พอดี ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส (www.area.co.th) ไปงานศพญาติผู้ใหญ่ที่วัดเวฬุราชิณ จึงได้มีโอกาสเข้าวัดนี้ และขอเล่าถึงวัดนี้ (โปรดดูรายละเอียดวัดจาก google ที่คัดลอกมาแสดง ณ ที่นี้ด้วย ช่วงเวลาในการสร้างวัดคาบเกี่ยวกัน 2 แผ่นดิน คือ รัชกาลที่ 3 และรัชกาลที่ 4
ผู้สร้างวัดคือ เจ้าพระยาพลเทพ (เอี่ยม ชูโต) โดยได้นำเงิน ค่าภาษีไม้ไผ่สีสุกที่ท่านเป็นเจ้าภาษีรับสัมปทานผูกขาดการเก็บอยู่มาใช้เป็นค่าสร้างวัด แต่เดิมใช้ชื่อวัดว่า วัดท้องคุ้ง ตามสภาพภูมิศาสตร์ที่ตั้งวัดที่เป็นคุ้งใหญ่ในคลองบางกอกใหญ่ สร้างเสร็จในสมัยรัชกาลที่ 4 จึงได้น้อมเกล้าฯ ถวายเป็นพระอารามหลวง ได้รับพระราชทานนามว่า วัดเวฬุราชิณ ซึ่งแปลว่า วัดซึ่งเกิดจากหนี้ภาษีไม้ไผ่ของพระราชา ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 4 พระยาพิศาลศุภผล (ชื่น พิศาลบุตร) และขุนตาลวโนชากร (นิ่ม เสนะวัต) ได้ร่วมกันปฏิสังขรณ์วัดใหม่ทั้งหมด เป็นการปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่เท่ากับเป็นการสร้างวัดใหม่ ต่อมาพระไพโรจน์ธรรมาภรณ์เป็นเจ้าอาวาสได้บูรณะวัด
พระอุโบสถ มีลักษณะสถาปัตยกรรมทรงไทย หลังคาลด 2 ชั้น มุงกระเบื้อง ประดับช่อฟ้าใบระกา หางหงส์ ซุ้มประตูหน้าต่างเป็นลายปูนปั้นงดงาม ภายในมีจิตรกรรมฝาผนังเล่าเรื่องชาดก เหนือหน้าต่างเป็นภาพเทพพนม พัดแฉกคนธรรพ์ และเทพบันเทิงฝาผนังหลังพระประธาน เป็นภาพพระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมเทศนาโปรดพระพุทธมารดา พระประธาน เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย พระวิหารทิศ 4 หลังมีมุขลดหน้าบันจำหลักไม้เป็นรูปพระพุทธเจ้าแสดงพระธรรมเทศนาแก่เหล่าเทวดา มีพระพุทธสีหไสยาสน์ประดิษฐานประดิษฐานอยู่ภายใน ส่วนพระเจดีย์ทรงลังกาอยู่หลังพระอุโบสถ ตั้งอยู่บนฐานทักษิณสี่เหลี่ยม
https://vt.tiktok.com/ZSF4LkhYa/