ตามที่ได้มี พรบ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562 ออกมา ดร.โสภณวิพาก์หนังว่ามุ่งอุ้มคนรวย ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธาน ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส (www.area.co.th) ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านภาษีทรัพย์สินซึ่งได้พาคณะข้าราชการไทยเดินทางไปศึกษาดูงานในด้านนี้ทั่วโลก ขอแสดงความเห็นวิพากษ์พรบ.ฉบับนี้ ดังนี้:
1. ประชาชนไม่พึงกลัวการเสียภาษีนี้ เพราะในแต่ละปี ราคาที่ดินเพิ่มขึ้น 3-5% สูงกว่าอัตราภาษีนี้มากนัก อันที่จริงรัฐบาลให้ความรู้แก่ประชาชนให้เข้าใจภาษีนี้ว่าเป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคม ไม่พึงหลีกเลี่ยง เพราะยิ่งจ่ายมาก ท้องถิ่นยิ่งเจริญ มูลค่าทรัพย์สินยิ่งเพิ่มพูน
2. การใช้ราคาประเมินของกรมธนารักษ์ ทำให้เสียภาษีน้อยกว่าความเป็นจริงเข้าไปอีกเพราะราคาดังกล่าวมักต่ำกว่าราคาตลาด อันที่จริงควรให้ท้องถิ่นโดยเฉพาะแต่ละชุมรุมอาคารหรือชุมชนประเมินเองโดยใช้ราคาตลาดเป็นฐาน และให้ท้องถิ่นพึ่งตนเอง ถ้าเก็บภาษีได้มาก ก็จะพัฒนาท้องถิ่นได้มากขึ้น
3. ภาษีนี้เน้นการยกเว้นไม่เก็บ เช่นที่อยู่อาศัยราคา 50 ล้านแรกไม่เสียภาษี ซึ่งหากคิดตามราคาตลาด บ้านราคานับร้อยล้านก็ไม่ต้องเสียภาษี แล้วจะเก็บภาษีได้คุ้มค่าจัดเก็บหรือไม่ เมื่อภาษีไม่พอใช้ รัฐบาลก็อาจขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มอีก อันจะยังความเดือดร้อนให้กับทุกคนแม้แต่พวกที่ไม่มีทรัพย์สินติดตัวเลย
4. ภาษีนี้ไม่ช่วยในการแก้ปัญหาที่ดินเปล่าใจกลางเมืองที่ถูกปล่อยรกร้างไว้เพราะไม่ต้องเสียภาษี เจ้าของที่ดินรายใหญ่ก็ยังเก็บที่ดินไว้โดยแทบไม่ต้องเสียภาษีเลย ทำให้ตลาดที่ดินเป็นของผู้ขาย ราคาที่ดินใจกลางเมืองย่านติดรถไฟฟ้าบางแปลงจึงขึ้นถึงเกือบ 30% ต่อปี กรณีนี้ทำให้ประชาชนที่จะซื้อบ้านต้องซื้อบ้านแพงขึ้นเรื่อย หรือไม่ก็ต้องไปซื้อบ้านนอกเมือง ทำให้รัฐบาลต้องนำภาษีไปขยายถนนและสาธารณูปโภคต่างๆ และทำให้เมืองขยายตัวอย่างไม่มีที่สิ้นสุด เพราะการใช้ที่ดินขาดประสิทธิภาพจากการเก่งกำไรนั่นเอง
5. เจ้าที่ดินใหญ่ใจกลางเมืองหรือในชนบทก็อาจแสร้งทำการเกษตรในลักษณะเท่ๆ เช่นเป็น Urban Farming แสร้งว่าช่วยลดโลกร้อนได้ด้วย แต่อันที่จริงสามารถเลี่ยงภาษีได้มากกว่าที่ดินเปล่าถึง 1 ใน 10 อันที่จริงทางราชการควรเก็บภาษีตามราคาตลาดที่ดินในใจกลางเมืองหรือในเขตตรอเมืองที่มีมูลค่าสูงทใครจะใช้ทำการเกษตร รัฐก็ยังเก็บภาษีเช่นเดียวกับกรณีที่ดินเปล่า ก็ปิดช่องทางเลี่ยงภาษี ยกเว้นในบริเวณชานเมืองรอบนอกซึ่งรักหวังให้เป็นพื้นที่สีเขียวยกเว้นการเก็บภาษีในกรณีทำเกษตรกรรมส่วนผู้ที่จะแปลงที่ดินเกษตรกรรมมาพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ก็ควรเสียภาษีสูงเป็นพิเศษเพราะรัฐจะต้องจัดหาสาธารณูปโภคเพิ่มเติมให้ที่ดินเหล่านี้ในภายหลังด้วย
6. แต่ถ้าบุคคลใดอยากเลี่ยงการเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างก็หัดทำตามมาตรา 8 ข้อ 8 ของ พรบ. นี้ที่ระบุว่า “ทรัพย์สินของเอกชนเฉพาะส่วนที่ได้ยินยอมให้ทางราชการจัดให้ใช้เพื่อสาธารณประโยชน์ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขท่ีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประกาศกาหนด” เช่น “สวนชูวิทย์” มูลค่าตลาดประมาณ 5,000 ล้านบาท แต่ให้สาธารณชนได้ประโยชน์ในเวลากลางวัน หรือที่ดินเปล่าเจอกันเมืองแต่ให้เขียนใช้เป็นสนามฟุตบอลสำหรับเยาวชน (ชั่วคราว) ในระหว่างนั้นก็ไม่ต้องเสียภาษีสักบาทเดียว
7. การบริหารใน พรบ.นี้ เป็นแบบรัฐข้าราชการ เช่น คณะกรรมการวินิจฉัยภาษที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง คณะกรรมการภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างประจำจังหวัด ก็ล้วนแต่เป็นข้าราชการ ส่วนคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ การประเมินภาษีจังหวัด/กรุงเทพมหานคร ก็เป็นข้าราชการกันเกือบทั้งหมดยกเว้นผู้ทรงคุณวุฒิที่ทางราชการแต่งตั้ง 2 คน
พระราชบัญญัติฉบับนี้จึงไม่เหมาะสมและไม่ควรเกิดขึ้นหรือคุณได้รับการแก้ไขให้สอดคล้องกับนานาอารยะประเทศที่เคยไปดูงานมา เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติต่อไป
ที่มาภาพ : http://bit.ly/2T4srwh