รัฐบาลมีความพยายามที่น่าชมเชยในการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยผ่านโครงการธงฟ้าประชารัฐ แต่เชื่อว่าโครงการนี้จะไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร จะแก้ไขอย่างไรดี
ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธาน ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย (www.area.co.th) ได้ให้ข้อคิดเห็นถึงโครงการนี้ว่า
1. ถือเป็นการให้ "ปลา" มากกว่าการให้ "เบ็ด" เพราะเท่ากับแจกเงินโดยตรง ไม่ได้ทำให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจหรือไม่ได้เกิดการลงทุนเพิ่ม เช่น กองทุนหมู่บ้านในอดีต
2. จำนวนเงิน 200-300 บาทต่อคนต่อเดือน นับเป็นจำนวนเงินที่น้อยมาก ไม่น่าจะก่อให้เกิดผลสะเทือนทางบวกต่อเศรษฐกิจไทยนัก
3. นำไปใช้ซื้อของเงินสดไม่ได้ ไม่ได้รับความสะดวก ประชาชนผู้มีรายได้น้อย (ผู้ซื้อ) จะอุดหนุนประชาชนผู้มีรายได้น้อย (แม่ค้า) ตามตลาดสดใด ๆ ไม่ได้เลย เพราะแม่ค้าเหล่านี้ไม่มีเครื่องรูดบัตร
4. รัฐยังต้องรับภาระซื้อเครื่องรูดบัตรให้อีกต่างหาก หากซื้อประมาณ 50,000 เครื่อง (ซึ่งถือว่ายังน้อย) ก็คงสิ้นเปลืองเงินไปไม่น้อยในการจัดซื้อ ใครจะได้จากการนี้
5. โครงการนี้ส่งผลกระทบต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจได้น้อยมากตามการประเมินของสภาพัฒน์ฯ (http://bit.ly/2wP5ra8)
6. ยังมีปัญหาการโกงและยังแก้ไขปัญหานี้ไม่ได้เท่าที่ควร (http://bit.ly/2zhkpre) เริ่มต้นก็มีกลิ่นไม่ดีแล้ว อย่างนี้จะได้ผลหรือไม่
7. รัฐบาลเพิ่งเปิดให้ร้านค้าต่าง ๆ สามารถเข้าร่วมโครงการได้ เมื่อไม่นานมานี้ (http://bit.ly/2z11BeV) ก่อนวันเปิดให้รูดบัตรไม่ถึง 2-3 สัปดาห์ แสดงว่ายังเตรียมการไม่พร้อม
8. ณ วันที่ 12 ตุลาคม ในเว็บไซต์ของกระทรวงพาณิชย์ (www.shop.moc.go.th) ยังมีร้านค้าอยู่เพียง 5,166 ร้าน)
ทางราชการอาจอ้างว่า ที่ไม่ได้ให้เป็นเงินสดเพราะเกรงจะนำเงินไปใช้ผิดประเภท ข้อนี้ถือเป็นการดูถูกวิจารณญาณของประชาชน และเป็นการปิดกั้นสิทธิของประชาชน ที่สำคัญทำให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อยไม่สามารถอุดหนุนแม่ค้าผู้มีรายได้น้อยด้วยกันเองอย่างน่าเสียดาย แต่กลับไปซื้อสินค้าที่ผลิตโดยผู้ผลิตรายใหญ่ ๆ เป็นหลักหรือไม่ เป็นการเอื้อประโยชน์ต่อนายทุนรายใหญ่ๆ หรือไม่
โดยหลักแล้วรัฐบาลควรให้ "เบ็ด" โดยไม่ใช่ให้ "ปลา" เช่น กองทุนหมู่บ้านไปพัฒนาสินค้าแบบ "โอท็อป" หรืออื่นใด เพื่อนำเงินมาหมุนเวียน การแจกเงินไม่ว่าจะตั้งแต่เช็คช่วยชาติหรืออื่น ๆ จึงไม่ได้ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจเท่าที่ควร แต่เป็นเสมือนการ "ซื้อเสียง"
หมายเหตุ: จำนวนร้านค้าแยกตามจังหวัด ณ วันที่ 12 ตุลาคม 2560 | ||
ที่ | จังหวัด | จำนวนร้าน |
1 | กระบี่ | 11 |
2 | กรุงเทพมหานคร | 88 |
3 | กาญจนบุรี | 38 |
4 | กาฬสินธุ์ | 41 |
5 | กำแพงเพชร | 14 |
6 | ขอนแก่น | 160 |
7 | จันทบุรี | 12 |
8 | ฉะเชิงเทรา | 9 |
9 | ชลบุรี | 50 |
10 | ชัยนาท | 59 |
11 | ชัยภูมิ | 82 |
12 | ชุมพร | 70 |
13 | เชียงราย | 77 |
14 | เชียงใหม่ | 60 |
15 | ตรัง | 84 |
16 | ตราด | 25 |
17 | ตาก | 95 |
18 | นครนายก | 2 |
19 | นครปฐม | 48 |
20 | นครพนม | 136 |
21 | นครราชสีมา | 131 |
22 | นครศรีธรรมราช | 30 |
23 | นครสวรรค์ | 47 |
24 | นนทบุรี | 18 |
25 | นราธิวาส | 76 |
26 | น่าน | 93 |
27 | บึงกาฬ | 14 |
28 | บุรีรัมย์ | 129 |
29 | ปทุมธานี | 16 |
30 | ประจวบคิรีขันธ์ | 54 |
31 | ปราจีนบุรี | 69 |
32 | ปัตตานี | 25 |
33 | พระนครศรีอยุธยา | 17 |
34 | พะเยา | 173 |
35 | พังงา | 6 |
36 | พัทลุง | 73 |
37 | พิจิตร | 45 |
38 | พิษณุโลก | 135 |
39 | เพชรบุรี | 54 |
40 | เพชรบูรณ์ | 183 |
41 | แพร่ | 70 |
42 | ภูเก็ต | 59 |
43 | มหาสารคาม | 73 |
44 | มุกดาหาร | 78 |
45 | แม่ฮ่องสอน | 42 |
46 | ยโสธร | 42 |
47 | ยะลา | 34 |
48 | ร้อยเอ็ด | 152 |
49 | ระนอง | 28 |
50 | ระยอง | 33 |
51 | ราชบุรี | 45 |
52 | ลพบุรี | 96 |
53 | ลำปาง | 96 |
54 | ลำพูน | 119 |
55 | เลย | 20 |
56 | ศรีสะเกษ | 56 |
57 | สกลนคร | 202 |
58 | สงขลา | 131 |
59 | สตูล | 23 |
60 | สมุทรปราการ | 63 |
61 | สมุทรสงคราม | 36 |
62 | สมุทรสาคร | 59 |
63 | สระแก้ว | 39 |
64 | สระบุรี | 71 |
65 | สิงห์บุรี | 82 |
66 | สุโขทัย | 51 |
67 | สุพรรณบุรี | 25 |
68 | สุราษฎร์ธานี | 39 |
69 | สุรินทร์ | 66 |
70 | หนองคาย | 38 |
71 | หนองบัวลำภู | 38 |
72 | อ่างทอง | 35 |
73 | อำนาจเจิญ | 62 |
74 | อุดรธานี | 94 |
75 | อุตรดิตถ์ | 115 |
76 | อุทัยธานี | 54 |
77 | อุบลราชธานี | 251 |
รวมทั้งหมด | 5,166 |