มูลนิธิประเมินค่า-นายหน้าแห่งประเทศไทย ได้จัดทำราคาค่าก่อสร้างอาคารมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เป็นการดำริของ ดร.โสภณ พรโชคชัย ตั้งแต่สมัยที่เป็นกรรมการสมาคมผู้ประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย โดยดำเนินการครั้งแรกในปี 2543 และ ดร.โสภณ ก็เป็นผู้รับผิดชอบงานนี้มาโดยตลอด แต่ในช่วงปี 2556 สมาคมฯ ไม่ได้จัดทำราคาค่าก่อสร้างเพิ่มเติม ดร.โสภณ จึงรับดำเนินการในนามของมูลนิธิฯ อย่างไรก็ตามในขณะนี้ สมาคมฯ ได้กลับมาดำเนินการเพิ่มเติมอีก แต่คงมีการปรับปรุงราคาเป็นรายปี หรือเป็นรายสะดวก มูลนิธิฯ จึงยังดำเนินการต่อเนื่อง เพื่อให้เป็นข้อมูลประกอบการประเมินค่าทรัพย์สิน และสำหรับประชาชน และนักลงทุนทั่วไปได้ใช้ต่อไป
ในการดำเนินการของมูลนิธิฯ ได้ดำเนินการศึกษาข้อมูลจากทางราชการและภาคสนามมาดำเนินการจัดทำราคาค่าก่อสร้าง ทั้งนี้ในส่วนของราคาค่าก่อสร้างของเดือนมีนาคม 2563 ได้เพิ่มเติมอาคารอีก 14 ประเภท ได้แก่ ห้องเย็นอุตสาหกรรม (0 ถึง -18 องศาเซลเซียส) ไม่รวมอุปกรณ์ทำความเย็น, อาคารสโมสร (โครงการจัดสรรที่อยู่อาศัย), ถังเก็บน้ำสูง (ถังแชมเปญ 15-20-30 ลบ.ม.) ไม่รวมอุปกรณ์สูบน้ำ, บ้านน็อคดาวน์ บ้านสำเร็จรูป, โรงพยาบาลเอกชน (สูง 1-8 ชั้น), สถานีบริการน้ำมัน, โชว์รูมรถยนต์, โรงเรียนเอกชน (สูง 1-4 ชั้น), ภัตตาคาร/ร้านอาหาร, อาคารไม้เรือนไทย (ไม้สัก หรือเทียบเท่า), ตลาดสด, อู่ซ่อมรถยนต์, ห้องน้ำรวม, โรงมหรสพ และต่อไปนี้เป็นรายงานการเปลี่ยนแปลงราคาค่าก่อสร้างล่าสุด (มีนาคม 2563)
ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ 7.27%
ซีเมนต์ 12.82%
ผลิตภัณฑ์คอนกรีต 16.45%
เหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก 20.08%
กระเบื้อง 7.06%
วัสดุฉาบผิว 3.65%
สุขภัณฑ์ 2.11%
อุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา 12.84%
วัสดุก่อสร้างอื่น ๆ 17.73%
รวม 100.00%
สำหรับการเปลี่ยนแปลงล่าสุดตั้งแต่เดือนธันวาคม 2562-มีนาคม 2563 (ไตรมาสที่ 4 ปี 62-ไตรมาสที่ 1 ปี 63) สรุปว่ามีการลดลงของวัสดุต่างๆ เฉลี่ย -0.30% โดยปัจจัยสำคัญก็คือ ซีเมนต์ลดลง - 0.6% ผลิตภัณฑ์คอนกรีตลดลง -0.8% เหล็กลดลง -1.2% และวัสดุอื่นๆลดลง -0.4% ส่วนวัสดุที่มีราคาคงที่ ได้แก่ ไม้ และส่วนวัสดุที่ราคาปรับเพิ่มขึ้น ได้แก่ กระเบื้องเพิ่มขึ้น 1.7% วัสดุฉาบเพิ่มขึ้น 0.4% สุขภัณฑ์เพิ่มขึ้น 0.1% และอุปกรณ์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น 0.4% โดยมีรายละเอียดเป็นดังนี้:
ดัชนีรวม -0.30%
ไม้ 0.00%
ซีเมนต์ -0.60%
ผลิตภัณฑ์คอนกรีต -0.80%
เหล็ก -1.20%
กระเบื้อง +1.70%
วัสดุฉาบผิว +0.40%
สุขภัณฑ์ +0.10%
อุปกรณ์ไฟฟ้า +0.40%
วัสดุก่อสร้างอื่นๆ -0.40%
ค่าวัสดุข้างต้นเป็นส่วนหนึ่ง แต่ราคาค่าก่อสร้างยังประกอบด้วยค่าแรง และภาษีและค่าดำเนินการต่าง ๆ ดังนั้นค่าก่อสร้างที่แท้จริง ลดลง -0.18% ในไตรมาสที่ 1/2563 โดยมีรายละเอียดดังนี้:
1. ค่าวัสดุ 60% -0.30% 59.82%
2. ค่าแรง 20% 0.00% 20.00%
3. กำไร ภาษีและค่าดำเนินการ 20% 0.00% 20.00%
100.00% 98.82%
สรุป -0.18%
โดยสรุปแล้วการปรับราคาค่าก่อสร้าง โดยใช้ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างของทางราชการของเดือนมีนาคม 2563 มีผลออกมาดังนี้:
สรุปการปรับราคาค่าก่อสร้าง โดยใช้ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง ของเดือนมีนาคม 2563
1. พิจารณาโดยเทียบเคียงกับเดือนธันวาคม 2562 (ธันวาคม 2562-มีนาคม 2563)
2. จากการเทียบดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง เดือนธันวาคม 2562 - มีนาคม 2563 ปรากฏราคาวัสดุก่อสร้างเมื่อวิเคราะห์แล้ว ปรับลดลง -0.30% โดยราคาวัสดุที่ปรับราคาลดลง ได้แก่ ซีเมนต์ ผลิตภัณฑ์คอนกรีต เหล็ก วัสดุก่อสร้างอื่นๆ ส่วนวัสดุก่อสร้างที่ปรับเพิ่มขึ้น ได้แก่ กระเบื้อง วัสดุฉาบผิว สุขภัณฑ์ อุปกรณ์ไฟฟ้า กลุ่มวัสดุที่ราคาคงที่ ได้แก่ ไม้ เมื่อพิจารณารวมราคาวัสดุทุกกลุ่ม ภาพรวมราคาค่าวัสดุปรับลดลง -0.30% (ผลจากการปรับลดลง ของกลุ่มซีเมนต์ ผลิตภัณฑ์คอนกรีต เหล็ก วัสดุก่อสร้างอื่นๆ)
3. ค่าแรงงาน พิจารณาเท่าเดิม ไม่มีการปรับเพิ่ม
4. กำไรภาษี ค่าดำเนินการ พิจารณาเท่าเดิม ไม่มีการปรับเพิ่ม
5. เมื่อวิเคราะห์ทั้งค่าวัสดุ และค่าแรงงาน กำไรภาษี ค่าดำเนินการ ทำให้ภาพรวมราคาค่าก่อสร้างอาคารปรับลดลง -0.18% ทั้งนี้เมื่อทำการนำมาปรับราคาค่าก่อสร้างอาคารแล้ว โดยรวมราคาค่าก่อสร้างลดลงเล็กน้อย หรือไม่เปลี่ยนแปลง