มักมีภาพ ดร.ทักษิณ ชินวัตร กับ พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์ ถ่ายรูปคู่กันพร้อมคำบรรยายว่า "ถ้าไม่มี พล.อ.สุนทรฯ ก็คงไม่มีวันนี้" ทำให้ดูเหมือนว่า รสช.ช่วย "โกง" ให้ทักษิณได้ดาวเทียมไทยคม แต่ความจริงไม่ใช่ และนี่คือกรณีศึกษาเรื่องสัมปทาน
ความจริงก็คือทักษิณชนะการประมูลไทยคมตั้งแต่ 14 ธันวาคม 2533 ก่อนการยึดอำนาจโดยคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช) และเมื่อ รสช.ทำการสำเร็จก็มีภาพดังกล่าว จนถึงวันที่ 11 กันยายน 34 ทักษิณก็ได้ลงนามในสัมปทาน และลุมาถึง 17 ธันวาคม 36 ทักษิณก็เชิญสุนทร ไปร่วมงานไทยคม 1 ขึ้นสู่วงโคจรพร้อมวาทะข้างต้น อันที่จริงในวันส่งดาวเทียม ขนาดสุนทรหมดอำนาจแล้ว ทักษิณก็ยังเชิญมาร่วมงานเพราะไม่แกล้งเขา ทักษิณเองในขณะนั้นก็ไม่ได้เล่นการเมือง ไม่ได้ไปช่วย รสช.ยึดอำนาจ แต่ถ้าขืนไปขวางบิ๊กๆ ก็คงบรรลัย
กรณีนี้ชี้ชัดว่า ทักษิณได้สัมปทานก่อน รสช มายึดอำนาจ ทักษิณชนะบริษัทที่ใกล้ชิด บิ๊ก รสช ด้วยซ้ำไป แต่การเข้าหา รสช. นั้นเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับนักธุรกิจรายนี้ เป็นเพียงเพื่อรักษางานประมูลที่เขาชนะการประมูลเท่านั้น หาไม่อาจถูกรัฐบาลที่ รสช แต่งตั้งขึ้นโละทิ้งเช่นเดียวกับโครงการลาวาลิน (https://bit.ly/2xtVa5F) หรือโครงการโทรศัพท์ 3 ล้านเลขหมายของ CP (https://bit.ly/2MR0pkT)
การเปลี่ยนแปลงสัมปทาน แบ่งประโยชน์เกิดขึ้นได้เพราะการหาว่าฝ่ายหนึ่งทุจริต จึงต้องมาสะสางใหม่ ซึ่งเป็นสิ่งที่แล้วแต่อ้างกันไป สัมปทานของรัฐจึงขาดความแน่นอน การขาดความแน่นอนและความโปร่งใส จะทำให้นักลงทุนต่างประเทศที่สนใจลงทุนในประเทศไทย ไม่กล้ามาลงทุนเท่าที่ควร ดูอย่างกรณี "กูมาไกกูมิ" กับทางด่วนขั้นที่สอง (https://bit.ly/2Nq9178) เป็นต้น ดังนั้นในการให้สัมปทานใดๆ จึงต้องทำการศึกษาให้ดีเสียก่อน จะได้ไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่ไม่จำเป็น
อ้างอิง
ไทยคม-ชัด-ลึก สัมพันธ์อลเวงฯ http://topicstock.pantip.com/rajdumnern/topicstock/2012/08/P12561833/P12561833.html
ดาวเทียมไทยคม http://th.wikipedia.org/wiki/ดาวเทียมไทยคม
บริษัทไทยคม http://th.wikipedia.org/wiki/ไทยคม_(บริษัท)
ประมูลโทรศัพท์อัปยศฯ https://bit.ly/2MR0pkT