ตามที่มีข่าวว่า "คลังแจง 7 ข้อเท็จจริงภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง" (http://bit.ly/2fbRtIr) ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธาน ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย (www.area.co.th) ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างและได้พาคณะข้าราชการไปศึกษาดูงานด้านนี้ในต่างประเทศหลายแห่ง ให้ความเห็นวิพากษ์วิจารณ์ต่อแนวคิดที่ผิดเพี้ยนของกระทรวงการคลัง ดังนี้:
- ประเด็นการกำหนดนิยามการใช้ที่ดินที่ขาดความชัดเจน ในกรณีของเกษตรกรรมและที่รกร้างว่างเปล่า
ดร.โสภณ: ปัญหาที่จะเกิดขึ้นก็คือเจ้าของที่ดินที่ไม่ต้องการเสียภาษีก็จะ "เสแสร้งแกล้งบ้า" ด้วยกันปลูกพืชผลต่างๆบนที่ดินราคาแพงเพื่อเลี่ยงภาษีดังนั้นทางออกที่สมควรก็คือการเก็บภาษีตามราคาที่ดินตามราคาตลาด ที่ดินที่มีราคาสูง ก็ต้องจ่ายภาษีมาก ไปหาใครอยากทำเกษตรกรรมก็เป็นสิทธิส่วนบุคคลแต่จะนำมาอ้างเพื่อเลี่ยงภาษีตามหน้าที่พลเมืองไม่ได้ - ประเด็นผลกระทบของภาษีต่อกิจการวิสาหกิจขนาดย่อม SMEs
ดร.โสภณ: จากผลการศึกษาของทางราชการก็ชี้ให้เห็นว่าการเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างไม่ใช่ การเก็บภาษีที่สูงเกินไปและไม่เป็นการบิดเบือนและเป็นช่องทางการทุจริตเช่นภาษีโรงเรือน การนำข้อปลีกย่อยเล็กน้อยเช่นสถาบันการศึกษาเอกชนนะครับเพื่อหาทางหลบเลี่ยงภาษีเป็นวิชามารที่น่าละอาย - ประเด็นการประเมินภาษีทรัพย์สินที่มีการใช้ประโยชน์หลายประเภทรวมกัน
ดร.โสภณ: นี่เป็นอีกประเด็น "ฉ้อฉล" พี่พยายามจะหลบเลี่ยงการเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างด้วยการพยายามแปลงการใช้ที่ดินเป็นอีกอันจะทำให้เสียภาษีน้อยลง แนวทางการแก้ไขก็คือการเก็บภาษีตามราคาตลาดเช่นเดียวกับข้อหนึ่งขั้นต้น - ประเด็นการยกเว้นภาษีสำหรับที่ดินที่ใช้เพื่อประโยชน์สาธารณะ
ดร.โสภณ: นี่ก็เป็นอีกหนึ่งกรณีเลี่ยงภาษีอย่างน่าละอายใจเช่นที่ดินว่างเปล่าแปลงหนึ่งมีมูลค่าตลาด 100 ล้านบาท ถ้าต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างอาจเสียสูงถึง 2 ล้านบาทต่อปี แต่การเสแสร้งทำดีด้วยกันยกให้ใช้ชั่วคราวเพื่อประโยชน์สาธารณะก็กลับไม่ต้องเสียภาษีและยังได้ "โล่ เกียรติยศ" ที่บำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมเสียอีก นี่คือความดีที่แสนสามานย์โดยแท้ - ประเด็นการคำนวณฐานภาษีของสิ่งปลูกสร้าง
ดร.โสภณ: พวกคนรวยๆ ที่ไม่ต้องการเสียภาษี ยังพยายามสร้างข่าวลือโคมลอยว่าจะเก็บภาษีเครื่องจักรด้วย ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างไม่รวมเครื่องจักรดังนั้นกิจการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่มีเครื่องจักรจึงได้รับการยกเว้นภาษีที่เคยเก็บในกรณีภาษีโรงเรือนที่ผ่านมาด้วย การกล่าวอ้างอันเป็นเท็จนี้ก็เพียงการประสานเสียงเพื่อหาพวกที่จะไม่ยอมจ่ายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนั่นเอง - ประเด็นการเก็บภาษีสำหรับที่ดินที่ถูกรอนสิทธิ์
ดร.โสภณ: ปกติที่ดินที่มีข้อจำกัดตามกฏหมายก็จะมีราคาถูกกว่าที่ดินที่มีศักยภาพเต็มอยู่แล้วดังนั้นเจ้าของที่ดินเหล่านี้ก็เสียภาษีต่ำกว่าผู้อื่นอยู่แล้ว การจะมาอ้างเพื่อเลี่ยงภาษีจึงเป็นเรื่องน่าละอายใจ อันที่จริงรัฐควรมีกองทุนหรือองค์กรมาจัดซื้อที่ดินตามราคาตลาดหากเจ้าของที่ดิน (ตาบอด) รายใดไม่ต้องการเสียภาษี ทางราชการไม่ควร "ลมเพลมพัด" บิดเบือนกลไกภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามคำเรียกร้องของเหล่าเจ้าที่ดินเลย - ประเด็นการกำหนดโทษ
ดร.โสภณ: อย่างที่ทางราชการได้ชี้แจงบทกำหนดโทษต่างๆก็ไม่แตกต่างจากบทลงโทษในกรณีการหลบเลี่ยงภาษีในภาษีโรงเรือนที่ใช้มาชั่วนาตาปี โทษจำคุกก็เป็นเพียงแค่การโฆษณาของเราเจ้าของที่ดินที่ไม่ยอมเสียภาษี เป็นพวกทำลายชาติโดยแท้
ดร.โสภณ ย้ำว่าทางราชการควรยึดหลักการเก็บภาษีที่ดินสิ่งปลูกสร้างแบบนานาอารยประเทศไม่ควรมีข้อยกเว้นยุ่งยิ้มหรือเอาใจชนชั้นสูงเจ้าที่ดินรายใหญ่ๆ ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนี้ไม่ทำให้ประชาชนเดือดร้อนแม้แต่น้อยเช่นเดียวกับการเก็บภาษีล้อเลื่อนหรือจักรยานยนต์เก่าๆ คันหนึ่งราคา 30,000 บาทก็ต้องเสียภาษี 400 - 500 บาทต่อปี (มากกว่า 1% อยู่แล้ว) คนที่เดือดร้อนจากภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจึงเป็นรายใหญ่ถึงซับมูลค่าสูงแต่ไม่ต้องการเสียภาษี ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งหากมีการเก็บภาษีนี้มาเมื่อ 50 ปีก่อน ณ อัตรา 1% ก็เท่ากับว่ามูลค่าทรัพย์สินที่เจ้าที่ดินรายใหญ่ถือครองอยู่นี้ เป็นภาษีที่ควรเสียแต่ไม่ได้เสียนั่นเอง (http://bit.ly/2rrllrH)
อย่าปล่อยให้เจ้าที่ดินและนายทุนใหญ่ล้มหรือบิดเบือนระบบการเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเพื่อประโยชน์เฉพาะตน