เรื่องแลนด์บริดจ์ของรัฐบาล ฟังแล้วสบายใจขึ้นแยะ
  AREA แถลง ฉบับที่ 103/2567: วันจันทร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ 2567

ผู้แถลง: ดร.โสภณ พรโชคชัย
ประธาน ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย
บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส sopon@area.co.th https://www.facebook.com/dr.sopon4

            มาฟังคำชี้แจงของทางราชการเกี่ยวกับการสร้างแลนด์บริดจ์กันว่าท่านเห็นอย่างไรบ้าง มีอะไรพึงแก้ไข พึงเพิ่งเติมบ้างหรือไม่ ช่วยกันดูเพราะโครงการนี้เป็นของชาติไทยเราโดยรวม

            1. จะมีการสร้างโรงกลั่นน้ำมันหรือโรงแยกก๊าซหรือไม่:           ในแผนการพัฒนาโครงการ ไม่มีกลุ่มอุตสาหกรรมประเภทโรงกลั่นน้ำมัน โรงแยกก๊าซ หรือ การแปรรูปผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ส่วนเรือสินค้าที่เข้า-ออกและเทียบท่า บางครั้งอาจมีความจำเป็นต้องเติมน้ำมัน โครงการจึงออกแบบผังแม่บทการใช้พื้นที่ท่าเรือให้มีพื้นที่ส่วนท่าเรือบริการน้ำมัน (Bunkering Service) สำหรับรองรับกิจกรรมดังกล่าว ทั้งนีการก่อสร้างถังเก็บน้ำมันสำเร็จรูปต่าง ๆ จะเป็นหน้าที่ของผู้ประกอบการหรือผู้ลงทุนที่จะเข้ามาดำเนินกิจการในอนาคต ซึ่งต้องมีการออกแบบและขออนุญาตตามขั้นตอนและกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป

            2. อุตสาหกรรมที่จะพัฒนาเป็นอุตสาหกรรมประเภทใด: จะเป็นอุตสาหกรรมต่อเนื่องให้ประชาชนในพื้นที่ได้พัฒนาเพิ่มผลผลิตในพื้นที่ เช่น การแปรรูปยางพารา ปาล์มน้ำมัน ผลไม้ อาหารทะเล อาหารฮาลาล และอุตสาหกรรมไฮเทค เป็นต้น ทั้งนี้ หากอุตสาหกรรมที่จะมีการพัฒนาเข้าข่ายประเภทโครงการที่ต้องมีการศึกษาและประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ผู้ประกอบการต้องดำเนินการศึกษาและประเมินผลกระทบ เพื่อประกอบการขออนุญาตก่อสร้างและดำเนินการตามที่กฎหมายกำหนด

            3. โครงการแลนด์บริดจ์จะใช้ระยะเวลาในการขนส่งและงบประมาณเท่าไร:         โครงการแลนด์บริดจ์ จะมีการบูรณาการรูปแบบการขนส่งเชื่อมโยงสองท่าเรือ และระบบขนส่งด้วยทางรถไฟและทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง ซึ่งจะช่วยให้สามารถลดระยะเวลาขนส่งผ่านช่องแคบมะละกา ลงได้อย่างน้อยประมาณ 5 วัน ทั้งนี้ คาดว่าตลอดโครงการจะใช้งบประมาณลงทุนรวมประมาณ 1 ล้านล้านบาท โดยแบ่งระยะการพัฒนาและเปิดให้เอกชนร่วมลงทุนกับภาครัฐในรูปแบบ Public Private Partnership (PPP)

            4. ปัญหาการรั่วไหลของน้ำมัน/คราบน้ำมัน: จะมีการศึกษาผลกระทบน้ำมันรั่วไหล/คราบน้ำมัน ทั้งในช่วงก่อสร้างและดำเนินการ เพื่อกำหนดแผนและทีมปฏิบัติงานจัดการเหตุรั่วไหล ตลอดจนการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเข้าช่วยเหลือและระงับเหตุตามแผนป้องกันและขจัดมลพิษทางน้ำ

