ต้นไม้ยักษ์ในเมืองประเมินค่าอย่างไร
  AREA แถลง ฉบับที่ 538/2563: วันจันทร์ที่ 07 กันยายน 2563

ผู้แถลง: ดร.โสภณ พรโชคชัย
ประธาน ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย
บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส sopon@area.co.th https://www.facebook.com/dr.sopon4

            ต้นไม้ยักษ์โดยเฉพาะที่อยู่ในเมืองมีค่ามากกว่าที่คิด จะประเมินค่าอย่างไร ป่าเขาจะประเมินค่าอย่างไร เป็นสิ่งที่ผู้เกี่ยวข้องต้องทราบ

            ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส (www.area.co.th) กล่าวว่าในกรุงเทพมหานคร มีต้นไม้ขนาดใหญ่นับพันต้น  และที่ผ่านมาเคยมีการจัดประกวดต้นไม้ยักษ์ โดยกลุ่มโซเชียลมีเดีย “บิ๊กทรี” (BigTrees Project) ร่วมกันหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่นหลายแห่ง  และปรากฏว่ามีต้นไม้ที่ชนะการประกวด เช่น:

            ต้นไม้ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพมหานคร (มีเส้นรอบวงตั้งแต่ 2 เมตรขึ้นไป) รางวัลชนะเลิศ  คือต้น “ไทรย้อย” (ขนาดเส้นรอบวง 16.5 เมตร) ในโรงเรียนพระรามหกเทคโนโลยี ถนนจรัญสนิทวงศ์ เขตบางพลัด ส่วนรองชนะเลิศอันดับ 1 คือ “ต้นกร่าง” (ขนาดเส้นรอบวง 15.67 เมตร) ตั้งอยู่ในโรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย ถนนเจริญกรุง ซอยเจริญกรุง 57 และรองชนะเลิศอันดับ 2 ต้นไทร (ขนาดเส้นรอบวง 13.77 เมตร) ขึ้นอยู่บนเชิงสะพานบางขุนเทียน ถนนจอมทอง

            ประเภทที่ 2 ต้นไม้ที่สูงสุดในกรุงเทพมหานคร ชนะเลิศ คือ “ต้นยางนา” (สูง 33.24 เมตร) อยู่ในพื้นที่ของโรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ (วัดน้อยใน) ในพระราชูปถัมภ์ฯ แขวงตลิ่งชัน เขตตลิ่งชัน ส่วนรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ “ต้นโพธิ์” (สูง 30.18 เมตร) สถานที่ตั้งอยู่ในสุดซอยมังกร 2 ถนนมังกร  เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย และรองชนะเลิศอันดับ 2 คือ “ต้นสมพง” (สูง 30.03 เมตร) อยู่ในโรงแรมสวิสโฮเต็ล ปาร์คนายเลิศ ถนนวิทยุ

            ประเภทที่ 3 ต้นไม้ที่สมบูรณ์สุดในกรุงเทพมหานคร โดยวัดจากโหวตในสังคมออนไลน์ ปรากฏว่า “ต้นประดู่”   ในโรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย  ในซอยเจริญกรุง 57 ถนนเจริญกรุง คว้ารางวัลชนะเลิศด้วยผลโหวต 828 คะแนน และ “ต้นมะฮอกกานี” ในถนนหลัก หมู่บ้านนวธานี ถนนเสรีไทย เขตบึงกุ่ม ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ   ด้วยคะแนน 229 คะแนน และ “ต้นจามจุรี” ในบ้านเลขที่ 212 ซอยรามอินทรา 46 ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ส่วน “ต้นไทร” บริเวณปากซอยวิภาวดี 29 ริมทางคู่ขนานวิภาวดีรังสิตคว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2

            สำหรับประเภทที่ 4 ต้นไม้ทรงคุณค่าที่สุดในกรุงเทพมหานคร ที่คัดเลือกโดยการโหวตเช่นกันคือ “ต้นไกร” ในธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาตลาดน้อย ถนนโยธา ได้รางวัลชนะเลิศ และ “ต้นโพธิ์” บริเวณหน้าธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่ (รัชโยธิน) ได้รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 ขณะที่ต้นไทรในสวนวชิรเบญจทัศหรือสวนรถไฟ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2

            ต้นไม้ในเมืองเหล่านี้ไม่ได้มีมูลค่าจาการขายเนื้อไม้ หรือผลิตผลจากไม้ (เช่น ยางไม้) เพราะมูลค่าเหล่านี้มีไม่มากนัก เช่น  ถ้าต้นยางนาสูง 33 เมตร เมื่อริดกิ่งแล้วสมมติเหลือลำต้นยาว 25 เมตร มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง สมมติมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 3 เมตร จะได้ปริมาณเนื้อไม้

            = (22/7 * r ยกกำลัง 2) * ความยาว

            = (22/7 * 1.5 *1.5 * 25)

            = 176.7857 ลบ.ม.

            ถ้าราคาหน้าโรงงาน สมมติเป็นเงินตันละ 2,400 บาท ราคาต้นยางนายักษ์ ก็จะเป็นเงิน 424,286 บาท และเมื่อหักค่าแรงทำไม้ประมาณ 30% ก็จะเป็นเงินสุทธิประมาณ 297,000 บาท

            อย่างไรก็ตามต้นยางนายักษ์ในเมืองมีมูลค่ามากกว่านั้น เพราะยังมีมูลค่าจาก

            1. การให้เข้าชม ซึ่งเป็นรายได้ทางหนึ่ง

            2. การเช่าใช้สถานที่ เช่น การถ่ายทำละคร

            3. รายได้เกี่ยวเนื่อง เช่น การขายสินค้าและบริการในพื้นที่

            4. การใช้ประกอบการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เช่น การสร้างอาคารให้สอดรับกับต้นไม้นั้นๆ ซึ่งเป็นการเพิ่มมูลค่าของอาคารให้สูงกว่าปกติ เป็นต้น

            5. การมีส่วนเกื้อหนุน (Contribution) ต่อ (วิสาหกิจ) เจ้าของสถานที่ที่ครอบครอบต้นไม้นี้

            การประเมินมูลค่าของต้นไม้ในเมือง จึงไม่ได้พิจารณาเฉพาะมูลค่าของเนื้อไม้เป็นสำคัญ  ต้นไม้บางต้นจึงอาจมีมูลค่าสูงกว่าราคาเนื้อไม้มหาศาล

อ่าน 3,930 คน
2024 Copyright © by area.co.th All Rights Reserved