แฟลตดินแดงหมดอายุขัยทางกายภาพไปแล้ว แต่ที่อยู่ได้ทุกวันนี้ ก็อาศัยส่วนเผื่อในการก่อสร้างเท่านั้น หากถล่มลงมาจะเป็นโศกนาฏกรรมและความเสียหายต่อชีวิตทรัพย์สินและเกียรติภูมิชาติ ลองดูอินเดียเป็นตัวอย่าง
ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธาน ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส (www.area.co.th) ได้รวบรวมปรากฏการณ์แฟลตถล่มในอินเดียมาให้ดูเป็นอุทาหรณ์ พร้อมแนะผู้อยู่อาศัยรีบย้ายออก อย่าได้ "เสียน้อย เสียยาก เสียมากเสียง่าย" และควรประกันชีวิตโดยด่วน
ล่าสุดเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2558 (http://bbc.in/1UXvyl9) แฟลตอายุ 50 ปีในนครมุมไบ เกิดถล่มลงมา มีผู้เสียชีวิตถึง 11 คน แฟลตนี้ได้รับการประกาศจากทาทงการล่วงหน้ามา 2 ปีแล้วว่ามีอันตรายในการอยู่อาศัย การถล่มของตึกดังกล่าวนี้ไม่ได้เกิดจากแผ่นดินไหว หรือพายุใด ๆ แต่เพราะหมดอายุขัยทางกายภาพและทางเศรษฐกิจมานานแล้ว
รูปที่ 1: การขนร่างผู้เสียชีวิตในแฟลตถล่มชานนครมุมไบเมื่อ 2 สิงหาคม 2558
ก่อนหน้านี้สัปดาห์เดียว เกิดเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2558 (http://bit.ly/1Qmr9nX) แฟลตเก่าสูงเพียง 3 ชั้นในเมืองทาคุลี (Thakurli) ชานนครมุมไบ ถล่มลงมาหลังจากมีพายุฝน ทำให้มีผู้เสียชีวิต 7 คน บาดเจ็บอีกจำนวนหนึ่ง อาคารนี้เป็นอาคารเก่าและแม้จะไม่สูงนัก ก็ยังถล่มลงมาได้
รูปที่ 2: การขนร่างผู้เสียชีวิตในแฟลต 3 ชั้นถล่มที่เมืองทาคุลีเมื่อ 30 กรกฎาคม 2558
28 มิถุนายน 2557 (http://bit.ly/20EpXaa) ในกรุงนิวเดลี มีแฟลตอายุ 40 ปี ถล่มลงมา มีผู้เสียชีวิต 10 คน โดยครึ่งหนึ่งเป็นเด็ก พบมีการต่อเติมชั้นบนของอาคารด้วย และก่อนหน้านี้ที่นครกัว ทางตะวันตกของอินเดีย ก็เกิดปรากฏการณ์ตึกถล่มลงมา มีผู้เสียชีวิตถึง 15 ศพเช่นกัน
รูปที่ 3: สภาพอเนจอนาถของผู้บาดเจ็บจากแฟลตเก่าถล่มในกรุงนิวเดลี
และเหตุการณ์ครั้งใหญ่สุดครั้งหนึ่งเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2556 (http://bbc.in/1Q4KZtz) เกิดเหตุแฟลตเก่าในนครมุมไบถล่ม ทำให้มีผู้เสียชีวิตนับร้อยคน บางครอบครัวเสียชีวิตยกครัวถึง 8 คน ทำให้เกิดการสูญเสียมหาศาล รวมทั้งต้องมีการักษาพยาบาลแก่ผู้บาดเจ็บนับร้อย ๆ ราย นครมุมไบมีแฟลตเก่าอยู่เป็นจำนวนมาก และไม่ปลอดภัยแล้ว แต่ประชาชนก็ยังไม่ยอมย้ายออก เพียงเพราะค่าเช่าถูกกว่าท้องตลาดทั่วไป
รูปที่ 4: แฟลตถล่มในมุมไบตายนับร้อย (เกิดขึ้นหลายครั้งในปี 2556)
ขอภาวนาอย่าให้เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นในประเทศไทย