            5. สินค้าที่มาใช้บริการท่าเรือมีอะไรบ้าง มาจากที่ใด: ได้แก่:

            - สินค้ากลุ่มนำเข้า/ส่งออก โดยผ่านท่าเรือระนอง และท่าเรือชุมพร จะมาจากทุกส่วนของประเทศ เช่น EEC EEC ภาคกลาง เป็นต้น

          - สินค้าเกษตร ผลผลิตจากการยางพารา ปาล์ม น้ำมัน และอุตสาหกรรมแปรรูป ผักผลไม้ จากภาคใต้

          - เน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลให้ศูนย์กลางอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลโลก

          - สินค้าจากการพัฒนาอุตสาหกรรมหลังท่าซึ่งเป็นอุตสาหกรรม AI อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ

          - สินค้าผ่านแดน (Transit and Transshipment) Transit and Transshipment) Transit and Transshipment) Transit and Transshipment) ที่มาจากทั้งการเชื่อม 2 ฝั่งทะเลและจีนตอนใต้

            6. ออกแบบเส้นทางโดยให้คำนึงถึงปัญหาน้ำท่วมขัง การออกแบบรายละเอียดแนวเส้นทางจะต้องมีการสำรวจสภาพปัจจุบันของพื้นที่โครงการ โดยจะมีการพิจารณารูปแบบการก่อสร้าง ให้เหมาะสมกับสภาพบริบทของพื้นที่ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาขวางทางน้ำ เช่น การออกแบบเป็นทางยกระดับ เป็นต้น

            7. จะกระทบกับวิถีชีวิตของชุมชน และประมงพื้นบ้านในการเดินทางหรือไม่ ประมงพื้นบ้านสามารถสัญจรลอดผ่านสะพานข้ามหรือบริเวณที่เป็นร่องน้ำเดินเรือได้ตามปกติ โครงการจะมีระบบควบคุมการเดินเรือเข้าออก เพื่อความปลอดภัยของการเดินเรือเข้าเทียบท่า และจะมีการกำหนดพื้นที่การทำประมงนอกเขตพื้นที่เดินเรือของโครงการที่ชัดเจนเพื่อความปลอดภัยของกลุ่มประมงในพื้นที่

            8. จะมีมาตรการในการชดเชยเยียวยากับผู้ได้รับผลกระทบอย่างไร จะมีการแต่งตั้งคณะกรรมการกลางมาพิสูจน์หาสาเหตุ รวมทั้งการจัดการเรื่องการเยียวยา ในกรณีที่พิสูจน์ได้ว่าชุมชนและกลุ่มประมงได้รับผลกระทบอันมีสาเหตุมาจากการดำเนินงานของโครงการ โดยคณะกรรมการฯ จะประกอบด้วยตัวแทนจาก 3 ฝ่าย คือ เจ้าของโครงการ ภาครัฐ และภาคประชาชน

            9. แลนด์บริดจ์เป็นโครงการขนาดใหญ่ที่มีความเกี่ยวข้องกับภาครัฐหลายหน่วยงานและแต่ละหน่วยงานมีการให้ข้อมูลแยกส่วนกัน ทำให้เกิดความสับสนและความเข้าใจที่ไม่ชัดเจนหรือไม่

                - แลนด์บริดจ์ เป็นโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคม ตามมติ ครม. เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน โดยมี สนข. เป็นหน่วยงานที่ศึกษาในภาพรวมทั้งหมด ตั้งแต่การพัฒนาท่าเรือ และการเชื่อมโยงระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน

                - การพัฒนาถนนกำกับดูแลโดย กรมทางหลวง / การพัฒนาเส้นทางรถไฟกำกับดูแลโดย การรถไฟแห่งประเทศไทย

                - แต่ละโครงการจะมีการศึกษาและจัดท้ารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม แยกตามประเภทโครงการ ซึ่งเป็นไปตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกำหนด

