ต่างชาติมาพักในไทย: กระตุ้นเศรษฐกิจไม่ได้
  AREA แถลง ฉบับที่ 105/2565: วันอังคารที่ 08 กุมภาพันธ์ 2565

ผู้แถลง: ดร.โสภณ พรโชคชัย
ประธาน ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย
บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส sopon@area.co.th https://www.facebook.com/dr.sopon4

 

            เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2565 รัฐบาลได้ออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจให้ต่างชาติและครอบครัวมาพำนักในประเทศไทยโดยออกวีซ่าระยะยาว 10 ปี และยังให้ทำงานในประเทศไทยได้ด้วย  สิ่งนี้จะกระตุ้นเศรษฐกิจได้หรือไม่ ดร.โสภณ ฟังธงว่าไม่ได้

            ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธาน ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส (AREA.co.th) ให้ความเห็นต่อกรณีที่ เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2565 ได้มีมติคณะรัฐมนตรีออกมา 2 เรื่องคือ ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนโดยการดึงดูดคนต่างด้าวที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทย และเรื่องร่างประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวทำงานในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนโดยการดึงดูดคนต่างด้าวที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทย

 

เรื่องวีซ่าพำนักระยะยาว

            โดยสาระสำคัญของร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย กำหนดประเภทการตรวจลงตรา สำหรับผู้พำนักระยะยาวขึ้นมาใหม่ โดยเป็นการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษ ประเภทผู้พำนักระยะยาว (long – term resident visa : LTR Visa) โดยมีอายุการตรวจลงตรา 10 ปี

            คุณสมบัติของคนต่างด้าว ที่ได้รับสิทธิการตรวจลงตราประเภท LTR รวมถึงผู้ติดตามของคนต่างด้าว (คู่สมรสและบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งมีอายุไม่เกิน 20 ปี จำนวนไม่เกิน 4 คน) โดยมี 4 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ กลุ่มประชากรผู้มีความมั่งคั่งสูง (Wealthy global citizen) กลุ่มผู้เกษียณอายุจากต่างประเทศ (Wealthy pensioner) กลุ่มที่ต้องการทำงานจากประเทศไทย (Work – from – Thailand professional) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญพิเศษ (High – skilled professional)

            ที่ว่าการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษ ประเภท LTR นั้นให้มีอายุการตรวจลงตรา 10 ปี และอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรได้คราวแรกไม่เกิน 5 ปี สำหรับใช้ได้หลายครั้ง และเมื่อครบระยะเวลาอนุญาต ให้ขยายระยะเวลาขออยู่ต่อได้อีกคราวละไม่เกิน 5 ปี รวมทั้งสิ้นไม่เกิน 10 ปี โดยคนต่างด้าวและผู้ติดตามจะต้องเสียค่าธรรมเนียมการตรวจลงตราปีละ 10,000 บาท

            ในด้านการอนุญาตให้ทำงาน เมื่อคนต่างด้าวได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร คนต่างด้าวที่ประสงค์จะทำงานสามารถยื่นคำขอใบอนุญาตทำงานตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว ทั้งนี้ กำหนดให้ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับเมื่อพ้น 90 วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

 

เรื่องการอนุญาตให้คนต่างด้าวทำงาน

            โดยกระทรวงแรงงาน ได้ยกร่างประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวทำงานในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษโดยมีสาระสำคัญของร่างประกาศคือกำหนดบทนิยามคำว่า “คนต่างด้าว” หมายความว่า คนต่างด้าวและผู้ติดตามซึ่งเป็นคู่สมรสของคนต่างด้าวตามร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนโดยการดึงดูดคนต่างด้าวที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทย และกำหนดให้คนต่างด้าวสามารถยื่นคำขอใบอนุญาตทำงานตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวได้ และเมื่อได้ยื่นคำขอแล้ว ให้คนต่างด้าวสามารถทำงานไปพลางก่อนได้โดยไม่ต้องมีใบอนุญาตทำงาน

            ทั้งนี้กำหนดอายุของใบอนุญาตทำงาน โดยกรณีคนต่างด้าวที่ทำงานโดยมีนายจ้าง ให้ใบอนุญาตทำงานมีอายุเท่าสัญญาจ้าง แต่ไม่เกินห้าปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาตทำงาน และคนต่างด้าวสามารถต่ออายุใบอนุญาตทำงานได้ โดยให้ต่ออายุตามระยะเวลาในสัญญาจ้าง แต่ไม่เกินครั้งละห้าปี  และในกรณีคนต่างด้าวที่ทำงานโดยไม่มีนายจ้าง ให้ใบอนุญาตทำงานมีอายุเท่าที่คนต่างด้าวร้องขอ แต่ไม่เกินห้าปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาตทำงาน และคนต่างด้าวสามารถต่ออายุใบอนุญาตทำงานได้ โดยให้ต่ออายุตามระยะเวลาที่คนต่างด้าวร้องขอ แต่ไม่เกินครั้งละห้าปี

            การอนุญาตให้คนต่างด้าวทำงานเป็นอันสิ้นสุดเมื่อการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรของคนต่างด้าวเป็นอันสิ้นสุดลงตามร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนโดยการดึงดูดคนต่างด้าวที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทย เช่น คนต่างด้าวไม่ดำเนินการตามประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ ขาดคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนด มีพฤติการณ์น่าเชื่อว่าเป็นภัยต่อสังคม เป็นต้น

 

