ขณะนี้ ดร.โสภณ อยู่ตุรกี จึงนำบรรยากาศมาชมกัน ได้ความรู้และภาพน่าสนใจ เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2562 ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธาน ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส (www.area.co.th)ได้ผ่านไปนครอิสตันบูล และเยี่ยมสุสานอตาเติร์ก จึงนำบรรยากาศมาให้ชมกัน
อิสตันบูล ประเทศตุรกี https://bit.ly/2T1A63e อิสตันบูล (ตุรกี: İstanbul)
เดิมชื่อ คอนสแตนติโนเปิล เป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดในประเทศตุรกีและทวีปยุโรป (นับรวมเขตเมืองฝั่งเอเชีย) เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ของประเทศตุรกี อิสตันบูลเป็นเมืองเชื่อมทวีปยูเรเซียโดยตั้งระหว่างช่องแคบบอสพอรัส (ซึ่งแยกยุโรปและเอเชีย) ระหว่างทะเลมาร์มาราและทะเลดำ เมืองอิสตันบูลมีชื่อเสียงทางด้านศูนย์กลางการค้าและประวัติศาสตร์ของฝั่งยุโรป ประมาณหนึ่งในสามของประชากรอาศัยอยู่ทางอานาโตเลียหรือฝั่งทวีปเอเชีย โดยมีประชากรทั้งหมดประมาณ 15 ล้านคน อิสตันบูลเป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลกโดยจัดว่าเป็นเมืองที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสี่ของโลกและเป็นเมืองในยุโรปที่ใหญ่ที่สุด เมืองเป็นศูนย์กลางการปกครองของเทศบาลนครอิสตันบูล อิสตันบูลถือว่าเป็นสะพานเชื่อมระหว่างซีกโลกตะวันออกและตะวันตก
ในอดีตเมืองอิสตันบูลก่อตั้งขึ้นภายใต้ชื่อ ไบแซนไทน์ (Βυζάντιον) บนแหลมซาเรย์บูนู ราว 660 ปีก่อนคริสตศักราช เมื่อเวลาผ่านไปตัวเมืองค่อยๆขยายขนาดและอิทธิพลเพิ่มขึ้นจนกลายเป็นหนึ่งในเมืองที่สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์ โดยหลังจากการสถาปนาเป็นกรุงคอนสแตนติโนเปิลในปี ค. ศ. 330 , ไบแซนไทน์ อยู่ในฐานะเมืองหลวงของจักรวรรดิมาเป็นเวลาเกือบ 16 ศตวรรษ ตั้งแต่ จักรวรรดิโรมัน / ไบเซนไทน์ (330-1204) ละติน (1204–1761) จักรวรรดิไบแซนไทน์ภายใต้ราชวงศ์พาลาโอโลกอส (1261–1453) จนมาถึงจักรวรรดิไบแซนไทน์ (1453–1922) โดยเมืองไบแซนไทน์ได้กลายเป็นศูนย์กลางการเผยแผ่ศาสนาคริสต์ในช่วงเวลานั้น ก่อนที่ชาวออตโตมานจะพิชิตเมืองในปี ค.ศ. 1453 และเปลี่ยนให้กลายเป็นจุดยุทธศาสตร์ของจักรวรรดิออตโตมันและศาสนามุสลิมในที่สุด[2]
ตำแหน่งของเมืองถูกปรากฎบนหน้าประวัติศาสตร์ ทั้งบนเส้นทางสายไหม [3], เส้นทางผ่านของรถไฟไปยังยุโรป ตะวันออกกลาง และเป็นเพียงการเดินทางทะเลทางเดียวที่จะข้ามระหว่างทะเลดำและทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ซึ่งทำให้เกิดความหลากหลายทางประชากร ในขณะที่อังการาได้รับเลือกให้เป็นเมืองหลวงของตุรกีหลังสงครามประกาศอิสรภาพตุรกีและเปลี่ยนได้ชื่อเมืองเป็นอิสตันบูลในปัจจุบัน แต่เมืองก็ยังคงความโดดเด่นในด้านการเมืองและศิลปวัฒนธรรม จำนวนประชากรในเมืองเพิ่มขึ้นเป็นสิบเท่าจากปี ค.ศ. 1950 ขณะที่ผู้อพยพจากทั่วอานาโตเลียได้ย้ายเข้ามาในเขตเมืองและมีการขยายตัวเพื่อที่จะรองรับได้มากขึ้น[4][5] เทศกาลศิลปะดนตรีภาพยนตร์และวัฒนธรรมได้รับการก่อตั้งขึ้นในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 และยังคงเป็นเมืองเจ้าภาพในปัจจุบัน การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานได้สร้างเครือข่ายการขนส่งที่ครอบคลุมในเมืองมากขึ้น
