รู้จักทัศนะอุจาดไหม เรื่องทัศนอุจาดของเมืองเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันมานาน แต่อาจไม่มีผลในทางปฏิบัติมากนักโดยเฉพาะในประเทศไทยหรือประเทศกำลังพัฒนาอื่น
ที่มารูปภาพ : https://www.khaosod.co.th/wp-content/uploads/2018/12/20181228155836_IMG_0108-464x696.jpg
สิ่งที่เห็นผิดสังเกตก็คือ ด้านหลังของอนุสาวรีย์กลับมีอาคารชุดพักอาศัยโผล่เป็นฉากประกอบหลัง ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธาน ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส (www.area.co.th) ชี้ว่ากรณีนี้อาจทำให้เห็นทัศนะที่แตกต่างกัน
1. บ้างอาจเห็นเป็นธรรมดาของการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์
2. บ้างอาจมองว่าเป็นสิ่งไม่บังควรเพราะอยู่ใกล้อนุสาวรีย์สำคัญของชาติ
สำหรับผู้ที่มีทัศนคติในทางลบบางท่านอาจมองว่าสมควรรื้ออาคารด้านหลังทิ้งโดยเวนคืนมา หรือควรที่จะมีข้อกำหนดตามสมควร บ้างก็อาจสาวไปถึงว่ากรณีเช่นนี้ได้รับการอนุญาตมาได้อย่างไร แต่เรื่องนี้ก็เป็นเรื่องที่สมควรได้รับการถกเถียงกันด้วยเหตุผลอย่างรอบคอบ ใช่ว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะถูกต้องเหมาะสมเสียทีเดียว และอาจไปกล่าวโทษเอกชนที่ดำเนินการโดยตรงอาจไม่ได้ หรือจะเหมาะสมหรือไม่
ที่มารูปภาพ:
ในประเทศฟิลิปปินส์ อนุสาวรีย์รีซัล ก็มีสิ่งแปลกปลอมทำนองนี้เช่นกัน นายโฮเซ รีซัล (José Rizal) หรือชื่อเต็มคือ โฮเซ โปรตาซีโอ รีซัล เมร์กาโด อี อาลอนโซ เรอาลอนดา (José Protacio Rizal Mercado y Alonzo Realonda) เป็นนักเขียนและวีรบุรุษคนสำคัญของฟิลิปปินส์ในการต่อสู้เพื่อเรียกร้องเอกราชจากสเปน เขาถูกจับและถูกตัดสินประหารชีวิตด้วยการยิงเป้าเมื่อ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2439 การเสียชีวิตของเขากลายเป็นแรงบันดาลใจให้ชาวฟิลิปปินส์ลุกขึ้นสู้จนขับไล่สเปนออกไปได้สำเร็จ แม้จะถูกยึดครองโดยสหรัฐอเมริกาในเวลาต่อมา (https://goo.gl/vhtcDi)
ที่มารูปภาพ : https://www.thairath.co.th/media/NjpUs24nCQKx5e1HUcGMtWnhX5ecxwngyuP7XHYAliA.webp
ในบ้านเมืองของเรานั้นหากมีสิ่งปลูกสร้างที่แลดูไม่สวยงามขัดลูกหูลูกตา หรือไม่เจริญหูเจริญตาก็ถือเป็นทัศนะอุจาด หรือมลทัศน์ซึ่งภาษาอังกฤษเรียกว่า Eyesore หรือ Visual Pollution นั่นเองบางคนบอกว่าการสร้างรถไฟฟ้า 2-3 ชั้นอยู่ที่แยกปทุมวัน ถือเป็นทัศนอุจาดแต่หากไม่มีการก่อสร้างในทำนองนี้ในขณะที่เรามีความจำเป็นต้องสร้างรถไฟฟ้าเราก็อาจต้องสร้างลงใต้ดินซึ่งคงเสียค่าใช้จ่ายสูงมากและไม่แน่ใจว่าจะคุ้มหรือไม่กรณีนี้คงต้องศึกษากันให้ชัดเจนแต่เอาเป็นว่าทุกวันนี้เราก็อยู่กันได้โดยไม่ “หนักหัวใคร” หรือไม่