สถิติแรงงานมีฝีมือ

            จากข้อมูลสถิติการทำงานของคนต่างด้าว ของสำนักบริหารแรงงานต่างด้าว กระทรวงแรงงาน (https://bit.ly/3KphOjw) พบว่า ณ เดือนธันวาคม 2561-2564 พบว่าแรงงานมีฝีมือของคนต่างด้าวลดลงตามลำดับ ดังนี้

 

ณ สิ้นเดือนของสิ้นปี               จำนวน (คน)       เปลี่ยนแปลง

เดือนธันวาคม 2561                  161,059                       

เดือนธันวาคม 2562                  169,005                 4.9%

เดือนธันวาคม 2563                  142,996             -15.4%

เดือนธันวาคม 2564                  137,710               -3.7%

 

การประเมินการกระตุ้นเศรษฐกิจ

            จะเห็นได้ว่าจำนวนคนต่างด้าวมีฝีมือลดลงตามลำดับเพราะอุตสาหกรรมสำคัญของคนต่างชาติลดลงตามลำดับ หากมาตรการนี้จะทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายแรงงานเข้ามาในประเทศมากขึ้น ก็คงจะเป็นไปไม่ได้ เพราะขณะนี้อยู่ในช่วง “ขาลง” เป็นหลัก  อย่างไรก็ตาม หากมองในแง่ดีว่า หากมาตรการนี้สามารถกระตุ้นให้คนต่างชาติเข้ามาในประเทศไทยได้ปีละ 10% ภายในเวลา 10 ปี ก็จะสามารถกระตุ้นได้บ้าง โดยการนี้ ดร.โสภณคาดการณ์ว่า จำนวนแรงงานมีฝีมือในประเทศไทยอาจเพิ่มขึ้นเป็น 357,184 คน หรือเพิ่มขึ้น 219,474 คน  หากคนหนึ่งใช้เงินปีละ 500,000 บาท ก็จะทำให้เกิดเงินหมุนเวียนประมาณ 109,737 ล้านบาท ซึ่งก็ยังถือว่าไม่มากนัก ไม่เพียงพอที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจ

            ครั้งหนึ่งทางราชการประเมินว่าจะมีตัวเลขคนต่างชาติเข้ามาอยู่อาศัยในประเทศไทย 1 ล้านคนภายในเวลา 5 ปี ข้อนี้คงเป็นไปไม่ได้ขนาดสหรัฐอเมริกา ยังดึงคนเข้าประเทศมาซื้อบ้านได้แล่ 100,700 หลังในปีที่ผ่านมา ประเทศไทยที่บางคนยังไม่รู้ว่าตั้งอยู่ที่ไหน ย่อมไม่สามารถดึงคนมาได้เท่านี้แน่นอน  ยิ่งกว่านั้นมาเลเซียมีโครงการดึงคนต่างชาติรวยๆ มาอยู่ในประเทศตนเหมือนกัน แต่ใน 17 ปีที่ผ่านมา ทำได้แค่เฉลี่ยปีละไม่ถึง 300 หน่วย (https://bit.ly/3mvhHrI) จึงเป็นเครื่องยืนยันว่าเป็นไปไม่ได้ที่ไทยจะดีงคนได้มากมายเพียงนั้น

 

จำนวนคนต่างชาติที่ซื้ออสังหาริมทรัพย์

            จากข้อมูลล่าสุดของศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย (AREA.co.th) พบการซื้อขายห้องชุดของชาวต่างชาติในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ดังนี้

 

 

 

 

 

            จะเห็นได้ว่าตลอดช่วงโควิด-19 ที่ผ่านมา (ปี 2563-2564) จำนวนผู้ซื้อห้องชุดในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่เป็นชาวต่างชาติลดลงตามลำดับ  แม้ในช่วงปี 2562 ที่มีต่างชาติมาซื้อห้องชุดมากมายก็ถือว่าซื้อเพี่ยง 15% ของมูลค่าเท่านั้น แสดงว่าไม่มากนัก  ดังนั้น ดร.โสภณ จึงเห็นว่าต่อให้มีต่างชาติมาซื้อห้องชุดมากขึ้นในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำและช่วงระบาดของโควิด-19 นี้ ก็คงยังไม่มีจำนวนมากเท่าในช่วงก่อนโควิด-19 (ปี 2562) ด้วยเหตุนี้ ดร.โสภณ จึงเชื่อว่ามาตรการของรัฐนี้จะไม่ได้ผล

 

แนวทางการกระตุ้นการซื้อทรัพย์โดยชาวต่างชาติ

            ในที่นี้เราต้องทำให้การซื้อขายทรัพย์สินในประเทศไทยเป็นไปตามมาตรฐานสากล เช่น

            1. การให้มีการบังคับใช้พระราชบัญญัติการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา เป็นภาคบังคับ ไม่ใช่จะทำก็ได้ ไม่ทำก็ได้ การซื้อขายทรัพย์สินที่มีการวางเงินไว้ชัดเจน จะคุ้มครองผู้ซื้อหรือผู้บริโภค ในต่างประเทศดำเนินการอย่างแพร่หลาย จะปล่อยให้มีการซื้อขายตามยถากรรมไม่ได้

            2. การบริการวิชาชีพ เช่น นายหน้า ผู้ประเมินค่าทรัพย์สินต้องมีการออกใบอนุญาตทางวิชาชีพ มีการประกันทางวิชาชีพอย่างเคร่งครัดเช่นในอารยประเทศ ก็จะทำให้ต่างชาติมีความมั่นใจในการซื้อมากขึ้นว่าจะไม่ถูกเอาเปรียบโดยคู่ค้าคนไทยหรือคนต่างชาติกันเองอย่างไม่เป็นธรรม

อ่าน 3,723 คน
2024 Copyright © by area.co.th All Rights Reserved