ที่ผ่านมา NGOs ตัวร้าย ๆ มักต่อต้านการก่อสร้างถนนขึ้นเข้าใหญ่หรือผ่านป่าเขาอื่น ดร.โสภณ เอาตัวอย่างดีๆ มาให้ดูจากไต้หวัน รับรองถูกใจคนไทยและ NGOs (ถ้าใจไม่แย่เกินไป) แน่นอน
ถนนเส้นนี้มีสมญาว่าถนน 10 อุโมงค์ หรือเรียกว่าอุโมงค์ "เช้ฉ่าน" (Hsuehshan) อยู่ตามทางหลวงหมายเลขที่ 5 ของไต้หวัน เชื่อมระหว่างนครไทเปกับจังหวัดยิหลานทางภาคตะวันออกของเกาะไต้หวันนั่นเอง โดยถนนเส้นนี้เป็นทางยกระดับ และเจาะอุโมงค์ขนาดยาวเข้าไปในป่าเขา เพื่อให้รบกวนสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด แต่ที่แน่ๆ ก็คือในระหว่างการก่อสร้าง คงต้องรบกวนกันบ้าง ใช่ว่าห้ามแตะต้องไปเลย
ที่มา: https://goo.gl/i2kXNU
อุโมงค์นี้ เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงหมายเลข 5 เริ่มก่อสร้างในเดือนกรกฎาคม 2534 และแล้วเสร็จในเดือนมิถุนายน 2549 มีระยะทางทั้งหมด 12.941 เมตร เป็นถนนขนาด 4 ช่องจราจร และอนุญาตให้วิ่งด้วยความเร็ว 60-90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง การก่อสร้างสะพานนานถึง 15 ปีนี้ ทำให้สูญเสียชีวิตผู้ก่อสร้างไปถึง 25 คน แต่ก็ทำให้เกิดความสะดวกในการเดินทาง แทนที่จะต้องเดินทางตามไหล่เขา ซึ่งอันตรายเป็นอย่างมาก
ในประเทศไทยมีถนนผ่านเขาใหญ่และเขาอื่นๆ หลายแห่ง โดยเฉพาะที่เขาใหญ่มีสัตว์ป่าเสียชีวิตเพราะรถ ขณะเดียวกันผู้คนที่ผ่านไปมาก็เคยเสียชีวิตเพราะสัตว์เช่นกัน และยังทำให้เสียเวลาและทรัพยากรต่อทุกฝ่าย หากมีการก่อสร้างถนนเช่นนี้ อาจมีค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างมากกว่า และตัดถนนได้ตรงกว่า ทำให้ประหยัดต้นทุนในระยะยาว บางช่วงอาจเป็นอุโมงค์ บางช่วงก็เป็นทางด่วน สามารถใช้งานได้ตลอดไป