ครูพลาม นั่งวิ่งคนที่สองจากเบตง-แม่สายของไทย (หลังครูชัยวัฒน์ / ก่อนตูน) กำลังจะวิ่งเพื่อช่วยเหลือทหารตำรวจที่บาดเจ็บทางใต้ ดร.โสภณ จึงไปให้กำลังใจ
ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธาน ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส (www.area.co.th) ได้ไปพบครูพลาม พรมจำปา ณ สถาบันมัชฌิมาการต่อสู้ ณ ศูนย์ฝึกกีฬาทางน้ำ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิทยาเขตรังสิต เพราะครูพลามกำลังจะวิ่งอีกครั้งหนึ่งเพื่อช่วยเหลือทหารและตำรวจที่บาดเจ็บทางใต้
ครูพลามได้วิ่งทางไกลหลายครั้ง ได้แก่:
1. วิ่งครั้งแรกเมื่อวันที่ 13 เมษายน 2548 ออกจาก อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ถึงจุดหมายที่ อำเภอเบตง จังหวัดยะลา ในวันที่ 25 พฤษภาคม 2548
2. เมื่อปี 2550 วิ่งเฉลิมพระเกียรติ เฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา จากด่านเจดีย์สามองค์ อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ไปสิ้นสุดที่อุทยานแห่งชาติผาแต้ม จังหวัดอุบลราชธานีบ้านเกิด
3. เมื่อปี 2552 จากสิบสองปันนาเมืองเชียงรุ้ง ประเทศจีน สู่ท้องสนามหลวง
4. ครั้งล่าสุดในปี พ.ศ. 2558 เป็นการครบรอบ 10 ปีพอดี จึงกลายเป็นการวิ่งที่ไกลที่สุด กว่า 3,000 กิโลเมตร จากอำเภอเบตง จังหวัดยะลา ผ่านไปจังหวัดหนองคาย ก่อนจะสิ้นสุดที่อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย
ในครั้งนี้ ครูพลาม จะวิ่งเพื่อหาทุนช่วยเหลือทหารและตำรวจที่บาดเจ็บจากความไม่สงบในชายแดนใต้ โดยตั้งเป้าไว้ที่ 200 ล้านบาท ซึ่งหากได้ตามเป้า จะสามารถซื้อขาเทียม คู่ละนับแสนบาท แบบเทคโนโลยีชั้นสูงที่สามารถทำให้ทหาร ตำรวจพิการ เดินได้ตามปกติ นับร้อยๆ คู่ และยังสามารถบริจาคให้ผู้พิการอื่นได้ด้วย รวมทั้งค่าใช้จ่ายอื่นๆ ในการดูแลทหารและตำรวจที่บาดเจ็บจนติดเตียงหรือซึ่งไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ เป็นต้น
สำหรับท่านที่สนใจสนับสนุนมี 2 กรณีคือ
1. สนับสนุนเป็นทุนการวิ่ง
2. สนับสนุนด้วยการบริจาคช่วยทหารตำรวจบาดเจ็บ
โดยทั้งนี้ติดต่อครูพลามได้ที่ โทร. 098-452-9008
ดูเพิ่มเติม
‘ตูน’ กับทรัพย์ที่ไม่พึงได้ www.lokwannee.com/web2013/?p=295493
Change.org "บันทึกไทย" ไม่ควรให้รางวัลตูน http://bit.ly/2ERmKQ4
กระบวนการสร้างวีรบุรุษ "ตูน" ที่ห้ามแตะ https://goo.gl/56NzLt
ดร.โสภณ ชี้ให้เห็นว่า มีคนที่สมควรได้รับรางวัลก่อนตูน 2 คน การบำเพ็ญประโยชน์ของตูนนั้นดี แต่บันทึกไทยมอบรางวัลเช่นนี้เป็นการบิดเบือนประวัติศาสตร์
ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธาน ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย (www.area.co.th) ในฐานะที่คลุกคลีอยู่กับการเก็บรวบรวมข้อมูลมานับ 30 ปี ให้ความเห็นต่อกรณีบันทึกไทยให้รางวัลตูนว่าไม่ต้องตามมาตรฐานที่สมควร โดยอ้างตามเหตุผลของบันทึกไทย ดังนี้:
1. บันทึกไทยบอกว่าต้องมีการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน: สองคนก่อนเขาก็กำหนดเป้าหมายชัดเจน เป็นข่าวไปทั่ว เขายังเก็บหลักฐานไว้เลย กลับไม่นำพา?
2. บันทึกไทยบอกว่าต้องวัดระยะจับเส้นทางด้วย GPS แต่สถิติระดับโลก หรือสถิติอื่นๆ ในเว็บ “บันทึกไทย” ของท่านก็ไม่เห็นต้องใช้ GPS เลย
3. บันทึกไทยบอกว่าต้องมีการเก็บหลักฐานด้วยภาพถ่าย วิดิโอ มีพยานบุคคลตลอดเส้นทางทั้งสองท่านก็มีครบทุกอย่าง
การยกย่องตูนเป็นสิ่งที่สมควร แต่ก็ควรให้เกียรติอีก 2 ท่านที่ทำมาก่อนและมีหลักฐานชัดเจนด้วย รวมทั้งทีมคุ้มกันตูนอีกจำนวนหนึ่งที่วิ่งไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าตูนเช่นกัน ที่ผ่านมาบันทึกไทยยังบันทึกว่าให้คนไทยคนหนึ่งเป็นเจ้าของคนแรกที่ขี่จักรยานข้ามทวีปเมื่อปี 2504 ไม่เห็นต้องใช้ GPS เลย แต่กรณีครูไชยวัฒน์ วิ่งตั้งแต่ปี 2529 และครูพลามวิ่งปี 2548 และ 2558 มีหลักฐานมากมายกลับไม่นำพา
บันทึกไทยอย่าอ้างว่าทำตามมาตรฐานสากล ที่มีการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน มีการวัดระยะด้วย GPS มีการเก็บหลักฐานด้วยภาพถ่าย วิดิโอ มีพยานบุคคลเลย ดูอย่างกรณีขี่จักรยานข้ามทวีปปี 2504 บันทึกไทยยังยกย่องได้ แต่กับครูไชยวัฒน์ ครูพลาม กลับไม่ให้ ผู้บริหารบันทึกไทยทำอย่างนี้เป็นการขาดมาตรฐานไหม ทำองค์กรเสียหายหรือไม่
ดร.โสภณ พรโชคชัย ในฐานะนักวิจัย เห็นว่าข้อมูลมีความสำคัญมาก การที่จะให้เกียรติตูน ก็ไม่ควรถึงขนาดบิดเบือนประวัติศาสตร์ ทำลายขวัญและกำลังใจผู้อื่น