อ่าน 1,536 คน
AREA แถลง ฉบับที่ 79/2556: 26 มิถุนายน 2556
ดร.โสภณ กับการประชุมสมาคมผู้ประเมินค่าทรัพย์สินแห่งอาเซียน

ผู้แถลง: ดร.โสภณ พรโชคชัย
ประธาน ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย
บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส
sopon@area.co.th

          วันนี้ ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธาน ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส ได้เข้าร่วมประชุมสมาคมผู้ประเมินค่าทรัพย์สินแห่งอาเซียน (ASEAN Valuers Association) ซึ่งเป็นสมาคมวิชาชีพที่ก่อตั้งมาตั้งแต่ พ.ศ.2524 และ ดร.โสภณ ยังเคยดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการสมาคม และเป็นวิทยากรนำเสนอบทความทางวิชาการในฐานะผู้แทนของประเทศไทยมาตั้งแต่ พ.ศ.2533

          ผลการสำรวจความเห็นของผู้ประเมินค่าทรัพย์สินอาเซียนที่ดำเนินการและนำเสนอโดย ดร.โสภณ มีดังนี้

ASEAN Valuers View the Future of ASEAN

Sopon Pornchokchai, PhD CRS D.FIABCI MRICS

          Regarding the opinion of professional property valuers in ASEAN, the economy and property markets in this region were assessed and the level of credibility of real estate professionals was compared with other professions in the society. What will happen in the real estate markets and professions after the institution of the AEC in 2015? Let’s explore this latest survey.
          Dr.SoponPornchokchai, President of the Thai Appraisal Foundation, went to the 17th Congress of the ASEAN Valuers Association (AVA) held from July 2 to 5, 2012 in Brunei.  He conducted a survey of ASEAN valuers on the future of the countries in ASEAN, as well as the valuation profession compared with others, together with an outlook on the future of the ASEAN Economic Community (AEC).
          There were 200 participants at this AVA Congress. Members of all of the ASEAN countries, except Myanmar, were present and responded to the questionnaire. There were also participants from other countries, such as Australia, China, Hong Kong, and the UAE.
          Considering the economic situation of countries compared to 2010 or two years ago, 56% assessed that it was better. Only 7% said that it was worsening. The rest (36%) saw no change. In detail, most valuers from Brunei, Singapore, and Thailand saw no change; whereas, the rest saw some significant, positive changes.  However, regarding the economy in the next two years (2014), most (67%) said that it would be better.  Only 4% said that it was worsening.  Most of the Thai valuers assessed that the situation could be the same as today.
          In the case of property markets, 63% assessed that the situation was better than that in 2010.  However, only half of the valuers in Thailand and Brunei assessed the situation in this way. This might be due to the past political turmoil in Thailand or the economic stagnation in Brunei. Concerning future prospects for 2014, most (66%) believed that they would be better.  Only 8% said the contrary. In the case of Thailand, it was considered that the 2014 property markets would still be the same as today.  Perhaps Thai valuers were not so confident about the future prospects of the economy or the property markets.
          The valuers were asked to assess the professional credibility of different professions, with the assumption that the credibility of medical doctors was 100%.  On the whole, engineers earned a credibility score of 80%, followed by valuers (77%) and lawyers (75%). Brokers earned the lowest score of 68%.  That the brokers earned the lowest score might be due to the fact that there was still no legal control for this profession.
          Considering the AEC, 62% perceived that the AEC would have a positive effect on their own countries. However, for the countries outside the ASEAN region, this would not have much effect. Among the ASEAN countries, Thailand and Vietnam seemed to be worried about the AEC. Perhaps competition might be worrying them.
          Vietnam seemed to be most ready for the AEC in 2015, where the level of readiness assessed by valuers was 86%. The second was Malaysia at 72%, and the third was Thailand at 67%, followed by Indonesia (63%).  Brunei and the Philippines earned 58% and 57%. The lowest score was Cambodia (48%).  There was no assessment for Singapore because of the few numbers of respondents in this case.
          It is expected that in terms of real estate development, Thailand will be among the largest markets. According to the Agency for Real Estate Affairs, which is Thailand’s first and largest real estate information and valuation centre, the annual development value of real estate is around US$ 10 billion. Therefore, investors from other countries may like to come to this attractive market. Although the Jakarta and Manila markets are smaller to that of Bangkok, they both will have strong attraction for investors. The fast-growing economy and strong political stability of Indonesia and the Philippines are among the major drives behind the promising property markets.
          It is expected that big developers from Singapore, Malaysia, and Thailand will develop cross-border real estate projects. Major developments would be low-rise housing projects as well as owner-occupied apartment (condominium) projects in major cities, such as Bangkok, Jakarta, Manila, and Ho Chi Minh City.
          In the case of surveyors, valuers or appraisers, and brokers, major firms in Singapore and Malaysia should move ahead to other countries.  However, there are already transnational property consultant firms with branches in different countries. Local consultant firms should ban together therefore as a strategic alliance to work in the borderless community of the AEC in the future.
          In sum, the economy and property markets in this region have developed over time. If medical doctors are assessed at 100% credibility, valuers across ASEAN assessed their own profession at 77% after engineers (80%), but better than lawyers and brokers, who earned 75% and 68%. After the 2015 AEC, Bangkok, Jakarta, and Manila could attract a lot of cross-border investment from neighboring countries because of the size and the good prospect of the market. Expectedly, local property consultants will pull together for strategic alliances with services that can better cater to customers.

