ต้นไม้ต่างๆ นั้นจะสามารถประเมินค่า ประเมินมูลค่าหรือประเมินราคากันอย่างไรตามมาตรฐานสากลในฐานะที่ต้นไม้เป็นทรัพย์สิน เป็นหลักประกัน เป็นการลงทุนและเป็นสินทรัพย์สำหรับบริษัทมหาชนในตลาดหลักทรัพย์ ดร.โสภณมีคำตอบ
ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส (www.area.co.th) กล่าวว่าการประเมินราคาต้นไม้ ถือเป็นศาสตร์และศิลป์หนึ่งของการประเมินค่าทรัพย์สินในฐานะที่ต้นไม้ก็เป็นทรัพย์ประเภทหนึ่งที่สามารถประเมินค่าได้ ที่ผ่านมาศูนย์ข้อมูลฯ ได้ประเมินค่าต้นไม้ทั้งในและต่างประเทศ
ที่ผ่านมา ดร.โสภณ และศูนย์ข้อมูลฯ ได้ประเมินค่าไม้สักว่ามีหลักการอย่างไร ประสบการณ์ที่ผ่านมามีทั้งการประเมินสวนยางพารา สวนปาล์ม ต้นกฤษณา สวนลิ้นจี่ ฯลฯ นอกจากนี้ยังได้สร้างโมเดลประเมินราคาค่า "สวนยางพารา" กำหนดราคาไม้ขุดล้อมโดยพิจารณาถึงธุรกิจไม้ขุดล้อมและการประเมินค่าทรัพย์สิน เป็นต้น ดร.โสภณ พรโชคชัย ในฐานะเลขานุการคณะทำงานไม้ขุดล้อม มูลนิธิประเมินค่า-นายหน้าอสังหาริมทรัพย์แห่งประเทศไทย และคณะได้จัดทำราคากลางไม้ขุดล้อม ต.ชะอม อ.แก่งคอย จ.สระบุรี และราคาต้นไม้ซึ่งมีทั้งไม้ผล ไม้ดอก ไม้ประดับแห่งบ้านดงบังอีกด้วย
สำหรับองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติที่ ดร.โสภณ เคยเป็นที่ปรึกษานั้น มีมาตรฐานการประเมินค่าป่าไม้เช่นกัน การประเมินค่าตามคำแนะนำของ FAO เน้นถึง
1. ถ้ามีราคาตลาด ก็ต้องดูว่าราคานั้นต้องตามความประสงค์จะซื้อ (Willingness to pay) หรือไม่ ไม่ใช่ราคาของผู้จะขายถ่ายเดียว
2. ถ้ามีราคาตลาด แต่ว่าราคานั้นไม่ต้องตามความประสงค์จะซื้อ ก็ต้องวิเคราะห์ถึง “ราคาเงา” (Shadow price) ที่น่าจะใกล้เคียงราคาตลาดที่สุด
3. ถ้าไม่มีราคาตลาด แต่มีสิ่งที่ใช้ประมาณการแทนมูลค่าตลาดได้ ก็สามารถวิเคราะห์ “ราคาเงา” ได้
4. ถ้าไม่มีราคาตลาด และไม่มีสิ่งที่ใช้ประมาณการแทนมูลค่าตลาดได้ ก็อาจใช้วิธีต้นทุนหรืออื่นๆ
ส่วนในประเทศญี่ปุ่นก็มีมาตรฐานการประเมินค่าต้นไม้ หรือป่าไม้เช่นกัน หลักการในเบื้องต้นนั้น:
1. พิจารณาจากผลประโยชน์ซึ่งประเมินค่าเป็นตัวเงินที่จะได้รับจากต้นไม้และผืนป่า และอีกแนวทางหนึ่งก็คือการประเมินด้วยวิธีต้นทุนของการสร้างผืนป่าขึ้นมาทดแทนใหม่
2. ป่าประกอบด้วยที่ดินและต้นไม้ ในแง่หนึ่งเราจึงควรแยกมูลค่าของผลิตภัณฑ์ที่ได้จากไม้ เช่น ซุง ออกมาให้เห็นชัดเจนด้วย
3. มูลค่ามาจากการพิจารณาราคาที่เคยซื้อขาย ราคาที่จะซื้อจะขาย ความคาดหวังต่อราคา ราคาที่คาดหวังว่าจะซื้อจะขายได้ในอนาคต ต้นทุนค่าสร้างทดแทน และอื่นๆ
4. ในการประเมินต้นไม้ ผู้ประเมินต้องคำนึงถึงชนิดของต้นไม้ รูปทรงของต้นไม้ อายุของต้นไม้ คุณภาพหรือเกรดของไม้ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ปริมาตรไม้ ความยาวของท่อนไม้ เป็นต้น
5. การประเมินค่ายังคำนึงถึงผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจ สังคม และธรรมชาติจากการมีป่าไม้มาประกอบด้วย
นอกจากนี้ ดร.โสภณ ยังพาคณะผู้ประเมินค่าทรัพย์สินของ ASA หรือ American Society of Appraisers ซึ่งแต่เดิมรวมมาจาก American Society of Farm Managers and Rural Appraisers มาดูงานการประเมินค่าต้นไม้ในประเทศไทยอีกด้วย ดังนั้นด้วยเครือข่ายของ ดร.โสภณ จึงสามารถไปประเมินค่าต้นไม้ได้ทั่วโลก
ท่านใดสนใจใช้บริการประเมินค่าต้นไม้ ป่าไม้ สวนป่า ฯลฯ ทั้งในและต่างประเทศโดยเฉพาะในอาเซียน สามารถติดต่อฝ่ายประเมินค่าทรัพย์สิน ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส โทร.02.295.3905 ต่อ 114 ดร.โสภณ และคณะยินดีไปประเมินให้ท่านอย่างมั่นใจ
ที่มาภาพ : http://bit.ly/2Wbmy6L