จ่าย ‘นุสรา สุขหน้าไม้’ เสียแบรนด์ ‘คิง เพาเวอร์’
  AREA แถลง ฉบับที่ 494/2562: วันพุธที่ 25 กันยายน 2562

ผู้แถลง: ดร.โสภณ พรโชคชัย
ประธาน ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย
บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส sopon@area.co.th https://www.facebook.com/dr.sopon4

            กรณีญาติของ ‘นุสรา สุขหน้าไม้’ ฟ้อง ‘คิง เพาเวอร์’ 300 ล้าน อาจเป็นการสะท้อนปัญหาแบรนด์ของ ‘คิงเพาเวอร์’ ตามหลักคิดของ CSR

            เมื่อเร็วๆ นี้ ญาติของ ‘นุสรา สุขหน้าไม้’ ได้เดินทางมายังศาลแพ่งเมื่อวันที่ 23 ก.ย. ที่ผ่านมา เพื่อเรียกร้องให้ ผจก.มรดก และกลุ่มบริษัทคิง เพาเวอร์ ชดใช้เงินเยียวยาในการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักจากเหตุการณ์ดังกล่าวจำนวน 300 ล้านบาท (https://bit.ly/2n2LBZc) โดยได้บรรยายเพิ่มว่า “ตั้งแต่เกิดเหตุจนถึงปัจจุบัน ทายาทของ น.ส.นุสรา สุขหน้าไม้ ได้รับการช่วยเหลือจากบริษัทคิง เพาเวอร์ฯ แค่ค่าจัดงานศพ วันละ 15,000 บาท เป็นเวลา 5 วันและเงินใส่ซองถวายพระ 5 คืนไม่ทราบจำนวน” (https://bit.ly/2n3PBIU)

            อย่างไรก็ตาม ‘คิง เพาเวอร์’ โต้ว่า “ได้จ่ายเงินช่วยเหลือตามที่กฎหมายกำหนด และเสนอให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย ที่จำเป็นแก่ครอบครัวของคุณนุสรา สุขหน้าไม้ รวมถึงความช่วยเหลือในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน จากบริษัทประกันภัย อย่างไรก็ตาม ครอบครัวของคุณนุสรา. . .ปฏิเสธที่จะรับความช่วยเหลือทางกฎหมายอื่นที่บริษัทได้เสนอไปและในเดือนธันวาคมปี 2561 ทาง คิง เพาเวอร์ ยังได้เสนอความช่วยเหลือทางการเงิน เพื่อช่วยเหลือทางมนุษยธรรมให้แก่ครอบครัวของคุณนุสรา สุขหน้าไม้ แต่ทางครอบครัวได้ปฏิเสธ. . .รวมถึง ยังปฏิเสธข้อเสนอของบริษัทประกันภัย สำหรับการจ่ายเงินจ่ายล่วงหน้าค่าสินไหมทดแทน จำนวน 25,000 เหรียญสหรัฐฯ” (https://bit.ly/2mBpA3b)

            ในอีกด้าหนึ่งทนายความของผู้ฟ้องยังกล่าวว่า “(คิง เพาเวอร์) ครั้งแรกได้ยื่นข้อเสนอว่าจะเยียวยาให้เรา 25,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ. . .แต่เราต้องสละสิทธิ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับกรมธรรม์ประกันภัยจากอุบัติเหตุเฮลิคอปเตอร์ตก. . .ช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมา. . .คิง เพาเวอร์ฯ ไม่ได้ทำการชดใช้เยียวยาค่าเสียหายให้แก่พ่อและแม่ของ น.ส.นุสรา แต่อย่างใด. . .พร้อมกับให้ครอบครัวคุณนุสรา เซ็นหนังสือเพื่อสละสิทธิ์การเรียกร้องใด ๆ ตามกฎหมายต่าง ๆ จึงทำเกิดคำถามขึ้นว่า เจตนาที่แท้จริงเป็นอย่างไร”

