ในอนาคตการก่อสร้างแบบ Precast จะแทนที่การก่อสร้างก่ออิฐฉาบปูนและจะลดต้นทุนค่าก่อสร้างได้จริง เหมาะกับอุตสาหกรรมก่อสร้างในอนาคต
เร็วๆ นี้ ผมในฐานะประธานเจ้าหน้าที่บริหารได้พาคณะดูงานอสังหาริมทรัพย์จำนวน 45 ท่านไปประเทศเยอรมนี โดยเป้าหมายหลักก็คือเทคโนโลยีการสร้างบ้านแบบพรีคาสท์ (Precast) ซึ่งเป็นที่นิยมในปัจจุบัน โดยได้ไปชมโรงงานประเภทนี้ถึง 2 แห่ง เพื่อนำเทคโนโลยีเหล่านี้มาปรับใช้ในประเทศไทย เพื่อให้การก่อสร้างบ้านในประเทศไทยมีประสิทธิภาพสูงขึ้นอีก
การก่อสร้างแนวใหม่นี้เป็นระบบการก่อสร้าง (กึ่ง) อัตโนมัติ ใช้ระบบพรีคาสท์ (precast) ที่มักหล่อหรือการเทในแบบ โดยนำเอาชิ้นส่วนคอนกรีตเสริมเหล็กสำเร็จรูปมาประกอบหรือติดตั้งเป็นชิ้นงานเป็นบ้าน แผ่นคอนกรีตสำเร็จรูปยังสามารถผลิตหรือหล่อสำเร็จได้ทั้งที่ๆ ตั้งโครงการ ซึ่งเรียกว่าแบบหล่อกับที่ (Site Cast) กับแบบหล่อจากโรงงาน (Plant Cast) ทั้งนี้หลักการสำคัญของบ้านพรีคาสท์คือไม่มีคานและเสา แต่เป็นระบบโครงสร้างผนังรับน้ำหนักสำเร็จรูปเป็นแผ่นธรรมดา หรือเป็นผนังคอนกรีตเสริมเหล็กสำเร็จรูปแบบแซนด์วิช เว้นช่องไว้สำหรับเทคอนกรีตเชื่อมซึ่งมักใช้ในประเทศที่มีอากาศหนาว เป็นต้น
บริษัทแรกที่ไปดูคือบริษัท Weckenmann Anlagentechnik GmbH บริษัทแห่งนี้ทำมา 2 ชั่วรุ่นแล้ว มีพนักงานอยู่ราว 150 คน มีรายได้ประมาณ 1,200 ล้านบาทต่อปี (ใช้อัตราแลกเปลี่ยนที่ 40 บาทต่อยูโร) สามารถสร้างแบบชิ้นส่วนคอนกรีตเสริมเหล็กสำเร็จรูปในการก่อสร้างอาคารประเภทต่าง ๆ ทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก มีลูกค้าอยู่ทั่วไปทั้งในยุโรป รวมถึงรัสเซียอีกด้วย จุดขายสำคัญของบริษัทนี้ก็คือการมีเทคโนโลยีเฉพาะตัวที่พัฒนามาอย่างต่อเนื่อง มีคุณภาพของแผ่นชิ้นส่วนสำเร็จรูปที่ดี และมีหลักประกันสำหรับสินค้าของบริษัท
สำหรับสินค้าและบริการของบริษัทนี้เริ่มตั้งแต่การช่วยวางแผนและออกแบบผลิตภัณฑ์ชิ้นส่วนคอนกรีตเสริมเหล็กสำเร็จรูปที่ จะเหมาะกับงานในบริษัทพัฒนาที่ดินหนึ่ง ซึ่งงานส่วนนี้ถือเป็นงานหลักของบริษัท นอกจากนี้ยังสามารถช่วยในส่วนของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ่านการศึกษาวิจัย การก่อสร้างและประกอบอาคารในภาคสนาม ตลอดจนการบริการและการสนับสนุนหลังการขาย เพื่อให้การก่อสร้างอาคารของบริษัทพัฒนาที่ดินแต่ละแห่งมี
Service and Support