 

การประเมินความพร้อมหลังการเปิด AEC

          ผู้ประเมินค่าทรัพย์สินจากประเทศต่าง ๆ ทั่วอาเซียนต่างเห็นว่าเศรษฐกิจปี 2555 ดีกว่า 2 ปีก่อน และจะดีขึ้นอีกในปี 2557 ก่อนเปิด AEC ตลาดอสังหาริมทรัพย์ก็เช่นกัน และทุกประเทศเห็นว่าการเปิด AEC จะเป็นประโยชน์ร่วมกันแต่ก็ยังมีความเป็นห่วงต่อการแข่งขันอยู่เช่นกัน
          ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธาน ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส ได้สำรวจความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมประชุมสมาคมผู้ประเมินค่าทรัพย์สินแห่งอาเซียน ณ ประเทศบรูไน ในช่วงต้นเดือนกรกฎาคม 2555 จำนวนเกือบ 100 คนจากทั้งหมดเกือบ 200 คน ต่อประเด็นความพร้อมในการเปิดประชาคมอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) ในปี พ.ศ.2558 และความเห็นเหล่านี้น่าจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยพอสมควร
          ผู้ประเมินค่าทรัพย์สินในภูมิภาคนี้ ให้ความเห็นว่าเมื่อเทียบสถานการณ์เศรษฐกิจ พ.ศ.2553 กับปัจจุบัน 56% ประเมินว่าปัจจุบันดีกว่า มีเพียง 7% ที่เห็นว่าแย่ลง ที่เหลือ 36% บอกว่าเหมือนเดิม สำหรับในนายละเอียด ผู้ประเมินค่าทรัพย์สินจากบรูไน สิงคโปร์ และไทย มองว่าสถานการณ์เศรษฐกิจยังแทบไม่เปลี่ยนแปลง แต่ประเทศอื่น ๆ กลับมองว่าสถานการณ์ดีขึ้นเป็นหลัก และเมื่อพิจารณาถึงภาวะเศรษฐกิจในอีก 2 ปีข้างหน้า คือ พ.ศ. 2557 ส่วนใหญ่ 67% บอกว่าสถานการณ์น่าจะดีขึ้น มีเพียง 4% ที่คิดว่าจะเลวร้ายลง อย่างไรก็ตามผู้แทนจากประเทศไทยส่วนใหญ่เห็นว่าจะยังคงเหมือนเดิม
          ต่อกรณีตลาดอสังหาริมทรัพย์ พบว่า 63% คิดว่าสถานการณ์ตลาดดีขึ้นกว่าปี พ.ศ.2553 อย่างไรก็ตาม ราว ๆ ครึ่งหนึ่งของผู้ประเมินค่าทรัพย์สินจากบรูไนและไทย คิดว่าสถานการณ์ไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไร ทั้งนี้อาจเป็นเพราะสถานการณ์ทางการเมืองในไทย และสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของบรูไน ยังไม่กระเตื้องขึ้นนั่นเอง และเมื่อพิจารณาถึงตลาดอสังหาริมทรัพย์ในอีก 2 ปีข้างหน้าคือ ณ พ.ศ.2557 พบว่าส่วนใหญ่ 66% จากแทบทุกประเทศระบุว่าสถานการณ์น่าจะดีกว่าปัจจุบัน อย่างไรก็ตามผู้ประเมินค่าทรัพย์สินจากประเทศไทยยังเห็นว่าตลาดยังจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงอะไรมากนักใน 2 ปีข้างหน้า