            กรณีนี้ ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส (www.area.co.th) ในฐานะผู้สอนระดับปริญญาเอกด้านความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR: Corporate Social Responsibility) และเป็นผู้เขียนหนังสือ “CSR ที่แท้” (https://bit.ly/2IIJodP ซึ่งเป็นหนังสือประกอบการบรรยายและสามารถ download  ได้ฟรี) ให้ความเห็นต่อการเยียวยาพนักงานว่า ควรที่จะดำเนินการให้มากกว่านี้  การจ่ายน้อยเกินไป เป็นการทำลายแบรนด์ของตนเอง  กรณีพนักงานเสียชีวิต บริษัทควรจ่ายสด ๆ นับแสนบาท หากเป็นบริษัทขนาดยักษ์เช่น ‘คิง เพาเวอร์’ ยิ่งน่าจะจ่ายนับล้านๆ บาท  อย่างกรณี “‘เสี่ยเบนซ์’”เยียวยา 45 ล้าน ชน “พ.ต.ท.-ภรรยา”เสียชีวิต” (https://bit.ly/2lmMXh3)

            การมี CSR นั้น ประกอบด้วยกิจกรรม 3 ประการคือ ประการแรกต้องทำการที่ถูกต้องตามกฎหมาย ถ้าทำผิดกฎหมาย เช่น ฉ้อโกง หรือมีความผิดทางอาญา ก็ไม่ถือว่ามี CSR ประการที่สอง ต้องมีมาตรฐานและจรรยาบรรณที่ดีไม่ว่าจะเป็นในฐานะนักบริหาร เช่น ท่านนายกฯ หรือในฐานะนักวิชาชีพใดๆ ก็ตาม และประการสุดท้ายก็คือการบริจาค เราจะบอกว่าเราเป็นคนดี ทำดี มีความรับผิดชอบต่อสังคมยังไงก็ตาม แต่ถ้าไม่ได้ “ควัก” เงินจ่ายเสียเลย หรือจ่ายน้อยเกินไปก็อาจเป็นที่ครหา และทำให้เสียชื่อเสียง หรือทำลายแบรนด์ของตัวเองได้

            ตัวอย่างเช่น ในกรณีการไปงานศพและต้องบริจาคช่วยงานเจ้าภาพ หาก ดร.โสภณ ใส่ซองไป 300-500 บาท ก็คงถูกติฉินนินทาได้ว่าใจแคบ อย่างน้อยก็ต้อง 1,000 บาทขึ้นไป  ยิ่งถ้าไปงานแต่งงาน ในฐานะเจ้าของกิจการ ก็ต้องใส่อย่างน้อย 2,000 - 5,000 บาท  ยิ่งในกรณีเพื่อนร่วมงาน (พนักงาน) ของ ดร.โสภณ ยังได้ซองพิเศษอีก 10,000 บาท ถ้าคนสองคนภายในบริษัทแต่งงานกันเอง ก็ได้รับ 20,000 บาท เป็นต้น  แต่ถ้าสำหรับเพื่อนร่วมงานที่เพิ่งจบใหม่ อาจใส่ซองแค่ 500 บาท ก็นับว่าใช้ได้แล้ว เป็นต้น

            ที่ผ่านมาเคยมีข่าว “เหยาเหมิง” นักบาส NBA ชื่อดังชาวจีน บริจาคเงินช่วยแผ่นดินไหวที่เสฉวนในปี 2551 แค่ 500,000 หยวน (2.5 ล้านบาท) เลยถูกคนครหามาก แต่ภายหลังก็ว่าได้บริจาคไปรวมถึง 2 ล้านหยวน (10 ล้านบาท https://on.china.cn/2kRqEzs) หรือในปี 2547 บอล-ภราดรบริจาคช่วยสึนามิในตอนแรก 10,000 บาท และได้รับเสียงวิพากษ์วิจารณ์ในสังคม แต่ต่อมาก็บริจาคเงินอีก 1 ล้านบาท (https://bit.ly/2mlB8HV) เป็นต้น  การบริจาคจึงมีขีดคั่นที่ชัดเจนสำหรับแต่ละบุคคล

            ดังนั้นในระดับ ‘คิง เพาเวอร์’ จ่ายน้อยเกินควร ทำให้มีการฟ้องร้องเกิดขึ้น ก็ทำให้ภาพพจน์หรือแบรนด์ของบริษัทได้รับผลกระทบแล้ว

            การให้ก็เป็นองค์ประกอบหนึ่งของ CSR แม้ไม่ใช่องค์ประกอบอันดับหนึ่ง แต่ก็ขาดไม่ได้

อ่าน 11,678 คน
2024 Copyright © by area.co.th All Rights Reserved