ราคาประเมินค่าก่อสร้างอาคาร ณ ธันวาคม 2567
  AREA แถลง ฉบับที่ 0143/2568: วันศุกร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2568

ผู้แถลง: ดร.โสภณ พรโชคชัย
ประธาน ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย
บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส sopon@area.co.th https://www.facebook.com/dr.sopon4

 

            มูลนิธิประเมินค่า-นายหน้าแห่งประเทศไทย ได้จัดทำราคาค่าก่อสร้างอาคารมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เป็นการดำริของ ดร.โสภณ พรโชคชัย ตั้งแต่สมัยที่เป็นกรรมการสมาคมผู้ประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย โดยดำเนินการครั้งแรกในปี 2543 แต่ในช่วงปี 2556 เป็นต้นมาสมาคมฯ ไม่ได้จัดทำราคาค่าก่อสร้างเพิ่มเติม ดร.โสภณ จึงดำเนินการในนามของมูลนิธิฯ และมีการปรับปรุงราคาเป็นรายไตรมาส เพื่อให้เป็นข้อมูลประกอบการประเมินค่าทรัพย์สิน สำหรับนักประเมิน ประชาชน และนักลงทุนทั่วไปได้ใช้ต่อไป

 

            ในการดำเนินการของมูลนิธิฯ ได้ดำเนินการศึกษาข้อมูลจากทางราชการและภาคสนามมาดำเนินการจัดทำราคาค่าก่อสร้าง และต่อไปนี้เป็นรายงานการเปลี่ยนแปลงราคาค่าก่อสร้างล่าสุด (ธันวาคม 2567)

            

  ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ 5.31%    
  ซิเมนต์ 11.38%    
  ผลิตภัณฑ์คอนกรีต 16.84%    
  เหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก 28.25%    
  กระเบื้อง 7.31%    
  วัสดุฉาบผิว 3.29%    
  สุขภัณฑ์ 2.06%    
  อุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา 12.76%    
  วัสดุก่อสร้างอื่น ๆ 12.81%    
รวม 100.00%    

 

           สำหรับการเปลี่ยนแปลงล่าสุดตั้งแต่เดือน กันยายน 2567-ธันวาคม 2567 (ไตรมาสที่ 3 ปี 67-ไตรมาสที่ 4 ปี 67) สรุปว่ามีการลดลงวัสดุต่างๆ เฉลี่ย -0.68% โดยปัจจัยสำคัญก็คือ

  • วัสดุก่อสร้างที่ปรับราคาเพิ่มขึ้น ได้แก่ ไม้ เพิ่มขึ้น +1.02% ผลิตภัณฑ์คอนกรีตเพิ่มขึ้น +0.27% วัสดุฉาบผิว เพิ่มขึ้น +1.10% อุปกรณ์ไฟฟ้า เพิ่มขึ้น +0.09%
  • วัสดุที่ราคาปรับราคาลดลง ได้แก่ เหล็กลดลง -1.90% กระเบื้องลดลง -1.01% สุขภัณฑ์ลดลง -0.41% วัสดุก่อสร้างอื่นๆ ลดลง -1.59%
  • วัสดุที่มีราคาคงที่ ได้แก่ ซีเมนต์

 

โดยมีรายละเอียดเป็นดังนี้:

 

 ดัชนีรวม -0.68% 
 ไม้ 1.02% 
 ซีเมนต์ 0.00% 
 ผลิตภัณฑ์คอนกรีต 0.27% 
 เหล็ก -1.90% 
 กระเบื้อง -1.01% 
 วัสดุฉาบผิว 1.10% 
 สุขภัณฑ์ -0.41% 
 อุปกรณ์ไฟฟ้า 0.09% 
 วัสดุก่อสร้างอื่นๆ  -1.59% 

           ค่าวัสดุข้างต้นเป็นส่วนหนึ่ง แต่ราคาค่าก่อสร้างยังประกอบด้วยค่าแรง และภาษีและค่าดำเนินการต่าง ๆ ดังนั้นค่าก่อสร้างที่แท้จริง ลดลง -0.41% ในไตรมาสที่ 4/2567 โดยมีรายละเอียดดังนี้:

            

 

  1. ค่าวัสดุ 60%  -0.68%  59.59% 
  2. ค่าแรง 20%  0.00%  20.00% 
  3. กำไร ภาษีและค่าดำเนินการ 20%  0.00%  20.00% 
  100.00%    99.59% 
สรุป     -0.41% 

           โดยสรุปแล้วการปรับราคาค่าก่อสร้าง โดยใช้ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างของทางราชการของเดือนธันวาคม 2567 มีผลออกมาดังนี้:

 

สรุปการปรับราคาค่าก่อสร้าง โดยใช้ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง ของเดือน ธันวาคม 2567     

            1. พิจารณาโดยเทียบเคียงกับเดือน กันยายน 2567 (กันยายน 2567-ธันวาคม 2567)

            2. จากการเทียบดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง เดือน กันยายน 2567-ธันวาคม 2567 ปรากฏราคาวัสดุก่อสร้างเมื่อวิเคราะห์แล้ว ปรับลดลง -0.68% โดยราคาวัสดุกลุ่มที่ราคาเพิ่มขึ้น คือ ไม้ ผลิตภัณฑ์คอนกรีต วัสดุฉาบผิว อุปกรณ์ไฟฟ้า ส่วนราคาวัสดุก่อสร้างที่ปรับลดลง คือ เหล็ก กระเบื้อง สุขภัณฑ์ วัสดุก่อสร้างอื่นๆ ส่วนกลุ่ม ราคาคงที่ คือ ซีเมนต์ เมื่อพิจารณารวมราคาวัสดุทุกกลุ่ม ภาพรวมราคาค่าวัสดุปรับเพิ่มขึ้น -0.68%

            3. ค่าแรงงาน พิจารณาเท่าเดิม ไม่มีการปรับเพิ่ม

            4. กำไรภาษี ค่าดำเนินการ พิจารณาเท่าเดิม ไม่มีการปรับเพิ่ม

            5. เมื่อวิเคราะห์ทั้งค่าวัสดุ และค่าแรงงาน กำไรภาษี ค่าดำเนินการ ทำให้ภาพรวมราคาค่าก่อสร้างอาคารปรับลดลง -0.41% ทั้งนี้เมื่อทำการนำมาปรับราคาค่าก่อสร้างอาคารแล้ว โดยรวมราคาค่าก่อสร้างปรับลดลง

รายละเอียดของราคาค่าก่อสร้างอาคารเป็นดังนี้:

 

รายละเอียดของราคาค่าก่อสร้างอาคารเป็นดังนี้: https://www.thaiappraisal.org/thai/value/value.php

ดูข่าวที่เกี่ยวข้อง
อ่าน 1,020 คน
2025 Copyright © by area.co.th All Rights Reserved