ลาคลอด 6 เดือน เอกชนไหวไหม
  AREA แถลง ฉบับที่ 415/2566: วันพุธที่ 31 พฤษภาคม 2566

ผู้แถลง: ดร.โสภณ พรโชคชัย
ประธาน ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย
บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส sopon@area.co.th https://www.facebook.com/dr.sopon4

 

 

            ก้าวไกลให้ลาคลอด 180 วัน จะไหวหรือไม่ ฟัง ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธาน ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส (www.area.co.th) ในฐานะกรรมการสภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทย

            การลาคลอดสูงสุดมีดังนี้ (https://t.ly/qz_F):

  • บัลกาเรีย - 58.6 สัปดาห์
  • กรีซ - 43 สัปดาห์
  • อังกฤษ - 39 สัปดาห์
  • สโลวาเกีย - 34 สัปดาห์
  • โครเอเทีย - 30 สัปดาห์
  • ชิลี - 30 สัปดาห์
  • สาธารณรัฐเชค - 28 สัปดาห์
  • ไอร์แลนด์ - 26 สัปดาห์
  • ฮังการี - 24 สัปดาห์
  • นิวซีแลนด์ - 22 สัปดาห์

            สำหรับในประเทศอาเซียน เป็นดังนี้:

  • สิงคโปร์ 12 สัปดาห์
  • มาเลเซีย  8 สัปดาห์
  • ฟิลิปปินส์ - 8 สัปดาห์
  • ไทย - 14 สัปดาห์ (98 วัน)

            จะเห็นได้ว่าในขณะนี้ ระยะเวลาในการลาคลอด อาจจะถือว่าสูงสุดในอาเซียนอยู่แล้ว
            ในช่วงปี 2565 มีประชากรไทยเกิดรอดจำนวน 502,107 ราย (https://t.ly/7uyR) หากประมาณ 1/3 เป็นแม่เด็กที่ทำงานในภาคเอกชน และแม่เด็กมีรายได้เดือนละ 30,000 บาท หากต้องจ่ายเพิ่มอีก 12 สัปดาห์ หรือ 3 เดือน ก็ต้องจ่ายเพิ่มเป็นเงิน 15,063 ล้านบาท เงินจำนวนนี้ควรนำมาจากไหน หากให้นายจ้างและประกันสังคมจ่าย ก็คงจะเป็นปัญหาสำหรับนายจ้างและสำนักงานประกันสังคม ดังนั้นทางออกประการหนึ่งก็คือการให้รัฐบาลจัดงบประมาณเพิ่มเติมมาจ่ายให้กับลูกจ้างที่เป็นหญิงคลอดใหม่น่าจะเป็นทางออกที่เป็นไปได้มากที่สุด

            ถ้าเรือดำน้ำลำละ 12,000 ล้านบาท (https://t.ly/AxXa) การที่ต้องใช้เงินเพื่อการเพิ่มวันลาคลอด 15,063 ล้านบาทก็เท่ากับการซื้อเรือดำน้ำเพียง 1 ลำเศษเท่านั้น

อ่าน 32,965 คน
2024 Copyright © by area.co.th All Rights Reserved