กรณีให้กระเหรี่ยงบางกลอยลงมาจากเขา อาจทำรุนแรงไป แต่พวกเขาสมควรลงจากเขาได้แล้ว มาดูกรณี “กะเหรี่ยงคอยาว” ซึ่งไม่ใช่คนไทย แต่ได้สิทธิพิเศษเหนือคนไทยหรือไม่ สมควรหรือไม่
ในเว็บไซต์ไปด้วยกัน (https://bit.ly/30fQIFK) เขียนไว้ชัดเจนว่า “กะเหรี่ยงคอยาว เป็นชนกลุ่มน้อยมีถิ่นอาศัยอยู่ในประเทศพม่า เมื่อสมัยก่อนเกิดการสู้รบครั้งใหญ่ระหว่างกอง กำลังกะเหรี่ยงกับรัฐบาลทหารพม่า มีผลทำให้ประชากรกะเหรี่ยงคอยาวได้รับผลกระทบจึงพากันอพยพหนีภัย สงครามเข้ามาอาศัยตามตะเข็บ แนวชายแดน และบางส่วนได้เข้ามาอาศัยในเขตประเทศไทยในพื้นที่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นหมู่บ้านกะเหรี่ยงคอยาว สามารถเที่ยวชมได้ในหลายพื้นที่ ถึงแม้ว่าในปัจจุบันหมู่บ้าน กะเหรียงคอยาวจะแปรสภาพไป ตามสังคมที่เปลี่ยนไป ดูเป็นในลักษณะเชิงธุรกิจมากขึ้นไม่เป็นธรรมชาติของ ชุมชนและวิถีชีวิตดั้งเดิมเหมือนแต่ก่อน แต่ถึงอย่างไร กะเหรี่ยงคอยาว ยังถือว่าเป็นไฮไลท์ของ การท่องเที่ยว แม่ฮ่องสอน ที่ยังได้รับความนิยมแก่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติไม่เปลี่ยนแปลง”
ในเว็บไซต์ “ทริปดีดี” (https://bit.ly/3kOvXu0) ระบุว่า “กะเหรี่ยงคอยาวเป็นกะเหรี่ยงกลุ่มหนึ่งที่อาศัยอยู่ในรัฐคะยาประเทศเมียนมา. . .ประมาณปี พ.ศ. 2528-2529 บริษัทนำเที่ยวได้ติดต่อกับชาวกะเหรี่ยง. . .เข้ามาอยู่ในเขตชายแดนไทยที่บ้านน้ำเพียงดิน เพื่อให้นักท่องเที่ยวเดินทางมาเยี่ยมชมเป็นการดึงดูดนักท่องเที่ยวอีกวิธีหนึ่ง โดยปาดองได้รับเงินค่าตอบแทนสำหรับใช้เป็นค่าใช้จ่าย ปัจจุบันส่วนหนึ่งได้ย้ายไปอยู่ที่บ้านในสอย เขตอำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ห่างจากอำเภอเมืองประมาณ 30 กิโลเมตร. . .อีกหมู่บ้านหนึ่ง คือ บ้านห้วยเสือเฒ่า อยู่ติดกับหมู่บ้านกะเหรี่ยง ห่างจากตัวจังหวัดแม่ฮ่องสอนประมาณ 10 กิโลเมตร รถยนต์เข้าถึงหมู่บ้านได้ แต่ในฤดูฝนเดินทางลำบากเพราะต้องข้ามลำห้วยหลายแห่ง”
ในชุมชนกะเหรี่ยงคอยาวส่วนใหญ่คงไม่ได้ทำไร่เลื่อนลอยเหมือนกะเหรี่ยงบางกลอยที่มีข่าวว่าถูกทางราชการจับตัวลงมาทางเฮลิคอปเตอร์เพราะกลับไปบุกรุกใหม่ กะเหรี่ยงคอยาวที่แม่ฮ่องสอนอยู่กันเป็นหมู่บ้านที่แน่ชัด ไม่มีการโยกย้ายและด้วยการมี “คอยาว” เป็นจุดขาย จึงมีรายได้จากการท่องเที่ยว การขายของที่ระลึก แต่ชาวบ้านก็ยังทำเกษตรกรรมอยู่เป็นหลัก แต่ไม่น่าจะมีไร่เลื่อนลอยเช่นที่บางกลอย อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี
การตั้งถิ่นฐานอย่างถาวร และการตัดถนน และจัดหาไฟฟ้าเข้าไปในชุมชน ทำให้ชุมชนอยู่อย่างสะดวกสบายกว่าแต่ก่อน มีโรงเรียนให้เด็กนักเรียนได้เรียนหนังสือ ฯลฯ และจึงทำให้กระเหรี่ยงปักหลักในประเทศไทย และในไม่ช้าก็คงได้สัญชาติ และสามารถครอบครองที่ดินโดยเฉพาะที่ดินในป่า ซึ่งแม้แต่ภาคเอกชนยังหาเช่าได้ยาก หรือหากซื้อขายก็ผิดกฎหมาย แต่สำหรับชาวกะเหรี่ยงกลับสามารถจับจองและอยู่ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
ในแง่หนึ่งกะเหรี่ยงจึงเป็นเสมือน “อภิสิทธิ์ชน” ที่คนไทยไม่สามารถทำเช่นนี้ได้ และด้วยการอพยพจากเมียนมาเช่นนี้ ที่ดินในประเทศไทยส่วนใหญ่จึงไม่ใช่ที่ดินที่บรรพบุรุษของชาวกะเหรี่ยงอยู่ และถึงแม้บางเผ่าอาจอยู่อาศัยมานานนับร้อยปีจริง ก็อยู่กันเพียงส่วนน้อย ไม่ได้ขยายตัวไปทั่วเช่นนี้ และถึงแม้บางคนอาจเป็นเจ้าของที่ดิน แต่หากต้องการรักษาป่า ก็อาจต้องให้ลงมาจากป่าเขา ด้วยวิธีการเวนคืน ดูอย่างการตัดถนนในใจกลางเมือง ผู้มีรายได้สูง ก็ยังต้องถูกเวนคืน ทำไมรัฐบาลจะแตะต้องโยกย้ายชาวกะเหรี่ยงไม่ได้
เราต้องเคารพในสิทธิมนุษยชนของกะเหรี่ยงหรือชาติพันธุ์ทั้งหลาย แต่ไม่ควรเอาความเป็นชาติพันธุ์มากลายเป็นอภิสิทธิชนที่ไม่สามารถเคลื่อนย้าย แตะต้องมิได้
(ภาพถ่ายต่อไปนี้จาก https://www.paiduaykan.com/76_province/north/maehongson/LongNeckKaren.html)