มาดูราคาที่ดินติดรถไฟฟ้าสายสีชมพูว่ามีราคาเท่าไหร่บ้าง ว่ากันว่ารถไฟฟ้าสายนี้อันตราย เพราะอาจซ้ำรอยสายสีม่วงที่มีคนขึ้นน้อย
ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธาน ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส (www.area.co.th) ชี้ให้เห็นถึงราคาที่ดินตามแนวรถไฟฟ้าสายสีชมพู และรายละเอียดของรถไฟฟ้าสายนี้ โดย "รถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี เป็นโครงการระบบขนส่งมวลชนในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางราง ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ดำเนินการโดย บริษัท นอร์ทเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด ภายใต้สัญญาร่วมลงทุนโครงการและสัญญาสัมปทานกับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย" (https://bit.ly/1mzCf1e)
"ในโครงการนี้ได้รับการกำหนดให้ใช้ระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (monorail) เป็นระบบหลัก และเป็นหนึ่งในโครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้าในระบบรถไฟฟ้ามหานคร ในระยะแรกโครงการดังกล่าวมีระยะทางรวมทั้งสิ้น 27 กิโลเมตร แต่ต่อมาก็ได้มีการขยายต้นทางจากปากเกร็ดมายังแคราย เพื่อเชื่อมกับโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม ทำให้เส้นทางของโครงการเริ่มต้นที่ศูนย์ราชการจังหวัดนนทบุรี และสิ้นสุดที่มีนบุรี ระยะทางรวมประมาณ 34–36 กิโลเมตร"
"รถไฟฟ้าสายนี้เป็นระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว แบบวางคร่อมราง (straddle-beam monorail) ทางวิ่ง ยกระดับที่ความสูง 17 เมตรตลอดทั้งโครงการ มีรางที่ 3 ตีขนานไปกับรางวิ่งสำหรับจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับตัวรถ
ตัวรถได้เลือกใช้รถรุ่น Bombardier Innovia Monorail 300 เป็นรถปรับอากาศขนาดกว้าง 3.147 เมตร ยาว 11.8-13.2 เมตร สูงประมาณ 4.06 เมตร (เมื่อคร่อมรางทั้งหมด) ความจุ 356 คนต่อตู้ (คำนวณจากอัตราความหนาแน่นที่ 4 คน/ตารางเมตร) มีทั้งหมด 42 ขบวน 168 ตู้ ต่อพวงแบบ 4 ตู้ต่อขบวน ใช้ไฟฟ้ากระแสตรง 750 โวลท์ ป้อนระบบขับเคลื่อนรถ ขบวนรถสามารถขับเคลื่อนจากจุดจอดแต่ละสถานีได้เองโดยไม่ต้องใช้คนควบคุมหรือสั่งการ สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 24,100 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง"
"สถานีมีสถานีทั้งหมด 32 สถานี เป็นสถานียกระดับทั้งหมด ตัวสถานีมีความยาว 150 เมตร รองรับขบวนรถไฟฟ้าได้สูงสุด 8 ตู้ ต่อหนึ่งขบวน สถานีส่วนใหญ่ใช้รูปแบบชานชาลาด้านข้างทั้งหมด ยกเว้นสถานีอิมแพคชาเลนเจอร์ที่กำหนดให้ใช้สถานีรูปแบบชานชาลากลาง เพื่อเพิ่มพื้นที่บริเวณชานชาลาให้รองรับผู้โดยสารได้เป็นจำนวนมาก มีประตูกั้นชานชาลาความสูง Half-height ทุกสถานี ตัวสถานีถูกออกแบบให้หลบเลี่ยงสาธารณูปโภคทั้งบนดินและใต้ดิน รวมถึงออกแบบให้รักษาสภาพผิวจราจรบนถนนให้ได้มากที่สุด และมีเสายึดสถานีอยู่บริเวณเกาะกลางถนน และบริเวณพื้นที่ว่างในบางสถานี"
สำหรับราคาที่ดินเป็นดังนี้: | |
สถานี | ราคาที่ดิน บ/ตรว. |
แคราย | 250,000 |
สนามบินน้ำ | 200,000 |
สามัคคี | 200,000 |
กรมชลประทาน | 200,000 |
แยกปากเกร็ด | 220,000 |
เมืองทองธานี | 220,000 |
ศรีรัช | 220,000 |
แจ้งวัฒนะ 14 | 220,000 |
ศูนย์ราชการฯ | 220,000 |
ทีโอที | 220,000 |
หลักสี่ | 250,000 |
ราชภัฏพระนคร | 180,000 |
วัดพระศรีมหาธาตุ | 180,000 |
รามอินทรา 3 | 180,000 |
ลาดปลาเค้า | 180,000 |
รามอินทรา กม.4 | 180,000 |
มัยลาภ | 180,000 |
วัชรพล | 180,000 |
รามอินทรา กม.6 | 180,000 |
คู้บอน | 180,000 |
สินแพทย์ | 150,000 |
วงแหวนตะวันออก | 150,000 |
นพรัตน์ | 120,000 |
บางชัน | 120,000 |
เศรษฐบุตรบำเพ็ญ | 120,000 |
ตลาดมีนบุรี | 160,000 |
มีนบุรี | 160,000 |
สำหรับการเปลี่ยนแปลงราคาที่ดินในแต่ละสถานี เพิ่มขึ้นไม่มากประมาณ 5-10% ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมาเท่านั้น ในขณะที่ค่าเฉลี่ยทั่วกรุงเทพมหานครและปริมณฑลอยู่ที่ 7.9% ทั้งนี้มีแปลงตัวอยู่เป็นที่ตั้งของสถานีรถไฟฟ้าถึงประมาณ 130 สถานี
การสร้างที่อยู่อาศัยหรืออสังหาริมทรัพย์อื่นใดตามแนวรถไฟฟ้านี้อาจมีข้อจำกัดเพราะ
1. รถไฟฟ้าเส้นนี้ไม่ใช่รถไฟฟ้าขนาดใหญ่ เช่น BTS จึงขนส่งได้ไม่มากนัก
2. ประชากรในพื้นที่ยังไม่หนาแน่นมากนัก คล้ายรถไฟฟ้าสายสีม่วง
3. มีรถประจำทาง รถตู้เสริมในพื้นที่อยู่ตลอด
4. ไม่ใช่เส้นทางที่จะมีผู้สัญจรมาก ไม่เหมือนรถไฟฟ้าสายวิ่งเข้าเมือง
การลงทุนอสังหาริมทรัพย์ตามแนวรถไฟฟ้าสายสีชมพูจึงพึงสังวร