โรงงานที่สองที่ไปชมคือโรงงาน EBAWE Anlagentechnik GmbH โดยโรงงานนี้ก่อตั้งในปี 2516 มีรายได้ถึง 6,800 ล้านบาท มีพนักงาน 400 คน มีโรงงานผลิตชิ้นส่วนคอนกรีตเสริมเหล็กสำเร็จรูปอยู่ถึง 30 โรงงานทั่วเยอรมนี และให้บริการขนส่งชิ้นส่วนไปก่อสร้างในระยะทางไม่เกิน 200 กิโลเมตรจากโรงงานแต่ละแห่ง ในแต่ละวันใช้ปูนถึง 120 ลูกบาศก์เมตร ผลิตชิ้นส่วนสำเร็จรูปได้ถึง 1,600 ตารางเมตร ในการตั้งโรงงานผลิต ณ ที่แห่งหนึ่ง มีค่าก่อสร้างอาคารประมาณ 80 ล้านบาท และค่าเครื่องจักรประมาณ 320 ล้านบาท ใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 9 เดือนโดยประมาณ
สำหรับราคาขายชิ้นส่วนสำเร็จรูปนั้น ในกรณีกำแพง คิดเป็นเงินตารางเมตรละ 1,400 บาท ส่วนพื้นมีราคาตารางเมตรละ 600 บาท หากบิรษัทใดสนใจซื้อเทคโนโลยีควรจะมีผู้ไปฝึกงานที่บริษัทประมาษร 10 คนๆ ละประมาณ 2-3 เดือน ในกรณีที่นำมาผลิตในประเทศไทย จะผลิตบ้านได้ประมาณ 150 หลังต่อเดือน และใช้ระยะเวลาในการคืนทุนประมาณ 7 ปี
การใช้ระบบ Precast นี้ สำหรับประเทศไทยอาจจะไม่ได้ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง แต่ช่วยร่นระยะเวลา ซึ่งเป็นการประหยัดต้นทุนทางการเงิน แต่ในอนาคตอาจลดค่าใช้จ่ายได้ด้วย เพราะค่าแรงในประเทศไทยจะแพงขึ้นเรื่อยๆ ในกรณีประเทศเยอรมนี การใช้ระบบ Precast ช่วยลดต้นทุนค่าก่อสร้าง 20% จากระบบการก่อสร้างแบบก่ออิฐฉาบปูนทั่วไป และใช้ระยะเวลาสั้นกว่า จาก 8 เดือน เหลือเพียง 4 เดือน
สำหรับในประเทศไทย บมจ.พฤกษา เรียลเอสเตท เป็นบริษัทแรก ๆ ที่นำระบบ Precast มาใช้จนประสบความสำเร็จเป็นบริษัทพัฒนาที่ดินที่มียอดขายสูงสุด โดยข้อดีของเทคโนโลยีนี้ก็คือ คุณภาพในการก่อสร้างที่แทบไม่ผิดเพี้ยน มีความแข็งแรงทนทาน แลดูเรียบสวย ช่วยเพิ่มพื้นที่ใช้สอยเพราะไม่มีเสา และยังถือว่าเป็นเทคโนโลยีการก่อสร้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ไม่ไปรบกวนผู้อยู่อาศัยโดยรอบอีกด้วย
ในปัจจุบัน บริษัทใหญ่ ๆ มีโรงงาน Precast เป็นของตนเอง แต่ในอนาคต การก่อสร้างของบริษัทเล็ก ๆ จะมีบริษัทรับสร้างบ้านด้วยระบบ Precast มากขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า การก่อสร้างบ้านจะเป็นในเชิงอุตสาหกรรมมากขึ้นและควรที่ไทยจะส่งออกเทคโนโลยีการก่อสร้างนี้ไปสู่ประเทศเพื่อนบ้าน นำไทยเป็น "พี่ใหญ่" ในวงการอสังหาริมทรัพย์ในอาเซียน
การฟังบรรยายสรุป ณ โรงงาน Weckenmann
คณะดูงานทั้งหมด ณ โรงงาน EBAWE
แบบหล่อที่ตั้งอยู่ภายในโรงงาน Weckenmann
แบบหล่อพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กสำเร็จรูปในโรงงาน EBAWE
การก่อสร้างแบบ Precast ในนครเซนต์ปีเตอร์สเบอร์กในรัสเซีย