ในปี 2558 นักท่องเที่ยวต่างชาติราว 12.56 ล้านคนได้เดินทางมายังอิสตันบูล และห้าปีหลังจากนั้นได้รับการขนานนามว่าเป็นเมืองหลวงแห่งวัฒนธรรมยุโรป จึงทำให้เมืองนี้เป็นเมืองท่องเที่ยวอันดับห้าที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก[6] แหล่งท่องเที่ยวที่ใหญ่ที่สุดของเมืองคือศูนย์กลางประวัติศาสตร์ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นส่วนหนึ่งของมรดกโลกโดยองค์การยูเนสโกและศูนย์กลางทางวัฒนธรรมและความบันเทิงของเมืองตั้งอยู่ในเขต Beyo Hornlu อิสตันบูลถือว่าเป็นเมืองระดับโลก [7] อิสตันบูลเป็นหนึ่งในเขตเศรษฐกิจที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก [8] โดยเป็นเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่จำนวนมากของประเทศ รวมถึงสื่อและการเงินมากกว่าหนึ่งในสี่ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของตุรกี .[9] ด้วยความหวังว่าจะได้รับประโยชน์จากการฟื้นฟูและการขยายตัวเมืองมากขึ้น อิสตันบูลจึงเสนอสำหรับการเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกฤดูร้อนถึงห้าครั้งในรอบยี่สิบปีที่ผ่านมา [10]
อังการา https://bit.ly/2SohMfG (ตุรกี: Ankara)
เป็นเมืองหลวงของประเทศตุรกีและเป็นเมืองหลวงของจังหวัดอังการา อังการาเป็นเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับสองรองจากอิสตันบูล ตั้งอยู่ในจังหวัดอังการาอยู่ที่ระดับความสูงเฉลี่ย 938 เมตร [3] มีประชากรประมาณ 3.9 ล้านคน
อังการาตั้งอยู่บริเวณกลางคาบสมุทรอานาโตเลีย จึงเป็นเมืองที่มีความสำคัญทั้งทางธุรกิจและอุตสาหกรรม เป็นศูนย์กลางของรัฐบาลตุรกี และเป็นที่ตั้งของสถานทูตประเทศต่าง ๆ อังการายังเป็นศูนย์กลางของทางหลวงและเส้นทางรถไฟทำให้เป็นศูนย์กลางของการค้าขาย สินค้าที่มีชื่อเสียงของเมืองคือผลิตภัณฑ์จากขนโมแฮร์ที่ได้จากแพะอังโกรา ขนอังโกราที่ได้จากกระต่ายอังโกรา แมวอังโกรา ลูกแพร์ น้ำผึ้ง และองุ่นท้องถิ่น
ตัวเมืองประกอบด้วยส่วนที่เรียกว่า อูลุส ซึ่งเป็นเมืองเก่าที่ถูกสร้างขึ้นตั้งแต่ก่อนยุคจักรวรรดิออตโตมัน และ เยนีเชฮีร์ ซึ่งเป็นเมืองใหม่ที่ถูกสร้างขึ้นตามแผนการสร้างเมืองของรัฐบาลสาธารณรัฐตุรกี แต่การพัฒนาเศรษฐกิจหลังสงครามโลกครั้งที่สองทำให้มีผู้คนจำนวนมากหลั่งไหลเข้ามาปักหลักบริเวณพื้นที่รอบนอกเมืองและเกิดบ้านเรือนที่ถูกสร้างขึ้นอย่างไม่มีระเบียบเป็นจำนวนมาก
การตั้งรกรากบริเวณเมืองอังการาครั้งแรกเกิดขึ้นตั้งแต่ยุคสำริดโดยชาวฮิตไทต์ โบราณวัตถุที่ค้นพบบริเวณเมืองแสดงให้เห็นว่าชาวฮิตไทต์เรียกเมืองนี้ว่า อังกูวัช ตั้งแต่ก่อนปี 1200 ก่อนคริสตกาล[4] เมืองอังการาเริ่มขยายตัวและมีความสำคัญมากขึ้นในสมัยของฟรีเจียตั้งแต่ปี 1000 ก่อนคริสตกาล เพราะมีการอพยพจากเมืองกอร์เดียนซึ่งเป็นเมืองหลวงของฟรีเจีย หลังเกิดแผ่นดินไหวรุนแรง พวกฟรีเจียยกย่องกษัตริย์มิดาสของตนว่าเป็นผู้ก่อตั้งเมืองขึ้น แต่เพาซาเนียส นักภูมิศาสตร์ชาวกรีกได้กล่าวไว้ว่าเมืองนี้มีอายุเก่าแก่กว่านั้นมากนัก[5]
สุสานอตาเติร์ก (Ataturk Mausoleum) https://bit.ly/2XpciVt̷6;
เป็นอนุสรณ์สถานและสุสานของ Mustafa Kemal Ataturk ซึ่งเป็นผู้นำในสงครามการกอบกู้อิสรภาพของตุรกีหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ผู้ก่อตั้งสาธารณรัฐตุรกีและประธานาธิบดีคนแรก และ เป็นสุสานของ Ismet Innonu ประธานาธิบดีคนที่ 2 ของตุรกี สุสานแห่งนี้ออกแบบโดยสถาปนิกชาวตุรกี สร้างขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1944-1953 มีความสำคัญกับประเทศเป็นอย่างมาก โดยถูกบันทึกลงธนบัตรลีร่าตุรกี ที่พิมพ์ระหว่างปี 1966-1987 และ 1999-2009 จะมีรูปสุสานอตาเติร์กแห่งนี้เป็นสัญลักษณ์ในธนบัตรอีกด้วย