บลูมเบิร์ก "เต้าข่าว" ว่าไทยมีความทุกข์ยากน้อยที่สุด?
  AREA แถลง ฉบับที่ 221/2562: วันอังคารที่ 23 เมษายน 2562

ผู้แถลง: ดร.โสภณ พรโชคชัย
ประธาน ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย
บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส sopon@area.co.th https://www.facebook.com/dr.sopon4

            เราคนไทยก็อยากให้เมืองไทยมีความทุกข์ยากน้อยที่สุดในโลก  แต่กรณีที่เมื่อเร็วๆ นี้สำนักข่าวบลูมเบิร์ก บอกว่าว่าไทยมีความทุกข์ยากน้อยที่สุด โดยเสนอข่าวแบบนี้เป็นปีที่ 2 แล้ว นี่เป็นเรื่องเท็จโดยสิ้นเชิง ไม่แน่ว่าบลูม เบิร์ก (จงใจ) วิเคราะห์ผิดหรือ "ถูกซื้อ" ลองมาพิจารณากัน

            เมื่อเร็วๆ นี้มีข่าวว่าของบลูมเบิร์กว่า " The World's Most Miserable Economy Has Seven-Figure Inflation" (ประเทศสุดอนาถ บลูมเบิร์ก 18 เมษายน 2562 https://bloom.bg/2XuLpii) โดยระบุว่าไทยมีความอนาถหรือทุกข์ยากน้อยที่สุดในโลก ตามด้วยข่าว "นายกฯ พอใจ "บลูมเบิร์ก" ยกไทยอันดับ 1 ประเทศทุกข์ยากน้อยที่สุด" (ไทยรัฐ 20 เมษายน 2562 http://bit.ly/2Gt5a2Y) อย่างไรก็ตามข้อมูลทั้งในปีที่แล้วและปีนี้ได้จัดอันดับประเทศที่น่าอนาถที่สุดและที่ทุกข์ยากน้อยที่สุด จัดกลุ่มประเทศที่ใกล้เคียงกัน {1}  ในที่นี้จึงนำข้อมูลปี 2561 มาวิเคราะห์

            ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส (www.area.co.th) ฟังธงว่าการวิเคราะห์ของบลูมเบิร์กมั่วแน่นอน น่าจะมีความผิดพลาด ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่า ดร.โสภณ ไม่รักประเทศไทย ไม่ยินดีกับการเป็นอันดับ 1 ของประเทศที่มีความทุกข์ยากน้อยที่สุด  ดร.โสภณ ก็อยากให้ประเทศไทย ซึ่งก็หมายถึงประชาชนไทยโดยเฉพาะประชาชนคนเล็กคนน้อยมีความสุข  เพียงแต่การวิเคราะห์ของ บลูมเบิร์ก ไม่ตรงความจริง

            ดร.โสภณได้นำข้อมูลของ บลูมเบิร์ก จัดอันดับ 1-10 ของที่ทุกข์ยากน้อยที่สุดและที่ทุกข์ยากมากที่สุด (ไม่ปรากฏว่ามีข้อมูลทั้งชุด) โดยนำข้อมูลอื่นมาวิเคราะห์เปรียบเทียบ ได้แก่ ดัชนีการทุจริต/โปร่งใส ดัชนีอาชญากรรม  ค่าครองชีพ ภาวะเงินเฟ้อ ดัชนีการฆาตกรรม ดัชนีความเสี่ยงของประเทศ ในแต่ละประเทศ {2} ผลการวิเคราะห์ตัวเลขความทุกข์ยากด้วยตัวแปร/ดัชนี 6 อันข้างต้น ด้วย Simple Regression Analysis โดยให้ความทุกข์ยากเป็นตัวแปรตาม และแต่ละตัวแปรทั้ง 6 เป็นตัวแปรอิสระ ปรากฏว่า ค่า Adjusted R Square ต่ำมาก แสดงให้เห็นชัดว่า ไม่มีความสัมพันธ์เชิงตัวแปรกันเลย  แสดงว่าดัชนีความทุกข์ยากของบลูมเบิร์กมั่วมาอย่างชัดเจน {3}

            ยิ่งเมื่อนำกลุ่มประเทศเฉพาะที่ว่ามีความทุกข์ยากน้อยมาวิเคราะห์ประกอบด้วย Correlation Matrix อย่างง่าย {4} ก็จะพบว่า เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้เลยที่ประเทศไทยที่ว่าทุกข์ยากน้อยที่สุด กลับมีดัชนีความโปร่งใสแค่ 37 เต็ม 100  มีระดับอาชญากรรมที่สูง และมีอัตราการฆาตกรรมสูง และมีความเสี่ยงของประเทศที่สูง (ได้คะแนน 59.7 เต็ม 100) ส่วนเรื่องค่าครองชีพและเงินเฟ้อต่ำนั้น อาจไม่ใช่ดัชนีที่หนักแน่นเพียงพอต่อความทุกข์ยาก