อีกตัวอย่างหนึ่งก็คืออาคารแฝด “รัตนโกสินทร์วิวแมนชั่น” เชิงสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าฝั่งธนบุรี อาคารนี้สูง 128.35 เมตร 34 ชั้นสร้างเสร็จในปี 2536 (https://goo.gl/HwLcZc) เคยมีข้อถกเถียงกันว่า อาคารนี้สร้างใกล้กับวังหลวงมากเกินไปจนมีข่าวว่าจะมีการเวนคืนเพื่อทุบให้ย่อส่วนลง (อนุมัติงบฯ 2 พันล้านรื้อตึก “รัตนโกสินทร์วิวแมนชั่น” https://goo.gl/cZS5MS) จะได้ไม่เป็น “ทัศนะอุจาด”ท่านผู้อ่านคิดว่านี่เป็นทัศนะอุจาดหรือไม่แต่ที่สำคัญอาคารนี้มีอายุ 22 ปีเข้าไปแล้วขณะนี้มีราคาขายเฉลี่ยราว 60,000 บาทต่อตารางเมตร
ในกรุงวอชิงตันดีซีมีข้อบังคับให้อาคารสมัยใหม่ต่าง ๆ มีความสูงราว ๆ 50 เมตรความตั้งใจแต่เดิมก็คือไม่ต้องการให้อาคารใด ๆ บดบังทัศนียภาพของโบราณสถานหรือสถานที่สำคัญของชาติเหล่านี้ (https://goo.gl/BWsSD4) กรณีนี้คงพอเข้าใจได้เพราะ กรุงวอชิงตันดีซีมีพื้นที่เพียง 159 ตารางกิโลเมตรหรือมีขนาดใหญ่กว่าเขตลาดกระบังเล็กน้อยดังนั้นในพื้นที่นี้อาจมีการจำกัดความสูงแต่ในนครอื่น ๆ โดยรอบกรุงวอชิงตันก็สามารถก่อสร้างสูงได้ผิดกับกรณีกรุงเทพมหานครที่แทบทุกพื้นที่ตามร่างผังเมืองใหม่ห้ามการก่อสร้างอาคารสูง
แม้ อาคารส่วนใหญ่ใจกลางกรุงปารีสจะสูงเพียง 37 เมตรตามข้อกำหนด แต่หากพิจารณาจากพื้นที่ก่อสร้างยังมีความหนาแน่นกว่ากรุงเทพมหานครมากการที่กรุงปารีสมีการดูแลเรื่องความสูงมากเพราะมีสถานที่สำคัญมากมายแต่กรุงเทพมหานครมีจำกัดกว่าการเลียนแบบการจำกัดความสูงจึงควรได้รับการทบทวนยิ่งกว่านั้นขณะนี้ในกรุงปารีสกำลังจะมีการพิจารณาอนุญาตให้ขึ้นตึกสูงให้มากขึ้นเพื่อสนองความต้องการด้านที่อยู่อาศัยและการพาณิชย์ปารีสมีขนาดเพียง 105 ตารางกิโลเมตรมีประชากร 2.2 ล้านคน หรือประมาณ 22,000 คนต่อตารางกิโลเมตรแสดงว่าเขาเน้นการอยู่แบบหนาแน่นไม่ต้องมีระยะร่นมากมายนอกเขตกรุงปารีสก็ไม่ได้จำกัดความสูง
ในประเทศไทยเอง ก็เคยมีกรณีนี้คืออาคารชุดรัตนโกสินทร์ทาวเวอร์ ซึ่งครั้งหนึ่งเคยมีแนวคิดว่าจะเวนคืนมาทุบให้เตี้ยลง แต่ก็ไม่ได้ดำเนินการ ในแง่หนึ่งอาจไม่คุ้มค่าที่จะเสียเงินเพื่อการนี้มากมายเพียงนั้นก็ได้ แต่ทั้งนี้ก็เป็นเรื่องที่ต้องมีการถกเถียงกันทางวิชาการ
อย่างไรก็ตาม ทางออกที่ควรมี ควรเป็นทางออกที่ Win Win ต่อทุกฝ่าย ช่วยกันคิด