Light Rail เชียงใหม่: เรื่องโกหก / ฝันเฟื่อง
  AREA แถลง ฉบับที่ 245/2560: วันอังคารที่ 20 มิถุนายน 2560

ผู้แถลง: ดร.โสภณ พรโชคชัย
ประธาน ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย
บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส sopon@area.co.th https://www.facebook.com/dr.sopon4

            หลายคนดีใจที่เชียงใหม่จะมีรถ Light Rail แต่ช้าก่อน เรื่องนี้เป็นเรื่องโกหก / ฝันเฟื่อง อย่างไร และที่สำคัญเป็นการซ้ำเติมความลำบากของคนเชียงใหม่

            มีบทความเรื่อง “รถไฟฟ้ารางเบาเชียงใหม่” พร้อมเดินหน้า ส่ง ครม. ไฟเขียว (http://bit.ly/2tA2CrB) แจกแจงให้เห็นว่า "สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เผยความคืบหน้าโครงการศึกษาฯ ระบบขนส่งมวลชนเชียงใหม่ ซึ่งได้ข้อสรุปเลือกใช้เป็นระบบรถไฟฟ้ารางเบา (Chiang Mai Light Rail Transit) เพราะมีความเหมาะสมกับเมืองเชียงใหม่มากที่สุด โดยเลือกไว้ 2 รูปแบบ คือ โครงข่าย A เป็นระบบรถไฟฟ้าใต้ดินและบนดินมีทางวิ่งเฉพาะ และโครงข่าย B เป็นระบบรถไฟฟ้าบนดินระดับผิวถนน และสามารถใช้ช่องจราจรร่วมกับรถอื่นๆ ได้"

            โดยโครงการรถไฟฟ้ารางเบาเชียงใหม่ ประกอบด้วย 3 เส้นทางหลัก ได้แก่ สายสีแดง, สายสีน้ำเงิน และสายสีเขียว โดยสายสีแดง (โรงพยาบาลนครพิงค์-สนามบิน-แม่เหียะ) ระยะทาง 12 กม. สายสีเขียว (แม่โจ้-กาดหลวง-สนามบิน) ระยะทาง 12 กม. และสายสีน้ำเงิน (สวนสัตว์เชียงใหม่-ท่าแพ-ดอนจั่น) ระยะทาง 12 กม. ทั้งนี้ขณะนี้อยู่ระหว่างศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมในด้านเส้นทางและการลงทุน ก่อนจะส่งรายงานฉบับสมบูรณ์ในเดือนกรกฎาคม 2560 ให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจรเสนอให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาในเดือนกันยายน 2560 เพื่อนำเสนอต่อเสนอคณะรัฐมนตรีเห็นชอบต่อไป

            ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธาน ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส (www.area.co.th) ได้ให้ข้อคิดว่าเชียงใหม่ ควรมีระบบรถไฟฟ้ามานานแล้ว เพราะเป็นเมืองขนาดใหญ่ น่าจะคุ้มค่ากับการลงทุน อย่างไรก็ตามสิ่งที่ สนข. คิดไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง โดยจะเห็นได้ว่า การก่อสร้างบนพื้นถนน จะยิ่งซ้ำเติมการจราจรให้ติดขัด ระบบรถ BRT ในกรุงเทพมหานครและในกรุงจาการ์ตาที่มีระบบรถ BRT ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ก็พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าโครงการขนส่งมวลชนบนถนน ทำให้เสียพื้นที่จราจร ไม่แก้ปัญหา และกลายเป็นปัญหาเองในด้านการกีดขวางการจราจรในระยะยาว

            สิ่งที่ ดร.โสภณ เสนอก็คือการทำแบบยกระดับ และควรให้ภาคเอกชนมาทำแบบเดียวกับ BTS ในกรุงเทพมหานครแต่อาจทำเป็นแบบมวลเบาที่เป็น Monorial ซึ่งถูกกว่า แต่ที่สำคัญที่สุดก็คือ การให้รับเหมาทำไปทั้งเส้น โดยภาครัฐไม่ต้องออกค่าใช้จ่ายใด ๆ ยกเว้นให้ใช้ถนนเท่านั้น เชื่อว่าวงเงินคงไม่เกินเส้นละ 10,000 ล้านบาท น่าจะมีเอกชนสนใจลงทุนในระยะเวลา 30 ปี แล้วค่อยยกให้ทางราชการตามแบบ BOT (Built Operate and Transfer) คือภาคเอกชนสร้าง ดำเนินการแล้วยกให้รัฐภายหลังสัมปทาน 30 ปี

            ดร.โสภณ ย้ำให้ดำเนินการทั้งเส้นโดยนักลงทุนรายเดียว แต่อาจเป็นเส้นละรายเพื่อไม่ให้เกิดการผูกขาด รัฐบาลไม่ควรลงทุนเอง หรือลงทุนด้านโยธา รัฐบาลไม่ควรแบ่งการรับเหมาเป็นส่วน ๆ เพราะนี่คือช่องทางการทุจริต จากการรับเหมาหลาย ๆ ราย  ควรให้เอกชนรับไปทำทั้งหมดตามแบบ BOT จะดีที่สุด การรับเหมาเป็นส่วน ๆ การที่รัฐไปลงทุนก่อสร้างจนแทบว่าภาคเอกชนไม่ได้ลงทุนอะไรนักเลย เป็นการเปิดช่องให้เกิดทุจริต

            โปรดดูภาพต่อไปนี้ แทบไม่มีรถอื่นเลย แต่ถ้ามีรถอื่นมากมาย ก็คงไม่สำเร็จแน่นอน


ที่มาของรูป: http://bit.ly/2strcNg

 


ที่มาของรูป: http://bit.ly/2sTWddV

 


ที่มาของรูป: http://bit.ly/2sErY8j

อ่าน 7,275 คน
2024 Copyright © by area.co.th All Rights Reserved