ในการก่อสร้างสาธารณูปโภคต่างๆ เช่น รถไฟ บางทีอาจต้องย้ายโบราณสถาน หากกีดขวาง การนี้ไม่ใช่ไม่เคารพโบราณสถาน แต่เพื่อความสง่างามยั่งยืน และไม่ให้ “คนตายขายคนเป็น”
มหาวิหารของอียิปต์โบราณ ตั้งอยู่ทางใต้ของอียิปต์ ริมฝั่งตะวันตกของทะเลสาบนัสซอร์
สร้างขึ้นโดยการเจาะและแกะสลักเข้าไปในภูเขาหิน ที่มา: https://bit.ly/2KZ3GkF
ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย (www.area.co.th) ให้ข้อคิดว่าในการก่อสร้างสาธารณูปโภคต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นรถไฟ เขื่อน ฯลฯ เพื่อความอยู่ดีกินดีของประชาชนและสังคมโดยรวมนั้น บางครั้งโบราณสถานหรือสถานที่สำคัญๆ ต่างๆ ก็สามารถรื้อย้ายไปสร้างยังที่ใหม่ได้ การนี้ไม่ถือเป็นการลืมรากเหง้า ไม่ถือเป็นการ “หมิ่น” หรือไม่เคารพโบราณสถาน
ในทางตรงกันข้ามการบางทีบางคนก็ไม่กล้าแตะต้อง ต้องย้ายสาธารณูปโภคหนีเพียงเพราะกลัวเกิดทัศนะอุจาดกับโบราณสถาน ทำให้สิ้นเปลืองเงินทองของประชาชน ทำให้ประชาชนยากจนลง อันที่จริงโบราณสถานทั้งหลายย้ายไปตั้งที่ใหม่ได้ตามความเหมาะสมเพื่อให้เกิดความสง่างามยั่งยืน และไม่ให้ “คนตายขายคนเป็น” คือการระลึกถึงบรรพบุรุษ ไม่ใช่ต้องสร้างความเดือดร้อนแก่ชนรุ่นหลัง
ตัวอย่างที่เห็นชัดในประเทศไทย ก็มี เช่น การย้ายอำเภอแม่เมาะทั้งอำเภอ ทั้งบ้าน ทั้งวัดและสถานที่ราชการไปตั้งที่ใหม่ เป็นต้น ในประว้ติศาสตร์โลกก็มีคือ “อะบูซิมเบล” ซึ่งเป็นมหาวิหารของอียิปต์โบราณอันประกอบขึ้นจากหินขนาดใหญ่สองก้อน มีลักษณะเป็นรูปปั้นองค์ฟาโรห์ทั้งสี่ ส่วนองค์ที่สองถล่มลงเนื่องจากแผ่นดินไหว ตั้งอยู่ทางใต้ของอียิปต์ บนริมฝั่งตะวันตกของทะเลสาบนัสซอร์. . . (https://bit.ly/2A8ug53)
ในวิกิพีเพียยังกล่าวว่า “อย่างไรก็ตามมหาวิหารทั้งหมดถูกเคลื่อนย้ายโดยคณะวิศวกรจากสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งใช้เวลาตลอดทั้งทศวรรษที่ 1960 เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาน้ำท่วมจากการสร้างเขื่อนอัสวาน อันจะส่งผลให้มหาวิหารและโบราณสถานที่รายรอบอยู่ต้องจมอยู่ก้นทะเลสาบนัสซอร์ ปัจจุบันมหาวิหารเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมอย่างมากและโด่งดังแห่งหนึ่งของอียิปต์ . . .”
มหาวิหารแห่งนี้เก่าแก่มากกว่าโบราณสถานใดๆ ในประเทศไทย เช่น พระปรางค์สามยอด โดยการก่อสร้างของมหาวิหารทั้งหมดเริ่มต้นขึ้นประมาณปี 1224 ก่อนคริศตกาล (3,241 ปี นับถึงปี 2562) มหาวิหารนี้ก็คล้ายกับพระปรางค์สามยอดและโบราณสถานอื่นๆ ที่ถูกทิ้งร้างไร้ผู้สนใจจนถึง พ.ศ.2356 (206 ปีที่แล้ว) ที่เพิ่งค้นพบอีกที “. . .ชื่อ "อะบูซิมเบล" มาจากชื่อของเด็กท้องถิ่นที่เคยนำชมมหาวิหารในช่วงที่มีการสำรวจอีกครั้ง ซึ่งเขาเป็นผู้ค้นพบส่วนที่ถูกฝังของมหาวิหารที่เหลือ. . .” แสดงให้เห็นว่าชื่อวิหารที่แท้ตอนก่อสร้างก็แทบไม่มีความหมายใดๆ
การย้ายมหาวิหารนี้เป็นเงินสูงถึง 200 ล้านโครนา (SEK) หรือ 656 ล้านบาท แต่ถ้าเป็นในวันนี้จะเป็นเงิน 1,700 โครนา (SEK) หรือ 5,576 ล้านบาท) (https://bit.ly/2MRj5WH) การย้ายทำให้เกิดความยั่งยืนเพราะได้วางแผนให้เป็นที่ตั้งที่เหมาะสม และหลังจากนั้นก็ยังมีนักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวมากขึ้น ถือได้ว่ามากกว่าแต่ก่อนด้วยซ้ำไป กล่าวได้ว่าการย้ายที่ตั้งของมหาวิหารนี้ ยิ่งดึงดูดให้มีการท่องเที่ยวมากขึ้น
ดังนั้นในการเวนคืนหรือทำการใดๆ เพื่อสาธารณประโยชน์ โบราณสถานใด ๆ ก็สามารถเคลื่อนย้ายได้ ไช่ว่าต้องยึดติดอยู่แต่ที่เดิม แนวคิดคร่ำครึที่ห้ามแตะต้องแบบนี้ เป็นแนวคิดแบบกฎุมพีที่ไม่ได้เห็นแก่ประโยชน์ของส่วนรวมเป็นที่ตั้ง
อนึ่งในโลกนี้ยังมีการย้ายโบราณสถานอีกมากมายหลายแห่ง (https://bit.ly/2XoQuw7) ได้แก่:
1. THE TEMPLE OF DENDUR // NEW YORK, NEW YORK
2. LONDON BRIDGE // LAKE HAVASU CITY, ARIZONA
3. COOK’S COTTAGE // MELBOURNE, AUSTRALIA
4. BELLE TOUT LIGHTHOUSE // BEACHY HEAD, UK
5. HAMILTON GRANGE // NEW YORK, NEW YORK
6. NEWARK LIBERTY INTERNATIONAL AIRPORT BUILDING 51 // NEWARK, NEW JERSEY
7. THE ABU SIMBEL TEMPLES // ABU SIMBEL, EGYPT
8. ST. BERNARD DE CLAIRVAUX CHURCH // MIAMI, FLORID