            ดังนั้นจึงอาจอนุมานได้ว่าตัวเลขของ บลูมเบิร์ก จึงไม่น่าจะเชื่อถือได้เท่าที่ควร  แต่ทั้งนี้สำนักข่าวระดับโลกกลับทำการประหนึ่ง "ลวงโลก" เช่นนี้ เพราะไม่น่าจะวิเคราะห์ได้ผิดพลาดถึงเพียงนี้ จึงอาจทำให้สังคมเกิดคำถามได้ว่าบลูมเบิร์กถูกจ้างให้ "เต้าข่าว" เพื่อผลทางการเมืองหรือไม่  ยิ่งกว่านั้นตัวเลขผิดๆ ยังอาจทำให้เกิดความเข้าใจผิด นำไปสู่การวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจที่ผิดพลาด และพาประเทศชาติ "ลงเหว" ได้ในที่สุด

 

 

ชมคลิป fb video : http://bit.ly/2ISaP59

 

 

หมายเหตุ

{1}        ข้อมูลของปี 2561 และ 2562 เป็นดังนี้:

            ประเทศที่น่าอนาถที่สุด (ที่มา: https://bloom.bg/2XuLpii)

 

ประเทศที่ทุกข์ยากน้อยที่สุด (ที่มา: https://bloom.bg/2XuLpii)

 

{2}        ข้อมูลของ บลูมเบิร์ก จัดอันดับ 1-10 ของที่ทุกข์ยากน้อยที่สุดและที่ทุกข์ยากมากที่สุด (Miserable https://bloom.bg/2BZ5shV)  แต่ไม่ปรากฏว่ามีข้อมูลทั้งชุด  ดร.โสภณ จึงนำข้อมูลอื่นมาประกอบการวิเคราะห์ได้แก่:

            1. ดัชนีการทุจริต/โปร่งใส Corruption Perception Index (http://bit.ly/2j3Y63K)

            2. ดัชนีอาชญากรรม (Crime) ในแต่ละประเทศ (http://bit.ly/2dRWb0Y)

            3. ค่าครองชีพ (Costs of Living) ในแต่ละประเทศ (http://bit.ly/2legFDr)

            4. ภาวะเงินเฟ้อ (Inflation) ในแต่ละประเทศ (http://bit.ly/2EB3shQ)

            5. ดัชนีการฆาตกรรม (Homicide) ในแต่ละประเทศ (http://bit.ly/1baalwg) และ

            6. ดัชนีความเสี่ยงของประเทศ (Country Risk) ในแต่ละประเทศ (http://bit.ly/2CrXsC1)

 

{3}        จากการวิเคราะห์ด้วย Simple Regression Analysis โดยความสัมพันธ์เชิงตัวแปรในค่า Adjusted R Square ของดัชนีความทุกข์ยาก กับดัชนีอื่นเป็นดังนี้:

            1. ดัชนีการทุจริต/โปร่งใส มีค่า Adjusted R Square เท่ากับ 0.383477

            2. ดัชนีอาชญากรรม มีค่า Adjusted R Square เท่ากับ 0.533329

            3. ค่าครองชีพ มีค่า Adjusted R Square เท่ากับ 0.375025

            4. ภาวะเงินเฟ้อ มีค่า Adjusted R Square เท่ากับ 0.012248

            5. ดัชนีการฆาตกรรม มีค่า Adjusted R Square เท่ากับ 0.264251

            6. ดัชนีความเสี่ยงของประเทศ มีค่า Adjusted R Square เท่ากับ 0.066282292

            การวิเคราะห์ซึ่งจะพบว่า การที่ค่า Adjusted R Square ต่ำกว่า 1 เป็นอย่างมาก แสดงว่าไม่มีนัยสำคัญของความสัมพันธ์เชิงตัวแปรเท่าที่ควร  ดัชนีความทุกข์ยาก จึงไม่มีส่วนสัมพันธ์กับดัชนีอื่น กล่าวคือความทุกข์ยากน้อย กลับไม่สัมพันธ์กับการทุจริต อาชญากรรม ค่าครองชีพ เงินเฟ้อ อัตราการฆาตกรรม และดัชนีความเสี่ยงของประเทศ แสดงว่าดัชนีความทุกข์ยาก เป็นตัวเลขที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง

 

 

{4}        การวิเคราะห์อย่างง่ายด้วย Correlation Matrix

 

 

 

 

อ่าน 4,534 คน
2024 Copyright © by area.co.th All Rights Reserved