            10 . สนข. ได้ทำการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (SEA) SEA) SEA) หรือไม่: สนข. ได้ดำเนินการศึกษาผลกระทบเชิงยุทธศาสตร์ (SEA) สำหรับการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ ในช่วงปี พ.ศ. 2559 ที่ผ่านมา สำหรับใช้เป็นกรอบการพิจารณาตัดสินใจของรัฐบาลในการพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ในพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้

            11 . การพัฒนาโครงการจะก่อให้เกิดการฟุ้งกระจายของตะกอนในทะเลเกิดการกัดเซาะในพื้นที่และกระแสน้ำเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่: ศึกษาผลกระทบจากการฟุ้งกระจายของตะกอนในทะเลและการกัดเซาะชายฝั่ง โดยจะมีการลงพื้นที่ เพื่อศึกษาข้อมูลสภาพปัจจุบัน และใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ ในการจำลองการฟุ้งกระจายของตะกอน จากการก่อสร้างโครงการ ซึ่งจะสามารถระบุบริเวณพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบได้ ทั้งนี โครงการจะนำผลการศึกษาดังกล่าวมากำหนดมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น พร้อมทั้งกำหนดมาตรการชดเชยเยียวยาแก่ประชาชนในพื้นที่ต่อไป

            12 . แจ้งให้ชุมชนทราบก่อนจะมีการดำเนินการต่าง ๆ ในพื้นที่ เช่น การสำรวจพื้นที่ การปักหมุดที่ดิน เป็นต้น: การสำรวจหมุดพิกัดอ้างอิงของที่ปรึกษาการรถไฟแห่งประเทศไทย ดำเนินโครงการก่อสร้างทางรถไฟ ช่วงชุมพรท่าเรือน้ำลึกระนอง จะมีการแจ้งข้อมูลกิจกรรมต่าง ๆ ให้ผู้นำชุมชนในพื้นที่ได้รับทราบก่อนการดำเนินโครงการและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง

            13 . หลักเกณฑ์พิจารณาการเวนคืนที่ดิน:

            - พื้นที่ที่มีเอกสารสิทธิ์ พิจารณาภายใต้พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2562 สำหรับราคาในการจ่ายค่าทดแทนให้กับผู้ได้รับผลกระทบ คณะกรรมการกำหนดราคาฯ จะนำปัจจัยหลาย ๆ ด้านมาประกอบการพิจารณา โดยจะไม่ใช้ราคาประเมินทุนทรัพย์มากำหนดราคา เนื่องจากราคาประเมินทุนทรัพย์เป็นราคาที่ต่ำกว่าความเป็นจริงมาก

                - พื้นที่ที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์/ที่ดิน ส.ป.ก. ประสานกับกระทรวงเกษตรฯ และจะเจรจาด้านผลประโยชน์จากผู้ใช้ประโยชน์ในที่ดินของ ส.ป.ก. โดยมีแนวทางเพื่อเสนอประกอบการอนุมัติโครงการฯ เช่น การชดเชยค่ารื้อย้าย ค่าชดเชยพืชผล ต้นไม้ การหรือจัดที่ดิน ส.ป.ก. แปลงอื่นให้ หรือการจัดซื้อที่ดินแปลงใหม่ รวมถึงเงินเยียวยาที่ต้องโยกย้ายออกจากที่ดิน เป็นต้น

            14 . มีหลักเกณฑ์การพิจารณาการชดเชยพืชพรรณ ต้นไม้ในกรณีที่ถูกเวนคืนอย่างไร: การพิจารณาการชดเชยต้นไม้ที่มีมูลค่า อ้างอิงจากราคาของสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจกรรมพลังงาน โดยมีรายชื่อบัญชีประเภทไม้ยืนต้น จ้านวน 412 ชนิด บัญชีรายชื่อประเภทไม้ล้มลุก จ้านวน 154 ชนิด ทั้งนี้ ในกรณีไม่พบรายชื่อพันธุ์ไม้ตามบัญชีอ้างอิง ทางคณะกรรมการพิจารณาเทียบเคียงจากชนิด ประเภทที่ใกล้เคียงที่สุดในการพิจารณาราคาค่าเวนคืน

