ถ้าเราจะขายบ้านหลังหนึ่ง เราก็ควรจะตบแต่งให้อยู่ในสภาพ "พร้อมใช้" เพื่อให้ได้มูลค่าตามสมควร แต่ถ้าขายตามสภาพ ก็อาจกลายเป็นปัญหา ทำให้ราคาที่ควรได้นั้นลดลงได้
http://news.sanook.com/2109950/
http://btsstation.com/wp-content/uploads/2016/11/15037130_1626970163995514_1539788947818052336_n.jpg
ตัวอย่างง่าย ๆ ก็อย่างเช่น ดารา มักจะต้องตบแต่งใบหน้าและรูปร่างให้ดูดีอยู่เสมอ หาไม่ก็จะทำให้ได้งานน้อย หรือสวยสู้คนอื่นไม่ได้นั่นเอง เราจำเป็นต้องดูแลตัวเองให้ดี ดังนั้นบางครั้งก็จะมีกรณีที่ดาราต้องไปเหลาหน้า เหลาคาง หรืออะไรต่อมิอะไร เพื่อให้ดูดีขึ้น สวยขึ้น บางคนเข้าวงการใหม่ ๆ อาจดูต่างจากตอนที่กำลังโด่งดัง เพราะสวยขึ้นนั่นเอง
กฎสำคัญอันหนึ่งที่ทำให้มีมูลค่าก็คือกฎแห่งการเกื้อหนุน (Contribution) องค์ประกอบหนึ่งของทรัพย์สินจะมีมูลค่าเท่าไร วัดได้จากความเกื้อหนุนที่ทำให้ทรัพย์สินนั้นโดยรวมมีค่าเพิ่มขึ้น เช่น การเอาอาคารสำนักงานเก่าแห่งหนึ่ง มา "ปรุงแต่ง" ใหม่ โดยลงทุนปรับปรุงระบบลิฟท์ ระบบปรับอากาศ ทำ "หน้ากาก" ใหม่ มักทำให้มูลค่าทรัพย์สินเพิ่มขึ้นสูงกว่าเงินลงทุนนั้น ดังนั้นเงินลงทุนนั้นจึงคุ้มค่า เป็นต้น
ในกรณีของคนก็เช่น ถ้าเราลงทุนทำดีกับใครแล้ว เชื่อว่า (แต่ไม่จำเป็นต้องหวัง) เขาจะตระหนักถึงคุณค่าของเรา ซึ่งเป็นการสร้างมิตรภาพที่ดีงามและเป็นประโยชน์แก่กันในวันหน้า และการ "ลงทุน" คบมิตรแต่แรกนี้ ก็ "คุ้ม" ที่จะทำดี (เสียแต่วันนี้) เสียบ้าง
ในทางตรงกันข้าม ก็มีกฎแห่งความพอดี (Diminishing Return) กล่าวคือ อะไรที่ขาดไป ก็ย่อมทำให้ไม่มีคุณค่าทัดเทียมกับสิ่งอื่น (ตามกฎข้อ 4) และอะไรที่เกินไปก็ไม่ได้มีผลต่อมูลค่าเช่นกัน เช่น ห้องชุดราคา 4 แสนบาท แต่ตบแต่งจน “เกินเหตุ” โดยใช้วัสดุเช่นเดียวกับบ้านราคาแพงมาก โดยตบแต่งไปถึง 3 แสนบาท ก็ใช่ว่าห้องชุดนั้นจะขายได้ 7 แสนบาท เพราะการตบแต่งที่เกินพอดีนั่นเอง
ที่มา: http://www.turfcall.co.uk/images/Balance%204.gif
เช่นเดียวกัน "ไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่ง" แต่ย่อมไม่ใช่แต่งจน "เกินงาม" หรือหากแต่ง "ปอน ๆ" เกินไปก็ไม่มีคุณค่าเท่าที่ควร ดุลยภาพจึงเป็นสิ่งที่ต้องยึดถืออยู่ตลอดเวลา เช่น ถ้าเราอยากจะสวย เราก็ต้องแต่งหน้า ทาปาก ยิ่งทาปากจัด ๆ โดยเฉพาะในยามค่ำ ก็จะยิ่งทำให้แลดูสวย แต่ก็คงเป็นไปไม่ได้ที่ใครจะทาปาก ทาลิปสติกให้มากถึงวันละแท่งเพื่อให้ตนเองดูสวยงามขึ้นนั่นเอง
ถ้าโครงสร้างไม่เสีย ทาสี-ซ่อมแซมซะหน่อยก็ใหม่
ที่มา: http://www.2how.com/gallery/data/media/15/sw5.jpg
ถ้าเราดูแลทรัพย์ของเราให้ดี ก็จะทำให้ทรัพย์ดูอ่อนเยาว์ลง เช่น อาคารที่มีอายุ 50 ปี แต่โครงสร้างยังแข็งแรง เมื่อได้รับการเปลี่ยนงานสถาปัตยกรรม งานระบบประกอบอาคาร ก็จะทำให้มีอายุเหลือราว 20 ปี เป็นต้น ในขณะเดียวกัน อาคารที่ไม่ได้รับการดูแล อายุ 20 ปี ระบบประกอบอาคาร และงานสถาปัตยกรรมต่าง ๆ ก็โดนปลวกกินไปหมดแล้ว ก็อาจแลดูมีอายุมากเป็นพิเศษ เป็นต้น อายุจริง เราเรียกว่า Actual Age ส่วนอายุตามสภาพ เรียกว่า Effective Age นั่นเอง
ดังนั้น ในการที่เราจะตีค่าหรือประเมินค่าทรัพย์สินใด เราจึงต้องพิจารณาให้ดีว่า ทรัพย์สินนั้นมีความสอดคล้องกับปัจจัยหรือ “กฎ” ข้างต้นอะไรบ้าง เพื่อให้มูลค่าที่ประเมินได้ ไม่เกิดความผิดพลาดสร้างความเสียหายแก่เราในฐานะนักลงทุน คนซื้อบ้าน ผู้ร่วมทุน หรือแม้กระทั่งผู้รับมรดก เป็นต้น