มักมองว่าธุรกิจอาบอบนวดเป็นธุรกิจที่หมดอนาคตแล้ว จริงหรือไม่ มาลองพิจารณาดู แล้วถ้าไม่พัฒนาที่ดินเป็นอาบอบนวด เป็นอะไรดี
ธุรกิจอาบอบนวดมีมากที่สุดในปี 2556 ถึง 527 แห่งในเขตกรุงเทพมหานครเพียงอย่างเดียว และในปี 2547 มีอยู่ 390 แห่ง แสดงว่ามีการเจริญเติบโตสูงมาก แต่ทั้งนี้สถานอาบอบนวดเหล่านี้ ส่วนหนึ่งรวมไปถึงสปาและอื่นๆ ที่มีขนาดใหญ่และที่เกี่ยวข้องด้วย จึงทำให้ตัวเลขดูสูงมาก
อย่างไรก็ตามล่าสุด ณ ปี 2567 พบว่าในกรุงเทพมหานครมี “อาบอบนวด” แท้ๆ อยู่เพียง 71 แห่ง โดยเขตที่มีมากที่สุดก็คือ เขตดินแดง 19 แห่ง รองลงมาคือเขตห้วยขวาง 18 แห่ง เขตราชเทวีมี 9 แห่ง และเขตบางพลัดมี 4 แห่ง นอกนั้นก็กระจัดกระจายทั่วไป เช่น คลองหกวา บางกะปิ บางเขน บางคอแหลม ปทุมวัน พญาไท ภาษีเจริญ ยานนาวา วังทองหลาง วัฒนา สนวนหลวง วัฒนา สะพานสูงและสัมพันธวงศ์ โดยแบ่งเป็นเขตละ 1-2 แห่งเท่านั้น
ส่วนในจังหวัดภูมิภาคมีอยู่อีก 29 แห่ง ประกอบด้วยชลบุรี มากที่สุด 6 แห่ง นครราชสีมา 4 แห่ง นอกนั้นมีเพียง 1-2 แห่งต่อจังหวัด อันได้แก่ กระบี่ ขอนแก่น จันทบุรี เชียงใหม่ นครปฐม นนทบุรี ภูเก็ต ระยอง สมุทรปราการ สระบุรี สุโขทัย สุราษฎร์ธานี สุรินทร์ อุดรธานี และอุบลราชธานี
อาบอบนวดที่มีทุนจดทะเบียนสูงๆ 14 อันดับแรกได้แก่:
อันดับ | จังหวัด | เขต/อำเภอ | ชื่อสถานอาบอบนวด | ทุนจดทะเบียน (ล้านบาท) |
1 | กรุงเทพมหานคร | เขตห้วยขวาง | ยูโทเปีย เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ คอมเพล็กซ์ | 300,000,000 |
2 | กรุงเทพมหานคร | เขตราชเทวี | พลาซ่า 88 | 270,000,000 |
3 | กรุงเทพมหานคร | เขตห้วยขวาง | ลา เบลล์ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ คอมเพล็กซ์ | 150,000,000 |
4 | นนทบุรี | เมืองนนทบุรี | เวลธี พิลล่าร์ | 100,000,000 |
5 | กรุงเทพมหานคร | เขตห้วยขวาง | ทวีชัยสมบุญ | 80,000,000 |
6 | กรุงเทพมหานคร | เขตบางพลัด | เจ้าพระยาพาเลซ | 64,000,000 |
7 | กรุงเทพมหานคร | เขตภาษีเจริญ | เมลโรส พลาซ่า | 36,000,000 |
8 | กรุงเทพมหานคร | เขตดินแดง | เดอะ ลอร์ด สปา | 35,000,000 |
9 | จันทบุรี | เมืองจันทบุรี | บูรพา บารมี | 30,000,000 |
10 | กรุงเทพมหานคร | เขตบางพลัด | พี.79 | 15,000,000 |
11 | กรุงเทพมหานคร | เขตบางเขน | โพธิ์วัชร | 12,500,000 |
12 | กรุงเทพมหานคร | เขตพญาไท | นทีทิพย์ | 12,000,000 |
13 | กรุงเทพมหานคร | เขตดินแดง | พี.พี.ที.เอส.คอนสตรัคชั่น | 11,000,000 |
14 | ชลบุรี | บางละมุง | เย็นสบาย | 10,000,000 |
ที่มา: https://www.dataforthai.com/business/objective/96305 |
