สะพานแยกรัชโยธินมีกำหนดจะรื้อเรียบร้อยแล้ว แต่ ดร.โสภณ ก็ยืนยันคัดค้านการรื้อ เพราะยังไงก็ไม่ใช่การแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืนแน่นอน
ที่มา: เดลินิวส์ 5 กรกฎาคม 2559 http://bit.ly/2gjzDmm
เหตุผลของการรื้อก็คือ "ในแนวถนนพหลโยธิน บริเวณสี่แยกรัชโยธิน มีการก่อสร้างรถไฟฟ้า. . .เพื่อเป็นการแก้ไขการจราจรแบบยั่งยืน โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว จึงมีการก่อสร้างสะพานรถยนต์ ข้ามแยกรัชโยธินในแนวถนนพหลโยธิน โดยสะพานข้ามแยกรัชโยธินในแนวถนนพหลโยธิน จะมีความสูงเท่ากับสะพานข้ามแยกรัชโยธินในปัจจุบันที่อยู่ตามแนวถนนรัชดาภิเษก ดังนั้นเพื่อเป็นการปรับปรุงแยกรัชโยธินให้มีประสิทธิภาพ จำเป็นที่ต้องรื้อสะพานข้ามแยกของเดิมออก และสร้างสะพานข้ามแยกรัชโยธินตามแนวถนนพหลโยธิน ซึ่งจะใช้โครงสร้างร่วมทางวิ่งรถไฟฟ้า" (http://bit.ly/2gfbj7Q)
อย่างไรก็ตามเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมานี้เอง 'รฟม.'ไม่ฝืนกระแส'ปชช.' เลิกรื้อสะพานข้ามรัชโยธิน โดยข่าวกล่าวว่า 'บอร์ดรฟม.' ไม่ฝืนกระแสทำประชาชนเดือดร้อน มีมติไม้รื้อสะพานข้ามแยกรัชโยธินแล้ว หวั่นทำรถติดกระทบชาวบ้าน แต่ปรับแบบทางรถไฟฟ้าให้สูงขึ้นอีก 2 เมตรแทน" โดย พล.อ.ยอดยุทธ บุญญาธิการ ประธานคณะกรรมการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ยังกล่าวว่า "เพราะเล็งเห็นว่าจะกระทบกับประชาชนมากที่สุด. . .ลดค่าใช้จ่ายการก่อสร้างทางลอดประมาณ 1,200 ล้านบาท ทั้งนี้แนวทางดังกล่าวจะมีการสร้างสะพานข้ามแยกพหลโยธินที่อยู่ใต้โครงสร้างรถไฟฟ้า โดยใช้ตอม่อเดียวกับรถไฟฟ้าและสะพานจะทำเป็นถนน 2 เลน ให้รถสามารถวิ่งสวนกัน โดยอนาคตอาจทำให้รถสามารถวิ่งเชื่อมต่อถึงแยกเกษตรเลยก็ได้" (http://bit.ly/2gjzDmm)
อย่างไรก็ตามสุดท้ายก็ยังมีการทุบสะพานรัชโยธิน ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธาน ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย (www.area.th) กล่าวว่า กรณีนี้ชี้ให้เห็นว่าการเปลี่ยนกลับไปมาของแนวทางการจัดการกับสถานแยกรัชโยธิน ไม่โปร่งใสหรือไม่ ไม่มีการฟังเสียงของประชาชนเท่าที่ควรหรือไม่ ให้โอกาสประชาชนในพื้นที่ได้มีโอกาสโต้แย้งและถกเถียงกันด้วยเหตุผลและข้อมูลที่เป็นจริงหรือไม่ ซึ่งเชื่อว่าคงไม่มี การสั่งการราชการจากบนลงล่างโดยขาดประชาธิปไตย จึงไม่อาจแก้ไขปัญหาที่ถูกต้องได้
สำหรับแนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืนก็คือ
1. การทำให้การเลี้ยวขวาจากทุกด้านของแยกต้องมีการสร้างสะพานลอยให้ข้ามได้โดยไม่ติดขัด
2. การพัฒนาระบบขนส่งมวลชนให้ทั่วถึงกว่านี้
3. การเวนคืนที่ดินที่จ่ายค่าทดแทนให้ตามราคาตลาดและบวกต้นทุน ค่าเสียหาย ค่าเสียโอกาส เป็นต้น
อย่างไรก็ตามการที่จะดำเนินการเช่นนี้กับแยกนี้ คงจะเป็นไปไม่ได้ ดังนั้นลำพังการสร้างอุโมงค์ถนนพหลโยธิน จึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืนจริง
นอกจากนั้นการสร้างรถไฟฟ้านั้น ก็ควรแจกแจงให้สังคมได้เห็นชัดเจนว่า สามารถคืนทุนได้จริง ไม่ใช่นำเงินของประชาชนทั่วประเทศมา "ประเคน" ให้คนกรุง หรือกลายเป็นแหล่งแสวงหาผลประโยชน์ของกลุ่มลงทุนรถไฟฟ้าไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด กระบวนการรับฟังความเห็นของประชาชนที่ไม่ใช่แบบ "ลูบหน้าปะจมูก" จึงเป็นสิ่งที่ควรดำเนินการ แต่อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา มักกระทำเพียงในรูปแบบ
ที่สำคัญการที่ไม่สร้างรถไฟฟ้าให้สูงขึ้นอีก 2 เมตร อาจทำให้ต้นทุนการก่อสร้างรถไฟฟ้าสูงขึ้น แต่ก็คุ้มค่าที่จะดำเนินการ ตามแยกต่าง ๆ ในใจกลางเมือง ระดับของรถไฟฟ้า ก็ไม่ได้สูงในแนวเดียวกันอยู่แล้ว บางช่วงก็จำเป็นต้องยกสูงขึ้น เพราะประหยัดต้นทุนในการทุบสะพาน ทั้งนี้รวมถึงสะพานแยกเกษตร การก่อสร้างรถไฟฟ้า ก็สามารถสร้างให้สูงขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงการก่อทุบสะพานลอยดังกล่าว