ชินกันเซ็น เลี้ยวโค้งได้: ฉะเชิงเทราต้องไม่สร้างสถานีใหม่
  AREA แถลง ฉบับที่ 280/2562: วันศุกร์ที่ 24 พฤษภาคม 2562

ผู้แถลง: ดร.โสภณ พรโชคชัย
ประธาน ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย
บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส sopon@area.co.th https://www.facebook.com/dr.sopon4

            กรณีสถานีรถไฟความเร็วปานกลางฉะเชิงเทรา ต้องสร้างสถานีใหม่เพราะเป็นรถไฟความเร็วปานกลาง เป็นสิ่งที่ “ไร้เหตุผลสิ้นดี” เพราะในญี่ปุ่น เขาทำให้รถไฟฟ้าความเร็วสูงวิ่งโค้งเข้าเมืองได้

            ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธาน ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย (www.area.co.th) ชี้ให้เห็นว่า แนวรถไฟฟ้าความเร็วปานกลางของไทยสามารถเลี้ยวโค้งได้ โดยดูจากประสบการณ์ของประเทศญี่ปุ่นที่เขาพัฒนา “ชินกันเซ็น” ซึ่งเป็นรถไฟความเร็วสูง (มาก) ก็ยังสามารถเลี้ยวโค้งตอนเข้าเมืองเลย และยังสามารถตีโค้งไปมา ทะลุระหว่างภูเขา โดยไม่ต้องสร้างเป็นเส้นตรงก็ได้

            1. ในกรณีนครเซ็นไดหรือนครอีกหลายแห่ง ปรากฏว่ารถไฟชินกันเซ็น Tohoku (https://bit.ly/2Epy7g0) ซึ่งวิ่งด้วยความเร็ว 300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง สามารถเลี้ยวเข้าใจกลางเมืองโดยไม่ต้องไปสร้างสถานีใหม่นอกเมืองเหมือนที่จะเกิดขึ้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา เพราะในระหว่างเข้าเมือง รถจะวิ่งด้วยความเร็วต่ำอยู่แล้ว

 

 

 

 

 

ดูกันชัดๆ ชินกันเซ็น (ทางรถไฟยกระดับอันบนสุด) สายนี้ที่ปกติมีความเร็ว 300 กม./ชม. แต่ตอนวิ่งเข้าเมืองเซ็นได กลับโค้งอ้อมตึกเข้าสู่สถานีใจกลางเมืองโดยไม่ต้องไปสร้างสถานีใหม่

 

            2. ชินกันเซ็นสาย Yamakata ที่ใช้ความเร็วปานกลางประมาณ 130 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (https://bit.ly/2YP4koJ: ที่วิ่งด้วยความเร็วต่ำกว่าสายอื่นเพราะเป็นสายระยะสั้น) เป็นสายที่มีความโค้งไปมามากเป็นพิเศษ ก็ยังสามารถดำเนินการในความเร็วระดับนี้ได้ (โปรดดูภาพ)

 

 

            ยิ่งกว่านั้นรถไฟฟ้าชินกันเซ็นสาย Sanyo (https://bit.ly/2HButBL) ก็วิ่งด้วยความเร็ว 300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แม้จะเป็นเส้นทางโค้งไปมาก็ตาม แสดงว่ารถไฟ้าความเร็วสูงไม่จำเป็นต้องใช้ทางตัดตรงเสมอไปตามที่คนไทยเข้าใจ

 

ที่มาของรูปภาพ https://bit.ly/2HButBL

 

            3. รถไฟความเร็วสูงที่ผ่านแทบทุกเมืองจะใช้สถานีเดียวกับสถานีในปัจจุบันที่เป็นรถไฟความเร็วต่ำหรือความเร็วปานกลาง จะไม่สร้างสถานีใหม่ เช่นในกรณีฉะเชิงเทรา และจะไม่กันแนวเขตแยกเมืองออกเป็น 2 ส่วนอย่างกรณีผ่านเมืองบ้านโป่ง ราชบุรี และอื่นๆ แต่จะสร้างเป็นทางยกระดับขึ้นแทน จะได้ไม่เป็นปัญหาในระยะยาวแก่ประชาชนที่ต้องไปต่อรถระหว่างสถานี ทางแก้ที่ไม่เหมาะสมในกรณีประเทศไทยก็คือการสร้างที่กลับรถเกือกม้าในเมือง หรือสร้างอุโมงค์เป็น “รู” เล็กๆ ให้ประชาชนสัญจรใต้ทางรถไฟที่วางอยู่บนพื้นดิน

            จากประสบการณ์ของญี่ปุ่นนี้ จึงชี้ให้เห็นว่าการสร้างรถไฟความเร็วสูงด้วยการเวนคืนที่ดินสร้างสถานีและเส้นทางใหม่เช่นที่จะเกิดขึ้นในกรณีฉะเชิงเทราหรือเมืองอื่นในอนาคตนั้น เป็นแนวคิดที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงและจะเป็นการสร้างปัญหาให้กับประชาชนและประเทศชาติในระยะยาวนั่นเอง  รถไฟเชื่อม 3 สนามบินของไทยที่วิ่งด้วยความเร็ว 160-300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (https://bit.ly/2qQEzVG) จึงไม่มีความจำเป็นต้องสร้างสถานีใหม่ให้สิ้นเปลืองงบประมาณแต่อย่างใด

 

ที่มาของรูป: http://www.thansettakij.com/content/287269

 

รฟท.ปดว่ารถไฟความเร็วสูงตีโค้งยาก มาดูชินกันเซ็น https://www.facebook.com/324821724297087/posts/2102508873195021
อ่าน 4,724 คน
2024 Copyright © by area.co.th All Rights Reserved