            15 . มีการสร้างการรับรู้สร้างและความเข้าใจให้กับประชาชนในพื้นที่อย่างไร: ลงพื้นที่เพื่อประชาสัมพันธ์เชิงรุก เพื่อให้เกิดความเข้าใจ การรับรู้ ภาพรวมในการพัฒนาโครงการ โดยกำหนดช่องทางการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ให้ครอบคลุมและทั่วถึงกลุ่มเป้าหมาย ด้วยรูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนที่หลากหลาย ทั้งการเข้าพบผู้บริหารหน่วยงานราชการ การจัดสัมมนาโครงการ การลงพื้นที่ประชาสัมพันธ์เชิงรุก และการจัดประชุมกลุ่มย่อย และเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วน สามารถเข้าร่วมแสดงความคิดเห็น นำเสนอข้อมูลหรือข้อเสนอแนะที่เกี่ยวข้องตลอดระยะเวลาศึกษาโครงการ

            16. ผลกระทบต่อพื้นที่เขตอุทยานแห่งชาติ เขตป่าชายเลน พื้นที่ทะเลและชายฝั่ง สัตว์น้ำและสัตว์ป่า การเวนคืนที่ดิน และการอพยพย้ายถิ่นฐาน: ในการศึกษาและจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EHIA) โครงการจะมีการรวบรวมข้อมูลและสำรวจข้อมูลพื้นฐานด้านสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องครอบคลุมปัจจัยทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมทางชีวภาพ คุณค่าต่อการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ และคุณค่าต่อคุณภาพชีวิต เพื่อศึกษาและประเมินผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกิจกรรมของโครงการ และกำหนดมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น พร้อมทั้งกำหนดมาตรการชดเชยเยียวยาแก่ผู้ได้รับผลกระทบในพื้นที่ต่อไป

            17. การจัดการน้ำจืดและปัญหาการแย่งน้ำใช้จากธรรมชาติที่ประชาชนใช้อยู่ไปใช้ในภาคอุตสาหกรรม: ในการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการจะต้องมีการสำรวจการใช้แหล่งน้ำในพื้นที่ เพื่อวางแผนและออกแบบไม่ให้กระทบกับผู้ใช้แหล่งน้ำเดิม และกำหนดมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมต่อไป

            18. การพัฒนาโครงการจะเป็นการท้าลายทรัพยากรธรรมชาติและวิถีชีวิตชุมชนหรือไม่: โครงการจะยึดหลักการพัฒนาแบบยั่งยืน เพื่อให้โครงการสามารถอยู่ร่วมกับชุมชนควบคู่กับการดูแลด้านสิ่งแวดล้อมได้ โดยมุ่งส่งเสริมและสนับสนุนการประกอบอาชีพของคนท้องถิ่นผ่านกิจกรรมชุมชนสัมพันธ์และกิจกรรมเพื่อสังคม (CSR) โดยมีแหล่งเงินทุนในระยะก่อสร้าง จากผู้รับเหมาก่อสร้างหรือผู้ดำเนินการถมทะเลสมทบเงินเข้ากองทุนสำหรับระยะดำเนินการ ผู้ประกอบการท่าเรือแต่ละแห่งบนพื้นที่ถมทะเลจะเป็นผู้สมทบเงินเข้ากองทุนเป็นรายปี

 

            จะสร้างแลนด์บริดจ์ดีหรือไม่ ทุกฝ่ายต้องช่วยกันคิด และร่วมกันทำเพื่อส่วนรวม

 

ภาพประกอบ: จาก สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร

อ่าน 1,218 คน
2024 Copyright © by area.co.th All Rights Reserved