ในสถานประกอบการอาบอบนวด 527 แห่งในปี 2556 แต่ละแห่งอาจมีผู้ให้บริการประมาณ 50 คน หรือเป็นผู้ให้บริการรวมประมาณ 50,000 คน หากสมมติให้รายได้จากการนวดเป็นเงินคนละ 1,500 บาท โดยคนหนึ่งทำงานประมาณ 3 ครั้งต่อวัน ก็จะเป็นเงินประมาณ 82,125 ล้านบาทต่อปี แต่สำหรับผลการศึกษาเมื่อปี 2550 อาบอบนวดมีมูลค่าอยู่ที่ 23,803 ล้านบาท (http://bit.ly/2FKvX9G) อย่างไรก็ตามหากถือตามตัวเลขประมาณการล่าสุดหรือใน 10 ปีต่อมา (ปี 2560) โดยทั่วไปเจ้าของสถานที่น่าได้ประมาณ 50% ของสถานที่หรือราว 41,062.5 ล้านบาท หากสมมติต้องจ่ายส่วยหรือให้บริการฟรีแก่ "คนมีสี" ประมาณ 30% ก็คงเป็นเงิน 12,318.75 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม ในเดือนธันวาคม 2559 จัดเก็บภาษีสถานอาบอบนวดได้ทั่วประเทศประมาณ 10.22 ล้านบาท (http://bit.ly/2rcRR1X) หากประมาณการทั้งปีคงเป็นเงินเพียง 122.64 ล้านบาท เงินนับหมื่นล้านบาทที่หายไปก็คือเงินนอกระบบนั่นเอง หากมีการเสียภาษีถูกต้อง เงินเหล่านี้น่าจะนำมารณรงค์การไม่เที่ยวผู้หญิง/ผู้ชาย รักษาพยาบาลและป้องกันโรคที่เกี่ยวข้องกับเพศสัมพันธ์ คุ้มครองผู้ให้และผู้ใช้บริการโดยตัดระบบการค้ามนุษย์ สร้างความโปร่งใสในธุรกิจ และทำให้สังคมมีทางระบายทางเพศ เพื่อประโยชน์ของความกลมเกลียวในครอบครัว (สำหรับคู่ครองจำนวนหนึ่ง) ฯลฯ
การมีใบอนุญาตที่ถูกต้อง มีการควบคุมการค้าประเวณีที่ถูกกฎหมาย จะช่วยให้สังคมมีสุขและไม่เกิดปัญหา ไม่ต้องกลัวว่าจะทำให้เกิดการเที่ยวใช้บริการทางเพศมากขึ้น ประเทศที่มีการค้าประเวณีถูกกฎหมาย หรือมีบ่อนถูกกฎหมาย ก็ไม่ปรากฏว่ามีการเสพกันมากขึ้นแต่อย่างใด
เมื่อพิจารณาในแง่การเงิน ในปัจจุบันโรงแรม 3 ดาวทั่วไปอาจมีอัตราการเข้าพัก 60% หากมีห้องพัก 100 ห้อง และมีรายได้สุทธิอยู่ที่ 1,000 บาท ก็จะเป็นเงินเดือนละ 1,800,000 บาทต่อเดือน อย่างไรก็ตามหากเป็นในกรณีอาบอบนวด 100 ห้อง หากได้ค่าห้องสุทธิเพียง 600 บาทต่อห้อง (ตามภาวะตลาดในปัจจุบัน) แต่มีคนมาใช้บริการวันละ 1 รอบ ก็จะได้เงิน 1,800,000 บาท/เดือนเช่นกัน แต่รายได้ทางอื่น เช่น อาหารเครื่องดื่ม น่าจะได้มากกว่าโรงแรมทั่วไป ดังนั้นในชั้นนี้ โอกาสที่อาบอบนวดจะล้มหายตายจากไปจึงยังมาไม่ถึง หากยิ่งมีการผสานระหว่างการเป็นโรงแรมกับการเป็นโรงนวด การเป็นร้าน Spa (ชั้นค่อนข้างดี) ก็ยิ่งจะมีโอกาสมากขึ้นในการดำรงอยู่
อย่างไรก็ตามหากราคาที่ดินเพิ่มสูงขึ้นเพราะตั้งอยู่ในทำเลดี ก็น่าจะขายกิจการทิ้งได้ เช่น ในกรณีโรงนวดหรือโรงแรมที่สร้างรายได้สุทธิได้เดือนละ 1,800,000 บาท หรือปีละ 21,600,000 ล้านบาท ก็จะมีมูลค่ารวม 270 ล้านบาท (ณ อัตราผลตอบแทนที่ 8%) หากที่ดินที่ตั้งโรงการมีขนาด 1.5 ไร่โดยประมาณ ก็เท่ากับเป็นที่ดินในราคา 450,000 บาทต่อตารางวา (ตัดทิ้งค่าสิ่งก่อสร้างและอื่นๆ) ดังนั้นหากราคาที่ดินเพิ่มขึ้นเป็น 1 ล้านบาทต่อตารางวา การขายกิจการทิ้งจึงจะดีกว่า ไม่ต้องยุ่งยากในการทำธุรกิจนี้ หรืออาจนำเงินไปทำธุรกิจอื่นก็ได้
อย่างไรก็ตามธุรกิจอาบอบนวดก็ยังไม่ตายไปเสียหมด ยังมีอุปสงค์และอุปทานในสัดส่วนที่พอๆ กันอยู่