          ในแง่ของความน่าเชื่อถือทางวิชาชีพ หากวิชาชีพแพทย์ ได้รับความน่าเชื่อถือสูงสุดถึง 100% วิชาชีพอื่นจะมีระดับความน่าเชื่อถือกี่เปอร์เซ็นต์ ผลการสำรวจพบว่า ผู้ประเมินค่าทรัพย์สินประเมินวิศวกรอยู่ที่ 80% ผู้ประเมินค่าทรัพย์สินเองอยู่ที่ 77% นักกฎหมายอยู่ที่ 75% และนายหน้าอสังหาริมทรัพย์อยู่ที่ 68% ทั้งนี้คงเป็นเพราะอาชีพนายหน้ายังไม่ได้มีการควบคุมอย่างจริงจังในประเทศส่วนใหญ่ในอาเซียนรวมทั้งประเทศไทย
          ต่อผลกระทบที่จะเกิดขึ้นหากมีการเปิดเขตเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ในปี พ.ศ.2558 ปรากฏว่า 62% เห็นว่าน่าจะส่งผลในทางบวกต่อประเทศของตนเอง อย่างไรก็ตามในประเทศเช่นไทย เวียดนามดูเหมือนจะมีความห่วงใยเช่นกันต่อการเข้ามาแข่งขันทางการบริการวิชาชีพจากประเทศอื่น และเมื่อถูกถามถึงความพร้อมในการรับมือกับการแข่งขันใน AEC ปรากฏว่า เวียดนามกลับมีความพร้อมที่สุดถึง 86% จาก 100% รองลงมาคือมาเลเซีย ได้ 72% อันดับสามคือไทย 67% และอินโดนีเซีย 63% บรูไนและฟิลิปปินส์ ดูมีความพร้อมต่ำกว่าเพื่อนคือได้ 58% และ 57% ตามลำดับ
          ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส คาดการณ์ว่า ประเทศไทยจะเป็นเป้าหมายที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งที่ประเทศเพื่อนบ้านจะกรีฑาทัพเข้ามาทำธุรกิจในประเทศไทย ทั้งนี้โดยพิจารณาจากว่ากรุงเทพมหานครมีจำนวนโครงการอสังหาริมทรัพย์เกิดขึ้นมากที่สุดเมื่อเทียบกับกรุงจาการ์ตา กรุงพนมเปญ กรุงมะนิลา และนครโฮชิมินห์ นอกจากนั้นในพื้นที่ตากอากาศเช่นพัทยา สมุย ภูเก็ตและหัวหิน ก็มีต่างชาติสนใจมาลงทุนเป็นจำนวนมากเช่นกัน
          กับ ดร.เอมี โก รัฐมนตรีสาธารณสุขและแรงงาน สิงคโปร์ ประธานเปิดงาน

ผู้แถลง:
ดร.โสภณ พรโชคชัย (sopon@area.co.th) ประธาน ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส หรือ AREA (www.area.co.th): ซึ่งเป็นองค์กรที่มีฐานข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ภาคสนามขนาดใหญ่ที่สุดและปรับปรุงให้ทันสมัยที่สุดในประเทศไทย และดำเนินการเก็บข้อมูลต่อเนื่องมาตั้งแต่ พ.ศ.2537 เป็นศูนย์ข้อมูลที่มีความเป็นกลางทางวิชาการ และเป็นอิสระทางวิชาชีพ โดยไม่ถูกครอบงำโดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียใด ๆ สมาชิกของศูนย์ข้อมูลฯ ได้รับข้อมูลที่เป็น First-hand information ในเวลาเดียวกัน

2024 Copyright © by area.co.th All Rights Reserved