หลายท่านหลงติดในวัตถุมักบอกว่าคนเหล่านั้น “วัตถุนิยม” แต่อันที่จริง เป็นเพียงการ “นิยมวัตถุ” ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธาน ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส (www.area.co.th) ขออนุญาตบอกว่าคำว่า “วัตถุนิยม” ไม่ใช่การนิยมวัตถุ แต่มีความหมายที่แตกต่างออกไป
วัตถุนิยม ( Materialism )
ใน FB สังคมศาสตร์ (https://t.ly/5O9c5) แนวคิดวัตถุนิยม เป็นคำที่สาขาสังคมวิทยากล่าวถึงอย่างต่อเนื่อง แต่พื้นฐานของความหมายของแนวคิดนี้มาจากพื้นฐานทางปรัชญา หรืออาจจะกล่าวได้ว่าปรัชญาเป็นพื้นฐานของการเกิดความรู้ในหลายแขนง หนึ่งในนั้นก็คือ สังคมศาสตร์เลยก็ว่าได้
ในความหมายของปรัชญา วัตถุนิยมเป็นโลกทัศน์หนึ่งในอีกหลายโลกทัศน์ของการมองความจริงในโลกตามปรัชญาสาขาหนึ่งที่ว่าด้วยความจริง ซึ่งเราเรียกว่า อภิปรัชญา (METAPHYSIC)
นักวัตถุนิยมเห็นว่าวัตถุหรือสสารและปรากฏการณ์ของสสารเป็นสิ่งที่มีอยู่จริง วัตถุคือสิ่งที่มีรูปร่าง ขนาด น้ำหนัก ต้องการที่อยู่ในกาละ เทศะ สิ่งใดที่ไม่สามารถสัมผัสได้ มองเห็นได้ สิ่งนั้นไม่มีอยู่
นอกจากนี้ทัศนะแม่บทหรือกระบวนทัศน์แบบวัตถุนิยมยังมีลักษณสำคัญดังนี้
1. เชื่อในสิ่งที่ค้นหาและตรวจสอบได้อย่างเป็น “ปรนัย”(objective) หรือ “ภววิสัย” คือวิธีที่มีความแน่นอนตายตัว ไม่ขึ้นอยู่กับผู้ค้นหา จึงเห็นด้วยกับ วิธีวิทยาศาสตร์ที่อาศัยการสังเกต ทดลอง วิเคราะห์ สรุปผลอย่างระมัดระวังและรอบคอบ สิ่งใดที่ค้นพบหรือรู้ได้ด้วยวิธีการอื่นใดที่นอกเหนือจากนี้เชื่อถือไม่ได้ และไม่มีอยู่จริง
2. เป็นนัยัตินิยม (determinism) คือเชื่อว่าทุกเหตุการณ์เกิดขึ้นอย่างมีสาเหตุ ไม่มีอะไรเกิดขึ้นอย่างบังเอิญ และต้องเป็นสาเหตุที่ตรวจสอบได้ เช่น สาเหตุทางฟิสิกส์-เคมี หรือทางชีววิทยา หรืออาจจะเป็นสาเหตุจากจิตวิทยา ทางสังคมวิทยา ตลอดจนทางมานุษยวิทยาก็ได้
3. ปฏิเสธของอสสารและสิ่งเหนือธรรมชาติ เพราะฉะนั้น เทพเจ้า ผี จิตญญาน โลกหน้า การตายแล้วเกิด การเข้าใจส่วนย่อยจะทำให้เข้าใจส่วนใหญ่ สรรพสิ่งแตกต่างกันที่ปริมาณหรือความซับซ้อนของธาตุพื้นฐาน ส่วนคุณภาพไม่แตกต่างกัน คนกับก้อนหินต่างกันเพราะจำนวนธาตุ
4. เห็นว่าค่าต่างๆเช่น ความดี ความงาม เป็นสิ่งสมมติ ไม่มีอยู่จริง พวกวัตถุนิยมเห็นว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้นใหม่ ไม่มีอะไรหายไป มีแต่การเปลี่ยนแปลงจำนวนและที่อยู่ของสสารเท่านั้นเอง นี้คือความจริง(truth) ในทัศนะของพวกเขา
ที่มา เอกสารประกอบการสอนวิชาปรัชญาเบื้องต้น ภาคเรียนที่ 2/61
โดย รศ. จารุณี วงศ์ละคร