ความคุ้มค่าหรือไม่ของอาคาร ส.ต.ง.
  AREA แถลง ฉบับที่ 0333/2568: วันพุธที่ 02 เมษายน 2568

ผู้แถลง: ดร.โสภณ พรโชคชัย
ประธาน ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย
บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส sopon@area.co.th https://www.facebook.com/dr.sopon4

           

            จากกรณีตึกของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (ส.ต.ง.) ที่ถล่มลงมาในวันศุกร์ที่ 28 มีนาคม 2568 นั้น เป็นเรื่องน่าเศร้าสำหรับประเทศไทยเป็นอย่างยิ่ง แต่สิ่งหนึ่งที่พึงพิจารณาก็คือ ความคุ้มค่าหรือไม่ของการสร้างอาคารขนาดใหญ่ของทางราชการ

            ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธาน ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส (www.area.co.th) ในฐานะผู้ประเมินค่าทรัพย์สินให้ความเห็นว่าที่ดินแปลงดังกล่าวที่มีขนาด 11 ไร่ และมีมูลค่าการก่อสร้าง 2,136 ล้านบาท (https://lnkd.in/gg6zQ78T) มีพื้นที่ก่อสร้าง 96,041 ตารางเมตร https://lnkd.in/gfN36HF5)

            ที่ดินแปลงนี้น่าจะมีมูลค่า (หากสามารถขายได้) เป็นเงินตารางวาละ 220,000 บาท หรือรวมเป็นเงิน 968 ล้านบาท ส่วนค่าก่อสร้างเป็นเงิน 2,136 ล้านบาท (https://lnkd.in/gSArwMx7)  รวมกับที่ดินเป็นเงิน 3,104 ล้านบาท  หากข้าราชการของ ส.ต.ง. มีอยู่ 3,991 คน (https://lnkd.in/gS42Z2Ts) หากสมมติข้าราชการส่วนกลางมีสัดส่วนเป็น 70% ของทั้งหมด (ที่เหลือประมาณการว่าอยู่ในส่วนภูมิภาค) ก็จะแสดงว่าอาคารใหม่นี้จะมีผู้ใช้ราว 2,794 คน เท่ากับว่าข้าราชการคนหนึ่งใช้อาคารนี้เป็นเงินถึง 1.1 ล้านบาท

            อาคารสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินที่ถล่ม มีขนาด 96,041 ตารางเมตร สมมติมีพื้นที่ใช้สอยได้จริง 60% (57,625 ตารางเมตร) มีจำนวนข้าราชการ 3,991 คน สมมติให้อยู่ที่ สนญ. 70% หรือ 2,794 คน (ที่เหลืออยู่ในจังหวัดภูมิภาค) แสดงว่าข้าราชการคนหนึ่งใช้พื้นที่ราว 21 ตารางเมตร (มาตรฐานทั่วไปอยู่ที่ประมาณ 10 ตารางเมตร) ข้าราชการไทยใช้พื้นที่เปลืองไปไหม

            โดยทั่วไปทั่วโลกมีแต่การพยายามลดจำนวนข้าราชการ แต่ในประเทศไทย เรามีข้าราชการมากไปหรือไม่ มีการอำนวยความสะดวกแก่ข้าราชการมากไปหรือไม่

 

 

 

อ่าน 146 คน
2025 Copyright © by area.co.th All Rights Reserved