ฟัง ดร.โสภณ รศ.อภิญญา และ “หนูดี” พูดถึงคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในวาระครบรอบ 66 ปี
ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส (www.area.co.th) ในฐานะศิษย์เก่าคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ไปร่วมงานครบรอบ 66 ปี คณะสังคมสงเคราะห์ ณ สนามฟุตบอล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ และได้พูดในรายการ “SW Talk” โดยมีผู้พูดประกอบด้วย “ดร. โสภณ พรโชคชัย นักวิชาการด้านอสังหาริมทรัพย์, รศ.อภิญญา เวชยะชัย สภาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ฯ และนางสาวจิตชนก ต๊ะวิชัย (หนูดี) เกษตรกรรุ่นใหม่”
ในส่วนของ ดร.โสภณ นั้น กล่าวว่าตนเองนั่งรถจักรยานยนต์ 200 บาทมาจากที่ทำงานเพราะกลัวรถติด เนื่องจากก่อนหน้าที่จะมาพูด ต้องทานมื้อค่ำรวมญาติกับครอบครัวในวันส่งท้ายปีก่อนตรุษจีน จึงทานแต่หัวค่ำ และรีบมา ขับรถก็กลัวไม่ทัน อันทีจริงนั่งแท็กซี่ก็อาจไม่ถึงเพราะเสี่ยงอันตราย แต่ก็ยินดีที่จะมาบรรยาย
ดร.โสภณ จบสังคมสงเคราะห์แล้วได้ไปทำงานที่สถาบันวิจัยสังคม จุฬาฯ ในโครงการคล้ายบัณฑิตอาสา แต่ก็ทำไม่ได้นาน ก็ออกไปทำงานอื่นและเรียนต่อจบจบปริญญาเอกด้านการวางแผนพัฒนาเมืองที่สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ตามรอย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. จิตติ มงคลชัยอรัญญา อดีตคณบดี และเรียนการประเมินค่าทรัพย์สินที่สถาบันนโยบายที่ดินลินคอล์น และการพัฒนาที่อยู่อาศัยที่มหาวิทยาลัยคาธอลิกลูแวง เบลเยียมอีกด้วย ได้ตั้งบริษัทของตนเองมาราว 30 ปีแล้ว ยังเคยเป็นผู้เชี่ยวชาญในโครงการของธนาคารโลก ADB UNESCAP UNHabitat และอื่นๆ และยังเป็นที่ปรึกษากระทรวงการคลังเวียดนาม อินโดนีเซีย กัมพูชาและอื่นๆ รวมทั้งเป็นอาจารย์สอนที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ธรรมศาสตร์ จุฬา และคณะบัญชี ธรรมศาสตร์ และที่อื่นๆ ทั้งในและต่างประเทศ
ตอนทำงานที่จุฬาฯ ในปี 2523 ดร.โสภณ รู้จักกับท่าน รศ.อภิญญา ซึ่งขณะนั้นท่านยังเคยขอความเห็นเกี่ยวกับการมาเรียนปริญญาโทที่สังคมสงเคราะห์ศาสตร์ ซึ่ง ดร.โสภณ ก็สนับสนุน นับเป็นโชคดีของคณะของเราที่ได้อาจารย์ดีๆ เก่งๆ อย่าง รศ.อภิญญามาเรียนและมาเป็นอาจารย์ ช่วยกันพัฒนาคณะของเรา
ดร.โสภณมีเพื่อนร่วมงาน (พนักงาน) 120 คน มีภาระต้องจ่ายค่าจ้างเดือนละประมาณ 4 ล้านบาท ในฐานะนักสังคมสงเคราะห์ได้ให้คำปรึกษา (Counseling) แก่พนักงาน ดูแลเป็นอย่างดี ขึ้นเงินเดือนปีละ 2 ครั้ง จ่ายโบนัสทุกปี ไม่ว่าจะเป็นปีวิกฤติเศรษฐกิจใดๆ หรือไม่ก็ตาม ดร.โสภณ ยังเป็นกรรมการและอดีตรองประธานสภาองค์กาารนายจ้างแห่งประเทศไทย กรรมการหอการค้าไทยสาขาจรรยาบรรณ และเป็นผู้เขียนหนังสือ “CSR ที่แท้” ซึ่งใช้ประกอบการสอนด้าน Soft Laws ในหลักสูตรปริญญาเอกที่นิด้าอีกด้วย
สำหรับพัฒนาการวิชาชีพสังคมสงเคราะห์นั้น นอกจากได้รับใบประกอบวิชาชีพแล้ว ยังต้องพัฒนาวิชาชีพต่อไป เช่น แบ่งระดับ เป็นระดับวิสามัญ ระดับสามัญ ระดับวุฒิ และมีการประกันทางวิชาชีพ เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม อันจะเป็นการสร้างแบรนด์ สร้างความน่าเชื่อถือแก่สังคมอีกด้วย
โปรดดูเพิ่มเติมที่ จากนักสังคมสงเคราะห์สู่นักอสังหาริมทรัพย์ AREA แถลง ฉบับที่ 49/2563: วันศุกร์ที่ 24 มกราคม 2563 https://bit.ly/30OUPbf
โปรดดู