แนวคิดศูนย์ราชการเป็นไปเพื่อการกระจายความเจริญและเสริมสร้างประสิทธิภาพของระบบราชการ แต่การกลับกลายเป็นว่าทำให้เมืองขยายตัวออกไปอย่างไร้ทิศผิดทาง จนเมืองขาดประสิทธิภาพไปใหญ่ เรื่องนี้ต้องโทษนักผังเมือง
ถ้าเราไปเมืองนอกจะเห็นว่าส่วนราชการต่างๆ อยู่ในใจกลางเมืองเพื่อให้ผู้คนมาติดต่อราชการอย่างรวมศูนย์และมีประสิทธิภาพ เช่นที่กรุงลอนดอน กรุงปารีส และเมืองหลวงอื่นที่มีอายุตั้งแต่ 500 ถึง 2,000 ปี แต่ในกรณีประเทศไทย เราสร้างศูนย์ราชการออกไปนอกเมืองทำให้เมืองขยายตัวอย่างขาดการวางแผน อย่างนี้ไม่เป็นผลดีกับส่วนรวมแต่อย่างใด เราคงไปเอาแนวคิดการผังเมืองในสหรัฐอเมริกาซึ่งปัจจุบันเป็นแนวคิดที่เขาทิ้งหมดแล้ว เค้ากลับไปทำให้เมืองมีความหนาแน่นแต่ไม่แออัดเป็นมหานครประเภท Smart City เป็นต้น
ดูอย่างศูนย์ราชการที่แจ้งวัฒนะ ปรากฏว่า เป็นความผิดพลาดและล้มเหลวอย่างฉกรรจ์
1. พอสร้างเสร็จกลายเป็นที่ตั้งของส่วนราชการใหม่ๆ
2. สร้างยังใหญ่โตแต่เตี้ยๆ สิ้นเปลืองทรัพยากรที่ดินเป็นอย่างมาก ทั้งนี้เพราะผิดกฎระเบียบเรื่องการก่อสร้างใกล้เขตสนามบิน อย่างไรก็ตามสนามบินหลายแห่งทั่วประเทศตั้งอยู่ใกล้ภูเขาสูงใหญ่มากกว่าดอนเมืองเสียอีกก็ยังไม่เคยมีอุบัติเหตุ
3. ขาดระบบขนส่งมวลชนภายในโครงการ คงหาคนเดินจากถนนแจ้งวัฒนะเข้าไปในศูนย์ราชการไม่ได้ต้องใช้รถเป็นหลัก ทำให้ต้องจัดหาที่จอดรถมหาศาล แต่ก็ยังแทบไม่เพียงพอ
4. ขาดระบบขนส่งมวลชนและคมนาคมเชื่อมระหว่างเครือข่ายรถไฟฟ้าและทางด่วน
จะเห็นได้ว่าส่วนราชการขนาดใหญ่แบบนี้กันใหม่ของตัวเองแยกออกไป เช่น
1. กระทรวงพาณิชย์ก็สร้างสำนักงานใหม่ของกระทรวง อยู่ที่สนามบินน้ำ จังหวัดนนทบุรี
2. กระทรวงสาธารณสุขก็มีสำนักงานใหญ่ขนาดอยู่ที่ถนนติวานนท์
3. กระทรวงกลาโหม โดยสำนักงานปลัด กองบัญชาการทหารสูงสุดก็ต่างออกนอกเมืองไปอยู่คนละที่ เป็นต้น
ทั้งในประเทศที่มีเมืองหลวงเก่าแก่ ปรับสามารถคุมสวนราชการกระทรวงต่าง ๆ อยู่ในใจกลางเมือง แต่กรุงเทพมหานครกลับทำไม่ได้ เรื่องนี้ผังเมืองชั้นครูควรให้ความรู้กับผู้มีอำนาจให้เข้าใจความเป็นจริง กระแสย้ายศูนย์ราชการออกนอกเมืองเกิดขึ้นเพราะ
1. แนวคิดผิดๆ เรื่องการอนุรักษ์ใจกลางเมือง โดยห้ามการก่อสร้างตึกสูงในเขตใจกลางเมืองทำให้ส่วนราชการต่าง ๆ ต้องย้ายออกไป ในบางพื้นที่ เช่นรอบวังหลวงก็ควรอนุรักษ์แต่ไม่ใช่ทั้งเกาะรัตนโกสินทร์ ดูอย่างใจกลางกรุงลอนดอน กรุงโตเกียว ฯลฯ ก็ยังมีตึกสูงใหญ่มากมาย
2. การขาดระบบขนส่งมวลชนในย่านใจกลางเมือง ทำให้คนเดินทางเข้าเมืองยากลำบากจึงเกิดแนวคิดที่จะย้ายส่วนราชการออกนอกเมือง แต่โดยที่ต่างคนต่างไปก็เลยกลายเป็นการเติบโตแบบไร้ทิศทางในที่สุด แต่เดิมเรามีโครงการรถไฟฟ้าลาวาลินผ่านใจกลางเมืองออกสู่นอกเมืองอย่างเป็นระบบ แต่กลับถูกยกเลิกไปสร้างเป็นรถไฟฟ้าบีทีเอสทำให้พื้นที่เปลี่ยนแปลงไป
3. ความต้องการความอลังการของการออกแบบศูนย์ราชการ โดยการใช้สอยที่ดินและการใช้สอยพื้นที่อาคารค่อนข้างหลวมๆ ถือเป็นความสิ้นเปลืองเป็นอย่างยิ่ง แม้แต่ธนาคารอันดับต้นต้นของประเทศยังก่อสร้างอาคารที่ใช้พื้นที่อย่างประหยัดและมีประโยชน์สูงสุด อันที่จริงแม้แต่ธนาคารที่สร้างสำนักงานขนาดใหญ่ ยังควรได้รับการวิพากย์เพราะเอาเงินของผู้ถือหุ้นมาใช้เกินความจำเป็นแตกต่างจากธนาคารใหญ่ๆ ในต่างประเทศ แต่ส่วนราชการไทยกลับยิ่งสร้างอาคารชุดอลังการตามแนวคิดแบบ "เจ้าขุนมุลนาย" นับเป็นการสูญเสียทรัพยากรของชาติเป็นอย่างมาก
อันที่จริงเราควรย้ายศูนย์ราชการที่เกิดจากใจเข้ามาอยู่ในใจกลางเมืองอีกครั้งหนึ่งแล้วสร้างระบบขนส่งมวลชนให้เพียงพอรวมทั้งศูนย์กลางรถไฟ ศูนย์รถประจำทางในเมืองและศูนย์รถไฟฟ้าในเมือง เป็นต้น
ช่วยกันคิดเพื่อไม่ให้นักผังเมืองทำเมืองให้พังไปกว่านี้
ดาวน์โหลดฟรี หนังสือวิพากษ์ผังเมือง http://bit.ly/1qkzqmT
ดาวน์โหลดฟรี หนังสือการบริหารกรุงเทพมหานคร http://bit.ly/233hICp