กิจการรถไฟลอยฟ้าของเรา เมื่อหมดสัมปทาน ราคาน่าจะลดลงเกือบพอๆ กับรถประจำทางด้วยซ้ำไป เพราะโครงสร้างทุกอย่างตลอดจนตัวรถต้องตกเป็นของรัฐเมื่อครบ 30 ปี แต่ก็น่างงที่ทำไปทำมา กรุงเทพมหานครกลับกลายเป็นหนี้ BTS นับหมื่นล้าน แถมต้องต่อสัญญาและค่าโดยสารก็แพงขึ้นเรื่อยๆ
เรามาลองดูค่าโดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอสว่าควรลดเท่าไหร่
การที่ค่าบริการรถไฟฟ้าของไทยแพงกว่าประเทศอื่นๆ แสดงว่ามีการโก่งค่ารถไฟฟ้าหรือไม่ การบริหารของรัฐหน่อนยาน มีผลประโยชน์ทับซ้อน และผลประโยชน์ไปตกแก่นายทุนแทนที่จะเป็นประชาชนหรือไม่
ค่าบริการรถไฟฟ้าบีทีเอสของเราแสนแพงจริงๆ เรามาเปรียบเทียบกันดู และมาดูว่าความจริงควรมีส่วนลดอย่างไรบ้างสำหรับรถไฟฟ้าบีทีเอสในอนาคต จากการศึกษาเปรียบเทียบพบว่า
ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าค่าโดยสารบีทีเอส “แพงหูฉี่” จริงๆ เทียบกับรถประจำทางแล้วแพงกว่ากันหลายเท่า ถ้านั่งแท็กซี่จากสนามบินสุวรรณภูมิเข้าเมือง นั่งแท็กซี่ยังคุ้มกว่า ยิ่งถ้า 2 คนขึ้นไปยิ่งคุ้มมาก
กิจการรถไฟฟ้าอาจจะกลายเป็นกิจการผูกขาดในอนาคต สัมปทานก็ไม่รู้จักหมดต่อออกไปเรื่อยๆ ทำให้รัฐหรือภาคประชาชนเสียเปรียบหรือไม่ โปรดสังวร
การค้นหาจากเว็บ
Manila 15-30 peso (10-20 บาท) https://lrmc.com.ph/light-rail-manila-one/
Kuala Lumpur 0.8-7.2 ringgit (6-53 บาท)
https://www.myrapid.com.my/clients/Myrapid_Prasarana_37CB56E7-2301-4302-9B98-DFC127DD17E9/contentms/img/faretable_2017/25072017-FareTable-CashlessTnGo.png
Singapore 0.92 - 2.03 (21-46 บาท) https://mrt.sg/fare
Jakarta 3,000-14,000 rupiah (7-30 บาท) https://jakartaglobe.id/context/jakarta-sets-mrt-ticket-price/
Tokyo ทั้งวัน 800 yen (233 บาท หากขึ้นไปกลับก็ตกเที่ยวละ 116 ถ้าค่าครองชีพญี่ปุ่นแพงกว่าไทย 4 เท่า ก็เท่ากับ 29 บาทเท่านั้น) https://www.tokyometro.jp/th/ticket/travel/index.html
New York 2.75 USD (83 บาท ถ้าคิดว่าค่าครองชีพไทยต่ำกว่า 4 เท่า ก็เท่ากับ 21 บาทเท่านั้น)