ความเปราะบางของตลาดที่อยู่อาศัยไทย
  AREA แถลง ฉบับที่ 306/2558: วันศุกร์ที่ 09 ตุลาคม 2558

ผู้แถลง: ดร.โสภณ พรโชคชัย
ประธาน ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย
บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส sopon@area.co.th https://www.facebook.com/dr.sopon4

            ในจำนวนที่อยู่อาศัยที่มีอยู่ในโครงการ 1,634 แห่ง รวม 488,026 หน่วย มีถึง 56% ที่ยังไม่ได้สร้างเสร็จ ณ สิ้นปี 2558 เกิดวิกฤติขึ้นมา จะลำบากกันได้

            ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธาน ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส (http://www.area.co.th) ได้ประมวลข้อมูลโครงการที่ขายอยู่ในท้องตลาดทั้งหมดในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 1,634 แห่ง ปรากฏว่ามีหน่วยขายอยู่ 488,026 หน่วย ปรากฏว่าขายไปได้ 309,385 หน่วย หรือ 63% ของหน่วยขชายทั้งหมดซึ่งถือเป็นเรื่องน่ายินดี แสดงว่าตลาดไม่ได้ตกต่ำจนเกินไป ยังมีการขายได้อยู่

            อย่างไรก็ตามหากพิจารณาถึงระยะเวลาที่จะก่อสร้างแล้วเสร็จ จะพบว่า ที่จะสร้างเสร็จภายในปี 2559 มี 139,359 หน่วย (29%) ที่จะสร้างเสร็จในปี 2560 มี 83,256 หน่วย (17%) และที่จะสร้างเสร็จในปี 2561 มี 50,047 หน่วย หรือ 10% ดังนั้นรวมแล้วที่จะสร้างเสร็จหลังปี 2558 มีถึง 272,663 หน่วย หรือ 56% หรือมากกว่าครึ่งหนึ่งชองอุปทานทั้งหมดเลยทีเดียว

            หากแยกตามประเภทต่าง ๆ จะได้ดังนี้:

            ที่อยู่อาศัยที่เปราะบางที่สุดก็คือห้องชุด เพราะมีสัดส่วนที่ยังสร้างไม่เสร็จในปี 2558 และจะทะยอยสร้างเสร็จในปี 2559, 2560 และ 2561 ถึง 70% ของหน่วยขายรวมทั้งหมด รองลงมาคือทาวน์เฮาส์ 61% หรือ 69,443 หน่วย ส่วนบ้านเดี่ยวอาจมีน้อยกว่าครึ่งหนึ่ง เพราะมีเป็นจำนวนมากที่สร้างไปขายไป ไม่ได้รอการสั่งสร้างเสียทีเดียว  ทั้งนี้ยกเว้นตึกแถว และที่ดินจัดสรรซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยส่วนน้อยมาก

            หากประเทศชาติเกิดวิกฤติเศรษฐกิจขึ้นมา เพราะอัตราการเติบเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยต่ำกว่าประเทศอื่นในอาเซียนทั้งในปีนี้และปีหน้า และหากเกิดวิกฤติทางการเมือง เช่น การประท้วงของกลุ่มต่าง ๆ เช่น กลุ่มชาวสวนยาง กลุ่มการเมือง หรือหากเกิดกรณีการก่อการร้ายเพิ่มเติม ก็จะทำให้เกิดปัญหากับวงการก่อสร้างที่อยู่อาศัยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลได้โดยตรง เพราะส่วนมากของอุปทานยังก่อสร้างไม่แล้วเสร็จ

            สิ่งที่ทางราชการโดยเฉพาะธนาคารแห่งประเทศไทย ควรดำเนินการก็คือการตรวจสุขภาพของโครงการต่าง ๆ ที่ได้รับการอำนวยสินเชื่อไปแล้วว่าจะสามารถก่อสร้างได้แล้วเสร็จหรือไม่ และควรมีมาตรการในการสนับสนุนหากเกิดการสะดุดขึ้นมา โดยเฉพาะปัญหาเงินดาวน์ของผู้จองซื้อที่อยู่อาศัย ซึ่งหากเกิดปัญหาขึ้นมา ก็อาจจะได้รับผลกระทบโดยตรง โดยอาจพิจารณาให้มีการคุ้มครองเงินดาวน์ โดยการประกันเงินดาวน์ของผู้ซื้อบ้าน เพื่อความอุ่นใจของผู้จ่ายเงินดาวน์ไปแล้ว

            การติดตามการก่อสร้างอย่างใกล้ชิด และติดตามราคาค่าก่อสร้างอย่างใกล้ชิด รวมทั้งการเบิกงวดเงินการก่อสร้างที่ตรงตามความเป็นจริงอย่างใกล้ชิด จะช่วยป้องปรามปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตได้เช่นกัน

อ่าน 2,467 คน
2024 Copyright © by area.co.th All Rights Reserved