เห็นนักพัฒนาที่ดินรายใหญ่ของไทยบางราย กระเหี้ยนกระหือรือที่จะให้ต่างชาติซื้ออสังหาริมทรัพย์ในไทยเหลือเกิน ดร.โสภณ แนะ ถ้าจะให้ฝันนี้เป็นจริง ต้องอุดช่องโหว่ขายชาติบางประการเสียก่อน หาไม่ชนรุ่นหลังจะตราหน้าให้ละอายว่าไอ้ “กบฏในราชอาณาจักร” ตัดแผ่นดินขายเพื่อเอาตัวรอดส่วนบุคคล
ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส (www.area.co.th) ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญอสังหาริมทรัพย์ระดับโลก เคยเป็นที่ปรึกษาในโครงการของกระทรวงการคลังและกระทรวงอื่นในกัมพูชา บรูไน เวียดนาม อินโดนีเซีย และยังเคยไปสำรวจวิจัยและบรรยายในประเทศต่างๆ ทั่วโลก รวมทั้งเป็นที่ปรึกษาขององค์การสหประชาชาติหลายแห่ง เช่น ESCAP FAO ILO UN Habitat มีความเห็นว่าก่อนที่รัฐบาลจะให้ต่างชาติซื้ออสังหาริมทรัพย์ได้อย่างเสรีในประเทศไทยนั้น พึงรู้ถึงประเทศอื่นว่าเขาทำอย่างไร จะได้ไม่เป็นการขายชาติ ขายแผ่นดิน ทำร้ายคนในชาติ
• นิวซีแลนด์ เขาไม่ให้ต่างชาติซื้ออสังหาริมทรัพย์เลย เพราะเป็นประเทศเล็กๆ ขืนให้ต่างชาติซื้อไปมาก ก็คงสูญเสียเอกราช ยกเว้นให้ชาติพันธมิตรเล็กๆ ด้วยกันบางประเทศซื้อได้ เช่น สิงคโปร์ เป็นต้น
• ออสเตรเลีย ให้ต่างชาติซื้อได้เฉพาะบ้านมือหนึ่ง บ้านมือสองห้ามซื้อ เพราะจะดันราคาบ้านให้เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ประชาชนออสเตรเลียเองเดือดร้อน รัฐบาลไทยจึงควรศึกษาไว้ จะได้ไม่ทำร้ายคนในชาติ
• มาเลเซียให้ต่างชาติซื้ออสังหาริมทรัพย์ได้ แต่ต้องมีราคา 1-2 ล้านริงกิต หรือ 7.5-15 ล้านบาทขึ้นไป (แล้วแต่ทำเล) เท่านั้น ไม่อนุญาตให้ซื้อสินค้าราคาถูกๆ เพราะจะทำให้ประชาชนชาวมาเลเซียเดือดร้อน รัฐบาลไทยจึงควรศึกษาไว้ จะได้ไม่ทำร้ายคนในชาติอีกเช่นกัน
• สิงคโปร์และฮ่องกง ไม่ได้จำกัดด้านราคาเพราะห้องชุดแต่ละหน่วยมีมูลค่านับสิบล้านบาทอยู่แล้ว แต่สิงคโปร์ให้ต่างชาติเสียภาษีซื้อ 20-25% ส่วนฮ่องกงให้เสียภาษีซื้อ 30% เพื่อปรามการเข้ามาของต่างชาติ กรณีนี้เป็นไปตามตรรกะการเสียภาษี เช่นเดียวกับคนไทยส่งลูกไปเรียนออสเตรเลีย ก็ต้องเสียค่าเล่าเรียนแพงกว่าปกติบ้าง เพราะเราไม่เคยเสียภาษีให้ประเทศเขาเลย อยู่ดีๆ ไป “ชุบมือเปิบ” ไม่ได้ แต่ไทยแทบไม่เก็บภาษีซื้อเข้าหลวงเลย อย่างนี้เท่ากับเรา “ขายชาติ”
• ไต้หวันมีนโยบาย 3-4-5 คือ ต่างชาติที่มาซื้อบ้านในไต้หวัน ต้องห้ามขายภายใน 3 ปีแรก เพื่อป้องกันการซื้อเก็งกำไร และอยู่ในไต้หวันได้ไม่เกิน 4 เดือนต่อปี ไม่ใช่มาฝังตัวเลย และกู้เงินธนาคารในไต้หวันได้ไม่เกิน 50% ของมูลค่าบ้าน นี่ก็แสดงว่าเขาเห็นแก่คนในชาติมากกว่าคนต่างชาติ
• ในยุโรปและอเมริกา ยินดีให้ต่างชาติไปซื้ออสังหาริมทรัพย์ได้ แต่เขามีระบบภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ต้องเสียภาษีกันประมาณ 1-3% ของราคาประเมิน ซึ่งเท่ากับราคาตลาด แต่ในไทย ระบบภาษีนี้ไม่มีประสิทธิผล ต่างชาติก็ถือครองอสังหาริมทรัพย์โดยไม่ต้องเสียภาษีเช่นอารยประเทศ แถมยังแทบไม่ต้องเสียภาษีมรดก จะเห็นได้ว่าราคาประเมินราชการของไทย ต่ำกว่าราคาตลาดมาก ทั้งนี้เพื่อเอื้ออำนวยแก่ “เจ้าสัว” ในการเสียภาษีแต่น้อย
จะเห็นได้ว่าอย่างในกรณีจีนเองที่อยากมาซื้อบ้านในไทย (ใจจะขาด) ก็ยังไม่ยอมให้แม้แต่พลเมืองของตนเองซื้ออสังหาริมทรัพย์แบบขายขาด (ชั่วกัลปาวสาน) เยี่ยงในประเทศไทยเลย รัฐบาลจีนให้สิทธิแก่คนจีนแท้ๆ เช่าอสังหาริมทรัพย์ภายในระยะเวลา 70 ปีเท่านั้น หลังจากนั้นก็ค่อยต่อสัญญากันไปหากยังมีชีวิตอยู่ ลูกหลานก็ต้องขวนขวายหาเอาเอง ไม่ใช่รอแต่รับมรดกจากพ่อแม่ รัฐบาลไทยต้องไม่เห็นแก่นายทุนใหญ่มากกว่าประชาชนเจ้าของประเทศและลูกหลานไทยในอนาคต
มาตรการที่จำเป็นที่จะให้ต่างชาติซื้ออสังหาริมทรัพย์ในไทยได้นั้น ควรมีดังนี้:
คิดและทำเพื่อผลประโยชน์ของชาติและประชาชน และหยุดคิดขายชาติเพื่อตัวเองได้แล้ว และเมื่อสามารถทำการตามข้างต้นได้ ไทยเราก็จะไม่เสียเปรียบต่างชาติ