ดร.โสภณ ตั้งคำถาม บีอาร์ทีขาดทุนคือการทุจริตเชิงนโยบายหรือไม่ ใครจะรับผิดชอบ!?!
ที่ผ่านมามีข่าวว่า "บีอาร์ที" 6 ปีขาดทุนยับพันล้าน" (http://bit.ly/1RXLWhL และ http://bit.ly/25Jn1Ip) โดยมีรายละเอียดว่า "โครงการรถโดยสารด่วนพิเศษ (BRT). . .จนถึงปัจจุบันรวมเวลาให้บริการประมาณ 6 ปี พบว่าขาดทุนรวมประมาณ 1,000 ล้านบาท เนื่องจาก กทม.ต้องใช้งบประมาณ ในการสนับสนุนปีละประมาณ 200 ล้านบาท ทุกปี. . .ส่วนจำนวนประชาชนที่ใช้บริการนั้น ตามเป้า ที่ตั้งไว้ คือ 30,000 คน แต่มีผู้ใช้บริการประมาณ 20,000 คนเท่านั้น และจำนวนที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปีก็น้อยมาก ไม่เป็นไปตามที่คาดไว้"
ในกรณีนี้ ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธาน ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย (www.area.co.th) ตั้งข้อสังเกตว่า
1. การลงทุนมากขนาด 2,009.7 ล้านบาท นี้และประสบการขาดทุน แสดงว่าไม่ได้ทำการศึกษามาให้ดีหรือไม่
2. การปล่อยให้มีการขาดทุนทุกปีๆ ละ 200 ล้านบาทจนบัดนี้ 6 ปีแต่ยังไม่ได้แก้ไข ถ้าเป็นภาคเอกชนก็คงปิดกิจการไปแต่แรกแล้ว การกระทำอย่างนี้แสดงถึงการขาดความรับผิดชอบเท่าที่ควรหรือไม่
3. การริเริ่มโครงการนี้ถือเป็นการหาเสียงทางการเมืองโดยใช้งบประมาณแผ่นดินในการดำเนินการหรือไม่ ถือเป็นการขาดจริยธรรมทางการเมืองหรือไม่
4. การที่ยังมีแนวคิดที่จะดำเนินโครงการทำนองนี้อีกในอนาคต ในพื้นที่อื่น ในจังหวัดอื่น ถือเป็นการโฆษณาชวนเชื่อที่ไม่เป็นจริงหรือไม่
ดร.โสภณ เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านอสังหาริมทรัพย์และได้ไปดูงานการทำรถโดยสารแบบ BRT ที่กรุงจาการ์ตาในระหว่างที่เป็นที่ปรึกษาในโครงการของกระทรวงการคลัง อินโดนีเซีย และพบว่าโครงการประเภทนี้ไม่อาจประสบความสำเร็จจริง แม้กรุงจาการ์ตาจะใช้บริการประเภทนี้มากที่สุดในโลก มากกว่าที่กรุงโบโกตาที่เป็นจุดเริ่มต้น แต่ก็ยังต้องหันมาสร้างรถไฟฟ้าแทน
โดยเฉพาะในพื้นที่ถนนพระรามที่ 3 และถนนนราธิวาสราชนครินทร์ มีคลองอยู่ตรงกลางสามารถสร้างรถไฟฟ้าแบบลอยฟ้า หรือขุดลงใต้ดินได้ โดยอาจร่วมกับภาคเอกชนดำเนินการได้ แต่ก็ไม่ได้รับการดำเนินการ ทำให้ประสบปัญหามากมาย แม้แต่ในปัจจุบัน ก็ยังไม่ได้กั้นช่องทางจราจรให้โดยเฉพาะ และแม้หากมีการกั้นช่องทางจราจร ก็กลับกลายเป็นการลดพื้นที่การจราจรของรถโดยสารอื่นอีกต่างหาก
ที่มา: http://www.posttoday.com/media/content/2016/06/06/F75CC9D4C0464E2AB532F90A34BEA53E.jpg