที่พิสูจน์ได้มากกว่าผลวิจัยก็คือ หลังจากโรงไฟฟ้าอยู่ในพื้นที่มาหลายปี ก็ไม่มีเสียงบ่นดังๆ จากประชาชน หรือนักท่องเที่ยวที่ไปใช้บริการรีสอร์ต โรงแรมต่าง ๆ แต่อย่างใด การลวงคนด้วยการขายความกลัวนั้น ประชาชนอย่าได้หลงเชื่อ พวก NGOs คงไม่มาร่วมรับผิดชอบหากขาดแคลนพลังงานแต่อย่างใด
สร้างโรงไฟฟ้ากระบี่ดีกว่าครับ อย่าให้กฎหมู่อยู่เหนือกฎหมาย พวก NGOs กลัวชาวบ้านรู้ความจริง จึงอาศัยความกลัว ความมืดในการลวงผู้คน อย่าได้หลงเชื่อ
ข้อมูลเพิ่มเติม