แนวทางการประเมินมูลค่าสินค้าคงคลัง
  AREA แถลง ฉบับที่ 340/2564: วันพฤหัสบดีที่ 06 พฤษภาคม 2564

ผู้แถลง: ดร.โสภณ พรโชคชัย
ประธาน ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย
บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส sopon@area.co.th https://www.facebook.com/dr.sopon4

            การประเมินมูลค่าสินค้าคงคลัง ช่วยให้วิสาหกิจสามารถจัดหาเงินสำหรับการจัดหาสินค้าที่ประกอบเป็น สินค้าคงคลัง สินค้าคงเหลือมักเป็นสินทรัพย์ในปัจจุบันที่สำคัญที่สุดของวิสาหกิจนั้นๆ และจำเป็นต้องมีการวัดมูลค่าที่เหมาะสมเพื่อให้มั่นใจว่างบการเงินนั้นถูกต้อง หากสินค้าคงคลังไม่ได้รับการวัดอย่างเหมาะสม ค่าใช้จ่าย และ รายได้ จะไม่สามารถจับคู่ได้อย่างเหมาะสมและ วิสาหกิจดังบกล่าวก็อาจทำการตัดสินใจทางธุรกิจได้ไม่ดี มีความเสี่ยงต่อธุรกิจนั้นๆ ได้ (https://bit.ly/33cQsJ0)

            สินค้าคงคลังที่กล่าวถึงอาจเป็นสินค้าใดๆ ก็ได้ของวิสาหกิจนั้นๆ ที่ผ่านมาสถาบันการเงินก็มักอำนวยสินเชื่อให้กับวิสาหกิจต่างๆ เพื่อให้มีเงินหมุนเวียนในการประกอบธุรกิจ โดยเอาสินค้าคงคลังของวิสาหกิจนั้นๆ เป็นส่วนหนึ่งของการค้ำประกัน เช่น ถ้าวิสาหกิจหนึ่งไปกู้เงินของสถาบันการเงินมา สถาบันการเงินก็ต้องพิจารณาว่าวิสาหกิจนั้นมีสินค้าคงคลังสอดคล้องกับเงินกู้หรือไม่ และให้มีการตรวจนับจำนวนสินค้าคงคลังทุกระยะ เช่น ทุกเดือน เพื่อให้มั่นใจว่ามูลหนี้กับสินค้าคงคลังนั้นสอดคล้องหรือใกล้เคียงกัน

            สำหรับราคาอ้างอิงสินค้าต่างๆ ก็อาจพิจารณาจากราคาตลาด หรือราคากลางเป็นสำคัญ เช่น ราคาข้าว ก็อาจใช้ราคาของสมาคมโรงสีข้าวไทย (https://bit.ly/3efoanv)  ก็มีราคาข้าวสารและราคาข้าวเปลือกรายจังหวัด หรือราคากลางของสินค้าเกษตรประเภทต่างๆ ตามการแจกแจงรายวัน รายสัปดาห์ หรือรายเดือนของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (https://bit.ly/3nOXcGH) เป็นต้น รวมทั้งจากแหล่งที่เชื่อถือได้อื่นๆ ซึ่งหาได้ไม่ยากในประเทศไทย

            วิธีการประเมินที่ได้รับความนิยมมากก็เช่น the First-In, first-Out (FIFO) ซึ่งวิธีนี้จะถือว่าหน่วยแรกที่เข้าสู่สินค้าคงคลังเป็นการขายครั้งแรก ตัวอย่างเช่น สมมติว่าร้านเบเกอรี่ผลิตขนมปัง 200 ก้อนในวันจันทร์ในราคาชิ้นละ 100 บาทและอีก 200 ก้อนในวันอังคารที่ราคาชิ้นละ 125 บาท FIFO ระบุว่าหากร้านเบเกอรี่ขายได้ 200 ก้อนในวันพุธ ต้นทุนของสินค้าที่ขา จะอยู่ที่ 100 บาทต่อก้อน (บันทึกในงบกำไรขาดทุน) เนื่องจากเป็นต้นทุนของแต่ละก้อนแรกในสินค้าคงคลัง  ส่วนราคา 125 บาทต่อก้อนจะถูกจัดสรรให้กับสินค้าคงคลังที่สิ้นสุด (https://bit.ly/3nPQQXC)

            ที่ผ่านมาในประเทศไทย สถาบันการเงินใช้บริการการประเมินมูลค่าสินค้าคงคลังอยู่เสมอ โดยเฉพาะกิจการที่เกี่ยวกับสินค้าเกษตร รวมทั้งสินค้าประเภทอื่น และยังกำหนดให้มีการตรวจนับสินค้าคงคลังเป็นระยะๆ เช่นตรวจนับทุกเดือน เพื่อตรวจสอบสินค้าคงคลังในฐานะหลักประกันให้ใกล้เคียงกับเงินกู้  อย่างไรก็ตามสินค้าคงคลังก็มีการหมุนเวียนอยู่อย่างสม่ำเสนอ ตามการดำเนินการของธุรกิจแทบทุกประเภท การตรวจนับจึงต้องอาศัยความแม่นยำและความน่าเชื่อถือของผู้ประเมินค่า

            มีหลายกรณีที่จากการตรวจสอบปรากฏว่าปริมาณสินค้าคงคลังต่ำกว่าที่กำหนดไว้มาก เช่น เหลือเพียงครึ่งหนึ่ง หรือเหลือเพียงหนึ่งในสาม ซึ่งผู้ประเมินก็ต้องรายงานไปตามความเป็นจริง   ถ้าผู้ไปสำรวจและประเมินค่าขาดความซื่อสัตย์ หรือผู้บริหารของบริษัทประเมินนั้นๆ ขาดความซื่อสัตย์ ก็อาจทำให้เกิดปัญหากับทั้งสถาบันการเงิน หรือลูกค้าของสถาบันการเงินนั้นๆ ได้  อาจทำให้วิสาหกิจนั้นๆ ขาดสภาพคล่อง และทำให้สถาบันการเงินต้องรับภาระหนี้ เป็นต้น

            สนใจใช้บริการประเมินสินค้าคงคลังและการตรวจนับรายเดือน สามารถติดต่อ บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส (www.area.co.th) ได้ที่ โทร. 02.295.3905 ต่อ 114 (คุณสัญชัย)

อ่าน 1,794 คน
2024 Copyright © by area.co.th All Rights Reserved